เทคโนโลยีด้านการเกษตร » การเพาะเลี้ยงไส้เดือนในวงท่อซีเมนต์ ประหยัดพื้นที่ให้ผลผลิตเร็ว

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนในวงท่อซีเมนต์ ประหยัดพื้นที่ให้ผลผลิตเร็ว

19 สิงหาคม 2022
1467   0

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนในวงท่อซีเมนต์ ประหยัดพื้นที่ให้ผลผลิตเร็ว

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนในวงท่อซีเมนต์

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนในวงท่อซีเมนต์


หมอดินชาตรี หรือ เรียกคุณอ้อม หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบลจรเข้ อำเภออู่ทอง หนุ่มไฟแรงที่ยอมลาออกจากมนุษย์เงินเดือน เพื่อมาเป็นนายตัวเอง ด้วยการมาจับอาชีพเกษตรกรอย่างเต็มตัว พร้อมกับภรรยาคู่ใจ มาช่วยกันพัฒนาพื้นที่ของพ่อแม่ จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ” สวน..กล้วยอู่ทอง “ ซึ่งหากจะย้อนประวัติที่มาที่ไปของสวนนี้ คงจะยาวกันเป็นแน่(ค่อยสอบถามคุณอ้อมอีกทีนะครับ )

ภายในสวนกล้วยอู่ทองบนเนื้อที่ 50 กว่าไร่ เต็มไปด้วยพืชผักไม้ผลนานาชนิด ปลูกผสมผสานกันอย่างลงตัว อาทิ กล้วย มะม่วง มะขาม กล้าไม้ต่างๆ แปลงผักและอื่นๆ รวมถึงโรงเรือนอบอาหารเพื่อแปรรูป โรงเรือนปลูกมะเขือเทศราชินี เป็นต้น




และที่อยากจะขอนำเสนอคือโรงเพาะเลี้ยงไส้เดือน โดยเลี้ยงในรองปูนกว่า 100 รอง(ดังภาพ) ซึ่งการเลี้ยงไส้เดือนนั้น ได้สอบถามคุณอ้อมแล้ว เลี้ยงง่าย ให้ผลผลิตมูลไส้เดือนสูง เลี้ยงแค่ 1-2 เดือน ก็สามารถขายมูลไส้เดือนได้แล้วครับ ในส่วนของขั้นตอนการเลี้ยง พันธุ์ไส้เดือนที่เลี้ยง รวมถึงรายละเอียดต่างๆ สามารถสอบถามทางหมอดินได้ครับ

โดยรวมสวนกล้วยอู่ทองนี้ เป็นจุดและศูนย์เรียนรู้ สาธิตทางด้านการพัฒนาที่ดิน การผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพระราชทาน การทำน้ำหมักชีวภาพ สมุนไพรไล่แมลง จากนวัตกรรมเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน พด.1-12 เป็นต้น และสามารถรับผู้มาศึกษาดูงานได้สบาย (จากภาพท่านนายอำเภออู่ทอง นายธีรชัย ทศรฐ  ผอ.วันชัย  วงษา (ผอ.พัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี) นางอรทัย  อาจหาญ (เกษตรอำเภออู่ทองและผู้ทรงเกียรติได้มาเยี่ยมเยียนสวนคุณชาตรีด้วย ในการจัดอบรมโครงการขยายผลศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ปี 2559 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559)

สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการมาศึกษาดูงานในเรื่องต่างๆ อาทิ การเลี้ยงไส้เดือน การลดต้นทุนการผลิต การผลิตปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน การผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.1-12 และอื่นๆอีกมากมาย สามารถโทรสอบถามข้อมูลได้ ที่เบอร์หมอดินชาตรี รักธรรม(คุณอ้อม) 087-6782392-3,086-3115071 ได้ครับ หรือจะโทรสอบถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ของสถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรีก่อนก็ได้ครับ ที่เบอร์ 035-454081 สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนในวงท่อซีเมนต์

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนในวงท่อซีเมนต์




การเพาะเลี้ยงไส้เดือนในวงท่อซีเมนต์

ประโยชน์ของไส้เดือนดิน

  • ด้านสิ่งแวดล้อม สามารถเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ย ช่วยลดปัญหาเรื่องขยะในครัวเรือน
  • ไส้เดือนช่วยพลิกกลับดินโดยการกินดินทำให้แร่ธาตุในดินผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันได้ ช่วยทำลายชั้นดิน
  • ด้านการเกษตร ผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนและน้ำสกัดชีวภาพใช้ในการเกษตรอินทรีย์ ช่วยให้การย่อยสลายสารอินทรีย์ที่รวมถึงซากพืชสัตว์และอินทรียวัตถุต่างๆ ผลิตปุ๋ยหมัก (vermicomposting) และน้ำสกัดชีวภาพจากไส้เดือน (worm tea) นำน้ำหมักมูลไส้เดือนดินที่รวบรวมได้มาเติมอากาศเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นนำน้ำหมักมูลไส้เดือน 1 ส่วน ผสมน้ำ 20 ส่วน ใช้รด พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกเพื่อช่วยในการเจริญเติบโต
  • ส่งเสริมการละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปอนินทรีย์สารที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้ไปอยู่ในรูปที่พืชนำมาใช้ประโยชน์ได้
  • ช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดินเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม โดยการเปลี่ยนของอินทรีย์เป็นปุ๋ยหมัก
  • ใช้เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ผลิตไส้เดือนเป็นอาหารโปรตีน (vermiculture) เนื่องจากไส้เดือนมีโปรตีนสูงอาจใช้เลี้ยงปลา เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเหยื่อตกปลา ด้านอาหารสัตว์ใช้เป็นอาหารโปรตีนทั้งในรูปไส้เดือนเป็นและผงหรือไส้เดือนสดสำหรับเลี้ยงเป็ด หรือกบก็ได้
  • ด้านการแพทย์ รักษาโรคข้ออักเสบ แผลอักเสบ โรคผิวหนัง และสลายลิ่มเลือดในหลอดเลือด

สิ่งที่ควรคำนึงในการเล้ยงไส้เดือน

  • กองเพาะเลี้ยงหรือกระบะต้องทำในที่ร่มเพื่อป้องกันแสงแดดและฝน
  • จะต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ควรใช้ปุ๋ยคอกใหม่ควรตากให้แห้งและควรบดก่อนนำมาใช้
  • การใช้มูลสัตว์ชนิดอื่นๆ ควรมีการผสมกับมูลวัวก่อน
  • ไส้เดือน 1 กิโลกรัม มีจำนวน ประมาณ 1,000 ตัว จะกินอาหารได้ 5 กิโลกรัมต่อวัน ไส้เดือน 10 กิโลกรัม จะกินอาหารได้ 1 ตันต่อเดือน
  • ไส้เดือน 1,000 ตัว สามารถเลี้ยงในพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร
  • ระหว่างฝนตกให้นำมูลวัววางตามยาวของกองเพาะเลี้ยงเพื่อป้องกันไส้เดือนหลบหนี
  • ศัตรูของไส้เดือนดินเช่น ไรแดง มด หนู นก กบ กิ้งกือ ตะขาบ หอย งู ตัวอ่อน แมลงปีกแข็ง จิ้งจก ตุ๊กแก แมงกระชอน จิ้งหรีด ดังนั้น ในการเลี้ยงจึงจำเป็นต้องมีตาข่าย ป้องกันแมลงและสัตว์ต่างๆ เข้าไปกินไส้เดือน

แหล่งที่มา : สวน..กล้วยอู่ทอง, สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ