เทคโนโลยีด้านการเกษตร » การทำหญ้าหมัก สำหรับเลี้ยงสัตว์ง่ายประหยัดต้นทุน

การทำหญ้าหมัก สำหรับเลี้ยงสัตว์ง่ายประหยัดต้นทุน

28 ตุลาคม 2022
1565   0

การทำหญ้าหมัก สำหรับเลี้ยงสัตว์ง่ายประหยัดต้นทุน

การทำหญ้าหมัก

การทำหญ้าหมัก


หญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบน้ำ ในภาชนะปิดที่ป้องกันอากาศ จากภายนอกจนเกิดการหมักซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่าทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่สามารถถนอมไว้ใช้ได้ใน ช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด พืชอาหารสัตว์ที่นำมาใช้ในการหมักได้มาจากพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากมายในช่วงฤดูฝนซึ่งเจริญงอกงามดี และมีปริมาณมากเกินพอสำหรับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังไม่สามารถเก็บถนอมโดยการ ทำหญ้าแห้งได้

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก

  • เครื่องตัดหญ้า สับหญ้า
  • ภาชนะที่ใช้บรรจุหญ้าสำหรับหมัก เช่น หลุม ถัง ถุงพลาสติก
  • สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากน้ำตาล เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก ถ้าใช้ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ไม่จำเป็นต้องเสริม
  • ผ้าพลาสติกสำหรับปิดภาชนะ หลุม หรืออุปกรณ์สำหรับปิดปากภาชนะอย่างอื่นเพื่อป้องกันอากาศจากภายนอก

วิธีการทำหญ้าหมัก

          หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2 -3 ชม. บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในภาชนะสำหรับหมัก ซึ่งอาจเป็นถุง บ่อซีเมนต์ หลุม ย่ำอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมดในขณะที่บรรจุหญ้าลงในภาชนะ ละลายกากน้ำตาล พรมให้ทั่ว ๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถหาได้ก็ไม่ต้องใช้ จากนั้นทำการปิดภาชนะบรรจุหญ้าด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดชิดแล้วโรยทับด้วยทรายป้องกันอากาศและน้ำ หลังจากปิดภาชนะแล้ว หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้



หญ้าหมักที่มีคุณภาพดีสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยที่คุณค่าทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลงการใช้หญ้าหมักเลี้ยงโครีดนม ไม่ควรใช้เกิน 15 กิโลกรัมต่อวัน และควรให้หลังการรีดนม กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน

ลักษณะของหญ้าหมักที่ดี

  • กลิ่นหอมเปรี้ยว ไม่เน่าเหม็น
  • เนื้อพืชไม่เป็นเมือก ไม่เละ
  • สีเขียวอมเหลือง
  • รสเปรี้ยวพอดี
  • ไม่มีเชื้อรา หรือส่วนบูดเน่า

ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก

  • การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดีและหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด
  • การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก
  • เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง
  • หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไปและหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน
  • ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้

ที่มา : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ที่มา : Youtube บ่าวรุทธ สีเกด


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ