เทคโนโลยีด้านการเกษตร » การทำนาบัว พืชทางเลือกและพืขเศรษฐกิจ

การทำนาบัว พืชทางเลือกและพืขเศรษฐกิจ

29 ตุลาคม 2022
1311   0

การทำนาบัว พืชทางเลือกและพืขเศรษฐกิจ

การทำนาบัว

บัว เป็นพืชน้ำเศรษฐกิจที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายเพราะดอกมีสีสันสวยงาม เหมาะแก่การปลูกประดับ รวมถึงประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา คนไทยนิยมนำดอกบัวมาบูชาพระ นอกจากการใช้ประโยชน์ดังกล่าว ส่วนอื่นๆของบัว เช่น เมล็ด ไหล และราก สามารถนำไปประกอบอาหารได้รวมทั้งมีสรรพคุณทางยา แหล่งผลิตบัวที่สำคัญในประเทศ ได้แก่ จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี นนทบุรีพระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ อุบลราชธานี และพัทลุง

ประเภทของบัว

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1.ประเภทก้านแข็ง ส่งใบชูพันน้ำ หรือบัวหลวงอยู่ในวงศ์ Nelumbonaceae เป็นบัวที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุดในประเทศไทย จำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ

1.1 กลุ่มที่มีลักษณะดอกเรียวแหลม กลีบดอกน้อยมี 2 ชนิด คือ บุณฑริก หรือบัวหลวงสีขาว และปทุมหรือบัวหลวงสีชมพู เกษตรกรนิยมปลูกเก็บฝักและผลิตไหลบัวเพื่อบริโภค

1.2 กลุ่มที่มีลักษณะดอกตูม ป้อม กลีบดอกซ้อนจำนวนมาก มี 2 ชนิด คือ สัตตบุษย์ หรือบัวฉัตรสีขาวและสัตตบงกช หรือบัวฉัตรสีชมพู นิยมปลูกเพื่อตัดดอก

2.ประเภทก้านอ่อน ส่งใบลอยผิวน้ำ หรืออุบลชาติอยู่ในวงศ์ Nymphaeaceae มีหลายชนิด เช่น บัวผันบัวเผื่อน บัวสาย บัวฝรั่ง บัวจงกลนี บัววิคตอเรีย เป็นต้นบัวกลุ่มนี้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะสีสันสวยงาม

การปลูกบัวเพื่อตัดดอก

การเตรียมดิน

พื้นที่ที่เหมาะสมควรเป็นที่ราบสม่ำเสมอ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ดินเป็นดินเหนียว การเตรียมพื้นที่สำหรับทำนาบัวก็คล้าย ๆกับการทำนาดำ โดยเริ่มจากการเอาน้ำออกให้แห้ง ยกคันดินโดยรอบพื้นที่ให้สูงประมาณ 1.5 เมตร พื้นที่ควรมีขนาด 5 – 50 ไร่ หรือทำเป็นแปลงใหญ่ๆขนาด 50 – 100 ไร่ ก็ได้ เก็บเศษวัสดุและกำจัดวัชพืชออกให้หมด ปรับพื้นที่ให้เรียบ ไถดะ โรยปูนขาวตากแดดทิ้งไว้ 7 – 15 วัน แล้วไถแปรอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเติมปุ๋ยคอกเก่าๆ เช่น มูลไก่ มูลโค ประมาณไร่ละ 200 กิโลกรัมจากนั้นระบายน้ำเข้าให้สูงจากพื้นประมาณ 15 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3 – 5 วัน ให้ดินอ่อนตัว แล้วจึงปักดำ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2 X 2 เมตรในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ไหลบัวประมาณ 400 ไหล

วิธีการปลูกมี 2 วิธี คือ

1. การปลูกโดยใช้ไม้คีบ

หลาไม้ไผ่ให้มีความหนากว่าตอกเล็กน้อยยาวประมาณ 1 ฟุตโค้งงอตรงกลาง คีบไหลบัวตรงส่วนของข้อแล้วปักลงให้ไหลบัวติดอยู่กับผิวดิน ซึ่งการปลูกโดยวิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ไหลบัวหลุดลอยสู่ผิวน้ำ ชาวบ้านนิยมเรียกไม้คีบนี้ว่า “ตะเกียบ”

2. การปลูกโดยวิธีใช้ดินหมก

วิธีนี้ใช้กับนาบัวที่สามารถบังคับระดับน้ำได้ โดยปล่อยน้ำให้งวด ชุดดินเป็นร่องลึกประมาณครึ่งฝ่ามือวางไหลบัวลงไปใช้ดินกลบไหลบัวโดยเว้นเตาเอาไว้ แล้วจึงเริ่มเปิดน้ำเข้า

การดูแลรักษา

1. การให้น้ำ หลังจากปลูกบัวแล้วในเดือนแรก ควรรักษาระดับน้ำให้ขังอยู่ในแปลงลึกประมาณ30 เชนติเมตร เพื่อป้องกันมิให้หญ้าขึ้นในแปลง และบัวสามารถเจริญขึ้นมาพันน้ำ เพื่อรับแสงสว่างได้เร็ว หลังจากนั้นปล่อยน้ำเข้าแปลงอีกให้ลึกประมาณ 50 เชนติเมตร และลึกไม่เกิน 100 เชนติเมตร  เพราะความลึกระดับนี้ บัวจะได้รับอุณหภูมิพอเหมาะ ทำให้บัวสามารถออกดอกไต้มาก ถ้าระดับน้ำสูงบัวที่งอกใหม่อาจตายได้ ถ้างอกพันผิวน้ำไม่ทัน

2. การใส่ปุ๋ย เมื่อบัวเริ่มตั้งตัวได้และแตกใบใหม่ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ในอัตราไร่ละ 50 โลกรัม โดยหว่านลงไปให้ทั่วแปลง แต่ถ้าปลูกอยู่ในคูหรือลำคลองที่มีน้ำถ่ายเทตลอดเวลา หรือบ่อที่ควบคุมระดับไม่ได้ ควรใส่ปุ๋ยลูกกลอนโดยการนำปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0ประมาณ 1 ช้อนชา บรรจุลงดินเหนียวปั้นดินเหนียวหุ้มให้ป็นก้อนแล้วผึ่งลมให้แห้ง เมื่อต้องการจะใส่ปุ๋ยบัวก็ฝังลูกกลอนไว้ที่โคนตันๆละ 2 ลูก

ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

ศัตรูพืชที่สำคัญต่อการปลูกบัว ได้แก่

  • เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไรแดง มักมีการระบาดมากในช่วงที่มีอากาศร้อนแห้ง
  • หนอนชอนใบบัว พบการระบาดตลอดทั้งปี
  • โรคใบจุดและโรครากเน่า สาเหตุเกิดจากเชื้อรา พบการระบาดช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น

การป้องกันกำจัด

เกษตรกรควรเลือกใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชนั้นๆ ตามคำแนะนำในฉลากควรใช้สลับกับสารเคมีชนิดอื่น เพื่อลดการต้านทานของแมลงนอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการใช้สารชีวภัณฑ์ ทดแทนการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร และผู้บริโภค

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

บัวตัดดอก นำดอกบัวมาเข้ากำ กำละ 10 ดอก โดยแยกขนาดดอกออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ใหญ่ กลาง เล็ก จากนั้นห่อด้วยใบบัว แล้วนำไปจัดเรียงในตะกร้าที่เตรียมไว้ พรมน้ำดอกบัวให้ชุ่มชื้นเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกเหี่ยวเฉาฝักบัว ( ฝักอ่อน ใช้ประดับ และฝักแก่ เพื่อบริโภคเมล็ด ) นำฝักบัวที่เก็บได้มาเข้ากำ กำละ 10 ฝัก ห่อด้วยใบบัว โดยแยกคุณภาพของฝักตามความต้องการของลูกค้า พรมน้ำฝักบัวให้ชุ่มชื้นเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝักเหี่ยวเฉาไหลบัว นำไหลบัวมาตัดแต่งส่วนที่ช้ำหรือแตกหักออกจากนั้นขัดล้างหนามบริเวณผิวไหล และล้างน้ำให้สะอาดนำมากำ กำละครึ่งกิโลกรัม บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย และควรปิดปากถุงให้สนิท เพื่อรักษาคุณภาพ

นาบัว

การตลาด

ตลาดที่สำคัญในการซื้อขายบัวตัดดอก และฝักบัวในประเทศไทย ได้แก่ ปากคลองตลาด ส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าไปรับซื้อหน้าสวน แล้วส่งต่อไปยังปากคลองตลาด ซึ่งเป็นจุดรวมของผลผลิตก่อนที่จะส่งขายไปในตลาดอื่นๆ ทั้งในกรุงเทพฯและตลาดภูมิภาค ราคารับซื้อไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฤดูกาล ปริมาณผลผลิตในตลาดและช่วงเทศกาลตลาดของไหลบัวสด ส่วนใหญ่เป็นตลาดท้องถิ่นรวมถึงมีลูกค้าประจำมารับซื้อหน้าสวน เพื่อกระจายสินค้าไปจังหวัดอื่นฯ เช่น ราชบุรี นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายในรูปแบบไหลดองบรรจุขวดเพื่อส่งออกต่างประเทศแต่ยังไม่แพร่หลายนักส่วนบัวประดับสามารถพบได้ทั่วไปในตลาดซื้อขายไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งการซื้อขายส่วนขยายพันธุ์ของบัวในช่องทางออนไลน์ ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดราคาขายเองได้

รูปภาพสวยๆจาก: facebook ฌิฌานาบัว

เอกสารอ้างอิง

  • กรมส่งเสริมการเกษตร.2556.องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสู่การเป็น Smart Officer ไม้ดอกไม้ประดับ.กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี.146 หน้า
  • ณ.นพชัย ชาญศิลป์ และรุ่งอรุณ ดอนจันทร์ทองไม่ระบุปี.คู่มือการปลูกดูแลรักษาและเทคนิคการผสมพันธุ์บัวประดับ.ซลบุรี: สถาบันราชมงคลตะวันออกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.24 หน้า
  • ดร.เสริมลาภ วสุวัต.2547. บัวประดับในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.192 หน้า
  • เสนีย์ รักษ์ชิตวัน 2543. ปลูกบัว.กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับสิซซิ่ง จำกัด.119 หน้า

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ