บทความเกษตร » การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เก็บไว้กินในครัวเรือนใช้พื้นที่น้อย

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เก็บไว้กินในครัวเรือนใช้พื้นที่น้อย

6 สิงหาคม 2022
1245   0

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เก็บไว้กินในครัวเรือนใช้พื้นที่น้อย

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า





“เห็ดฟาง” เป็นเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ง่ายแต่ด้วยจะรอธรรมชาติอย่างเดียวคงไม่พอกับความต้องการที่จะบริโภคของมนุษย์ มนุษย์ก็เลยคิดค้นการเพาะเห็ดฟางขึ้นมาหลายวิธี แต่วิธีที่พอจะเป็นแนวทางให้ปฏิบัติหรือทำได้ ยกตัวอย่างเช่น สมัยก่อนเราเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ก็คือเอาวัสดุเช่นฟางมากองไว้แล้วเอาเชื้อโรยเห็ดก็ขึ้น แล้วก็เก็บยาวเป็นเดือน

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้านี้เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ประยุกต์ขึ้นมา แต่เดิมนั้นการเพาะเห็ดฟางแบบทั่วไปใช้พื้นที่ในแนวราบ มาตรฐานของการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ราบ 1 ตารางเมตร ถ้าผลผลิตได้ถึง 3 กิโลถือว่ายอดเยี่ยม การเพาะเห็ดฟางแบบในตะกร้าจะใช้พื้นที่ในแนวสูงกับแนวราบของพื้นที่ตะกร้าที่เป็นทรงกระบอก โดยสามารถใช้ตะกร้าซักผ้า ตะกร้าใส่ผลไม้ ตะกร้าใส่ปลาของชาวประมง คือไม่สูงมากประมาณ 1 ฟุต รอบ ๆ ตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบนเห็ดก็สามารถออกได้ และสามารถนำตะกร้าซ้อนกันได้หลายชั้น เป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่การออกดอกของดอกเห็ด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีทำเหมาะกับทุกรูปแบบ

การเตรียมวัสดุและวิธีการเพาะ

  • ตะกร้าพลาสติก ขนาด 11 นิ้ว มีตาห่าง ประมาณ 1 นิ้ว
  • วัสดุเพาะ ได้แก่ ฟางข้าว เปลือกถั่วเหลือง ชานอ้อย กาก เปลือกมันสำปะหลัง
  • อาหารเสริม เช่น ผักตบชวา ไส้นุ่น ต้นกล้วย นอกจากนี้ อาจใช้แป้งสาลีก็ได้
  • เชื้อเห็ดฟางที่ดี ถ้าเป็นแบบหัวเชื้อถุง 1 ใช้เพาะได้ 2 ตะกร้า
  •  เกรียงไม้ ( สำหรับอัดวัสดุเพาะเห็ด )
  • สุ่มไก หรือกระโจมไม้ไผ

วิธีการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟาง

  • แช่ฟางข้าวในน้้าประมาณ 12 ชั่วโมง โดยฟางข้าวควรเลือกจากแปลงที่ไม่ใช้สารเคมี น้ำที่ใช้เป็นน้้าสะอาด และหลีกเลี่ยงการใช้น้้าประปาที่มีปริมาณคลอรีนสูง

  • พอรุ่งเช้าก็มานั่งหั่นผักตบเป็นท่อนๆ ขั้นตอนนี้ ใครจะใช้ต้นกล้วย หยวกกล้วย ก้านกล้วยแทนก็ได้
  • เชื้อเห็ดฟางที่ดีควรมีกลุ่มเส้นใยสีขาวหนาแน่น เจริญต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอตลอดถุง มีจุดขาวเล็กๆที่เส้นใยเริ่มรวมตัวกัน และไม่ปรากฏบริเวณสีเขียว ด้า ซึ่งอาจเกิดจากการปนเปื้อนจุลินทรีย์อื่น และไม่มีศัตรูเห็ด

วิธีและขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟาง

  1. นำฟางที่เตรียมไว้แล้วใส่ลงในตะกร้า สูงจากก้นตะกร้าประมาณ 2-3 นิ้ว ใช้เกรียงไม้กดฟางให้พอแน่น และใช้ชิดของตะกร้ามากที่สุด หรืออาจใช้วัสดุอื่นแทนฟางก็ได้
  2. โรยอาหารเสริมที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ลิตร ต่อ 1 ชั้น โรยอาหารเสริมลงบนวัสดุเพาะให้ชิดขอบตะกร้า โดยกว้าง 2- 3 นิ้ว โรยหนาเพียงชั้นเดียว โรยข้างตะกร้าโดยรอบ อย่าโรยจนหนาเกินไป เพราะจะเกิดการเน่าเสียได้
  3. นำเชื้อเห็ดฟาง มาแยกเป็นชิ้นขนาด 1- 2 เซนติเมตร นำไปคลุกกับแป้งสาลี พอติดผิวนอกของเชื้อเห็ด ซึ่งแป้งสาลี เป็นอาหารเบื้องต้นที่ช่วยให้เชื้อเห็ดเจริญได้ดีแบ่งเชื้อเห็ดออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน น าส่วนที่ 1 โรยบนอาหารเสริมโดยรอบ โรยเป็นจุดๆห่างกัน 5 – 10 เซนติเมตร เป็นอันว่าการนี้ได้ วัสดุเพาะชั้นที่ 1
  4. ทำวัสดุเพาะชั้นที่ 2 โดยกระทำเช่นเดียวกับ ข้อ 1-3
  5. ทำวัสดุเพาะชั้นที่ 3 ปฏิบัติตามข้อที่ 1 ส่วน ข้อที่ 2 การโรยอาหารเสริมนั้น ต้องโรยให้เต็มผิวหน้าด้านบน แล้ว ปฏิบัติตามข้อที่ 3 หลังจากนั้นให้น าฟางหรือวัสดุเพาะอื่นๆมาโรยทับด้านบนจนทั่วโรคจนหนาประมาณ 1 นิ้ว
  6. นำน้ำสะอาดประมาณ 2 ลิตร มารดลงด้านบนวัสดุให้ชุ่ม นำตะกร้า นี้ไปวางไว้ในที่ที่เตรียมไว้ โดยอาจวางซ้อนกันได้ ไม่เกิน 4 ชั้น โดยทั่วไปวางตะกร้าเพาะเรียงซ้อนกันไม่เกิน 4 ใบ ชั้นล่างจะให้ผลผลิตสูงกว่าด้านบน ชั้นยิ่งสูงผลผลิตยิ่งน้อยลง ถ้าวางซ้อนเกิน 4 ชั้น ชั้นต่อไปจะให้ผลผลิตไม่คุ้มทุน
  7. ถ้าวางเรียงตะกร้าเพาะเห็ดแบบ 4 ใบชิดกันแล้ววางตะกร้า เพาะอีกใบอยู่บนกึ่งกลางต้องใช้กระโจมหรือโครงไม้ไผ่ทรงสุ่มไก่ครอบคลุม ตะกร้าเพาะให้โครงไม้ไผ่ด้านในอยู่ห่างจากตะกร้าเพาะประมาณ 1 คืบ
  8. นำพลาสติกมาคลุมโครงไม้ไผ่จากด้านบน คลุมให้มิด ส่วนด้านล่างควรหาอิฐหรือใช้ไม้ทับขอบพลาสติกเพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออกการ คลุมด้วยพลาสติกใสดอกเห็ดที่ออกมาจะมีสีดำ ถ้าใช้สีเข้มดอกเห็ดจะมีสีขาว ถ้าเป็นชั้นโครงเหล็กที่วางตะกร้าเพาะก็นำพลาสติกมาคลุมได้เลย




การเปิดดอกและการดูแล

วิธีการบ่มเส้นใย

จะต้องควบคุมอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 37- 40 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปให้เปิดช่องเพื่อระบายอากาศด้านบน หรือรดน้ำที่พื้นรอบ ๆ ใช้เวลาบ่มเส้นใย 4-7 วัน

การกระตุ้นการเกิดดอก

หลังบ่มเส้นใย ลดอุณหภูมิภายในสุ่มไก่หรือโครงครอบ ให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส โดยเปิดระบายอากาศ เพื่อให้เส้นใยสร้างตุ่มดอกเห็ด

การพัฒนาเป็นดอกสมบูรณ์

หลังเกิดตุ่มดอก รักษาอุณหภูมิภายในสุ่มไก่หรือโครงครอบ ให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส และอาจให้น้ำเพื่อรักษาความชื้นบริเวณโดยรอบ หลังจากนั้นประมาณ 2-4 วัน สามารถเก็บผลผลิตได้

เก็บผลผลิตด้วยมือ โดยจับดอกเห็ดฟางที่ได้ขนาดแล้ว เป็นดอกตูม เยื่อหุ้มหมวกดอกไม่แตก หมุนเล็กน้อยก่อนยกขึ้น ดอกเห็ดก็จะหลุดออกมาโดยง่าย ดอกเห็ดที่เกิดเป็นกลุ่มให้เก็บพร้อมกันให้หมด

ต้นทุนการผลิต

  • การผลิต 1 ชุด (4 ตะกร้า)  495 บาท
  • สุ่มไก่  1 อัน
  • ตะกร้า 4 ใบ
  • ผ้าพลาสติก(หนำกว้าง 2 เมตร) 3 เมตร
  • ตาข่ายพรางแสง(หนำกว้าง 2 เมตร) 3 เมตร

การผลิต 1 ชุด (4 ตะกร้า) 52 บาท

  • ค่าฟางข้าว
  • ค่าขี้ฝ้าย
  • ค่ามูลสัตว์
  • เชื้อเพาะ

ผลผลิต/รายได้

  • ผลผลิต 2 กก./4 ตะกร้า(0.5 กก./ตะกร้า)
  • รายได้ 180 บาท
  • ราคา 90 บาท/กก.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร ดังนี้ การเพาะเห็ด  กลุ่มวิจัยและพัฒนาเห็ด, สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ โทรศัพท์ 0-2579-8558, 0-2579-0147 ,รูปภาพจาก | ชายน้อย เห็ดฟาง , sarakaset.com




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ