เทคโนโลยีด้านการเกษตร » กระต่ายดำภูพาน สัตว์เศรษฐกิจใหม่ เลี้ยงง่าย โตเร็ว ลูกดก

กระต่ายดำภูพาน สัตว์เศรษฐกิจใหม่ เลี้ยงง่าย โตเร็ว ลูกดก

23 มีนาคม 2024
539   0

กระต่ายดำภูพาน สัตว์เศรษฐกิจใหม่ เลี้ยงง่าย โตเร็ว ลูกดก

กระต่ายดำภูพาน

กระต่ายดำภูพาน


กระต่ายดำภูพาน เป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ ข้อดี เลี้ยงง่าย ขายได้ราคาดี อุดมด้วยโปรตีน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเพื่อความสวยงาม หรือเลี้ยงเพื่อการค้า และ เลี้ยงเพื่อการบริโภคกระต่ายดำเนื้อภูพาน ยังมีคุณภาพเนื้อโปรตีนสูง ไขมันต่ำ มัดกล้ามเนื้อขนาดเล็ก ย่อยง่าย เหมาะกับกลุ่มคนรักสุขภาพ นักเพาะกาย และกลุ่มผู้สูงวัยมีปัญหาเรื่องระบบการย่อย

กระต่ายดำภูพานเลี้ยงง่าย และสามารถมีเวลาไปทำอย่างอื่นได้มากขึ้น เพราะในหนึ่งวันจะให้อาหารแค่ 2 เวลา เช้ากับเย็นเท่านั้น กระต่ายดำภูพานจะไม่ส่งเสียงดัง ขี้ไม่เหม็นเหมือนกับไก่ แข็งแรงไม่ค่อยเป็นโรคการกินของกระต่ายดำภูพานจะกินง่าย แค่หาหญ้าเกี่ยวหญ้ามาให้กิน หรือกินผัก ถือว่าใช้ต้นทุนต่ำมากในการเลี้ยงกระต่ายคอกหนึ่งจะคลอดลูกได้ 3-4 รอบต่อปี รอบหนึ่งก็ได้ประมาณ 7-8 ตัว โดยประมาณ

สำหรับกระต่ายดำภูพานนั้น เป็นกระต่ายที่ถูกพัฒนาจากกระต่าย 4 สายพันธุ์ ด้วยกันนั้นก็คือ 1. พันธุ์พื้นเมือง  2. พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์  3. พันธุ์เยอรมันไจแอนท์  4. พันธุ์เร็กซ์ เพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับพื้นที่เลี้ยงมากที่สุด

กระต่ายดำภูพาน

การผสมพันธุ์กระต่าย

กระต่ายมีช่วงระยะเวลาการเป็นสัดที่ยาวนานกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ประมาณ 15 วัน ควรผสมในวันที่ 5 ของการเป็นสัด โดยนำตัวเมียเข้าหาตัวผู้

ลักษณะอาการเป็นสัด

  • กระวนกระวายและเดินวนเวียนรอบกรง
  • ใช้เท้าตบพื้นกรง หรือตะกุยข้างกรง
  • ใช้คางถูกับท่อให้น้ำบ่อยๆ
  • กินน้ำและอาหารลดลง
  • ส่งเสียงร้องครวญคราง
  • สังเกตุจากอวัยวะเพศ ในวันต้นๆของรอบการเป็นสัดอวัยวะเพศเมียจะมีสีแดง

การให้อาหารกระต่าย

กระต่ายอายุประมาณ 1-2 เดือน เราสามารถให้กินอาหารหมูหรืออาหารกระต่ายก็ได้ แต่ถ้าเราให้อาหารกระต่ายต้นทุนจะสูงกว่าอาหารหมู ซึ่งอาหารหมูที่ใช้นั้นช่วงอายุ 1-2 เดือน นั้นเราจะให้อาหารหมูเล็ก และช่วงอาหาร 1-3 เดือนนี้ควรงดให้หญ้าสดทุกชนิดและควรให้กินหญ้าแห้งแทน เหตุผลที่ไม่ให้กระต่ายกินหญ้าสดเพราะจะทำลูกกระต่ายท้องอืดหรือ ท้องเสียได้ ส่วนวิธีสังเกตุง่ายๆคือ กระต่ายจัเชื่องชึมไม่ค่อยกินน้ำ

กระต่ายอายุ 3-5 เดือนขึ้นไป เราก็ให้กินหัวอาหารหมูเหมือนเดิมแต่เป็นหัวอาหารหมูใหญ่และสามารถกินหญ้าสดได้สลับกับหญ้าแห้งและผลไม้เพื่อตัดปัญหาเรื่องท้องอึดและท้องเสีย

เมื่อกระต่ายอายุได้ประมาณ 6-7 เดือน แล้วนั้น กระต่ายดำภูพาน ถือได้ว่าเป็นกระต่ายหนุ่มหรือกระต่ายสาว น้ำหนักตัวจะประมาณ 2.5-2.6 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความสมบรูณ์ ซึ่งกระต๋ายอายุช่วงนี้จะเริ่มผสมพันธุ์ แล้วจะตั้งท้องอยู่ ประมาณ 32 วัน แล้วก็จะคลอด ซึ่งช่วงนี้เราควรแยกกระต่ายที่ไกล้คลอดออกจากตัวอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยของลูกกระต่าย แม่กระต่ายตัวหนึ่งจะคลอดลูกประมาณ 5-6 ตัว

โรคกระต่าย

กระต่ายเป็นสัตว์ที่มีโรคแมลงรบกวนน้อย โรคที่มักจะพบได้แก่ อาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทั่วไปหรือเชื่อบิด การรักษาใช้ยากลุ่มซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะแก้ท้องเสียทั่วไป และโรคขี้เรื้อน ซึ่งเกิดจากตัวไรขี้เรื้อน การรักษาใช้กำมะถัน (ผง) ผสมน้ำมันพืช 1 : 2 ส่วนทา 2 – 3 ครั้งจนหาย หรือใช้ยาบี-เม็คติน ฉีดใต้ผิวหนัง 0.2-0.3 ml. ห่างกัน 2 สัปดาห์

สิ่งที่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย

  • ดูแลและสังเกตเป็นประจำ ถ้าเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อยต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์
  • ให้สัมผัสอย่างเบามือ
  • ทำความความสะอาดบริเวณกรงอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรให้อาหารที่เหมาะสม
  • ควรให้ถ่ายพยาธิหรือตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง

แหล่งขา้อมูลเพิ่มเติม : www.sarakaset.com




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ