เทคโนโลยีด้านการเกษตร » วิธีทำจุลินทรีย์จาวปลวก ประโยชน์หลากหลาย ช่วยย่อยสลายได้เร็ว

วิธีทำจุลินทรีย์จาวปลวก ประโยชน์หลากหลาย ช่วยย่อยสลายได้เร็ว

17 สิงหาคม 2022
780   0

จุลินทรีย์จาวปลวก ประโยชน์หลากหลาย ช่วยย่อยสลายได้เร็ว

จุลินทรีย์จาวปลวก

จุลินทรีย์จาวปลวก





จุลินทรีย์จาวปลวก คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่ง ที่ถูกค้นพบโดย คุณจักรภฤต บรรเจิดกิจ ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดพิจิตร โดยนำจาวปลวกมาผสมคลุกคคล้ากับปลาข้าวดิบ (ปลาข้าวหนียวหรือปลายข้าวเจ้า) และน้ำสะอาด (ไม่มีคลอรีน) หมักทิ้งไว้คพียง 7 วัน ก็สามารถนำมาใช้งานได้ จุดเด่นของจุลินทรีย์จาวปลวก คือ ช่วยประหยัดต้นทุน เพราะไม่จำเป็นต้องใช้กากน้ำตาลหรือรำละเอียดเหมือนการหมักจุลินทรีย์กลุ่มอื่น ๆ และสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งในด้านการคกษตร ปศุสัตว์ ประมง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงใช้เพาะเห็ดโคนป่าหรือเห็ดป่าร่วมกับธรรมชาติได้ปีละหลายครั้ง นอกจากนี้ยังใช้สกัดเอ็มไซม์จากผลไม้ สำหรับดื่มคพื่อบำรุงสุขภาพและป้องกันโรคได้อีกด้วย

จาวปลวกคืออะไร

จาวปลวก คือ รังเลี้ยงตัวอ่อนหรือเอมบ์ (comb) โครงสร้างเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ รูปร่างหยักไปมาคล้ายมันสมองหรือคล้ายปะการัง บางชนิดจะคล้ายรังผึ้ง ลวดลายที่แตกต่างกันนี้ บางครั้งสามารถบอกสกุลของปลวกได้ ขนาดของรังเลี้ยงตัวอ่อนไม่แน่นอน ขนาดเล็กประมาณ 8×6 เซนติเมตร ขนาดใหญ่มักมีรูปร่างยาวตามโพรงหรือห้องที่อยู่ใต้ดิน หรือภายในจอมปลวก

จุลินทรีย์จาวปลวก

จาวปลวก เป็นสิ่งที่ปลวกสร้างขึ้นมาจากมูลของมันเอง ซึ่งมูลของปลวกมี 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นมูลที่ถูกย่อยภายในลำไส้เพียงเล็กน้อยและอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง และชนิดที่สองเป็นมูลที่ถูกย่อยภายในลำใส้อย่างดีแล้วและอยู่ในสภาพเป็นของเหลว มูลชนิดแรกประกอบด้วยเศษพืช (เศษไม้) ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ปลวกกัดกินเค้้าไปและผ่านกระเพาะของปลวกออกมาอย่างรวดเร็ว โดยในขณะที่ผ่านกระเพะปลวกนั้นเศษพืชถูกคลุกเคล้าด้วยน้ำย่อย ดังนั้นมูลที่ถ่ายออกมาจึงมีรูปร่างเป็นท่อนกลมสั้นๆ ซึ่งต่อมาจะถูกกราม (mandibles)ของลวกกัดจนเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วนำไปสร้างเป็นรังเลี้ยงตัวอ่อน ในขณะที่ปลวกสร้างรังเลี้ยงตัวอ่อนนี้เองจะมีราเกิดขึ้น โดยเส้นใยของราจะเกาะกันเป็นก้อนกลมสีขาวขนาดเล็ก เรียกว่า Fungus nodule หรือ Fungal ball เส้นใยนี้จะเป็นอาหารของปลวก และเมื่อปลวกกินเส้นใยของราคาไป จะถ่ายมูลชนิดที่สองออกมา ซึ่งปลวกจะนำมูลที่เป็นของเหลวนี้ไปใช้เคลือบผนังด้านในของห้องเห็ด แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งปลวกจะกินน้อยลง และทิ้งรังตัวอ่อนไป ราจะเจริญเส้นใยเพิ่มมากขึ้น และเกิดดอกอ่อน (fruiting primordia) เป็นแท่งยาวโผล่ขึ้นมาจากรังเลี้ยงตัวอ่อน เรียกว่า pseudorhiza และแทงผ่านชั้นดินขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ที่เรารู้จักกันดี นั่นคือ เห็ดโคน

การทำน้ำหมักจุลินทรีย์จาวปลวก

ก่อนที่จะขุดนำจาวปลวกมาใช้ทาจุลินทรีย์จาวปลวก ต้องเตรียมขันห้า 1 พาน จุดธูปหอม 21 ดอก และกล่าวคำขอจากพระแม่ธรณีและราชา ราชินีปลวกว่า “สาธุพระแม่ธรณี ราชา ราชินีปลวกทั้งหลาย ข้าพเจ้าขออนุญาตขุดจอมปลวก เพื่อเอาจาวปลวกมาทาจุลินทรีย์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการกสิกรรม แล้วจะทำบุญอุทิศไปให้ สาธุ” แล้วใช้ด้ามจอบกระทุ้งจอมปลวก ถ้าเสียงดังปุกๆ แสดงว่ารังมีโพรง มีจาวปลวกอยู่ ให้ขุดได้เลย แล้วนำจาวปลวกที่มีคชื้อเห็ดโคน (สังเกตได้จากมีจุดขาวๆ อยู่บนจาวปลวก และมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด) ออกมาใช้งาน




วัตถุดิบและอุปกรณ์

  • จาวปลวกที่ขุดมาใหม่ๆ ประมาณ ½ กก. หรือ หัวเชื้อแบบเข้มค้น จำนวน 1 ลิตร
  • ปลายข้าวหรือข้าวหัก ใช้ได้ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า 5 กก.
  • น้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีน ประมาณค่อนถัง (170ลิตร)
  • ถังน้ำมีฝาปิด 1 ใบ ขนาด 200 ลิตร

วิธีทำ

นำจาวปลวก มาคลุกกับปลายข้าวหรือข้าวท่อน แล้วเทลงในถังพลาสติกที่มีน้ำสะอาดไม่มีคลอรีน ใส่ไว้เกือบเต็มถัง เหลือที่ว่าง จากปากถังประมาณ 1 ฝ่ามือ ปิดฝา ตั้งไว้ในบริเวณที่โดนแดด ตอนคช้า ส่วนตอนบ่ายให้อยู่ในร่ม แล้วหมักทิ้งไว้ 7 วัน โดยคน ไปทางเดียวกันทุกวัน จะได้จุลินทรีย์จาวปลวกแบบน้ำที่มีลักษณะเป็นน้ำสีขาว ใส มีกลิ่นเปรี้ยว พร้อมใช้งาน

หมายเหตุ

    • ปริมาณข้าว น้ำ และจาวปลวก ไม่มีสูตรตายตัว สามารถนำไปประยุกต์กับขนาดของถังพลาสติกที่มีอยู่ ถ้าถังมีปริมาตรความจุมาก ก็ใช้ปลายข้าว และน้ำมากขึ้นตามลำดับ
    • ไม่ควรเทน้ำใส่เต็มถัง เพราะเมื่อผ่านไป 3 วัน จะเกิดฟอง และแรงดันอากาศ ฝาอาจจะระเบิดออกได้
    • ถ้าต้องการย้ายเชื้อจุลินทรีย์จาวปลวกให้ได้ปริมาณมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องขุดจอมปลวกเพื่อเอาจาวปลวกอีก เพียงแต่เตรียมปลายข้าว และในน้ำในปริมาณเท่าเดิม และนำน้ำจุลินทรีย์จาวปลวกที่ทำครั้งแรกมาคลุกกับปลายข้าวให้เข้ากัน แล้วจึงนำไปเทใส่ถังพลาสติกที่มีฝาปิด และใส่น้ำเกือบเต็มถัง ปิดฝาทิ้งไว้ 7 วัน ก็จะได้น้ำจุลินทรีย์จาวปลวกไปใช้ประโยชน์ได้

การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์จาวปลวก

1.ใช้เพาะเห็ดโคนป่าแบบกึ่งพึ่งพาธรรมชาติ

โดยใช้น้ำจุลินทรีย์จาวปลวกแบบเข้มข้น จำนวนไม่จำกัด นำไปรดราดบริเวณโคนจอมปลวกให้ชุ่ม หรือใช้วิธีถากดินรอบจอมปลวก (ไม่ให้ลึกถึงรัง) ให้กระจายรอบๆ บริเวณโคนจอมปลวกให้สม่ำเสมอ จึงรดน้ำจุลินทรีย์จาวปลวกให้ชุ่มทั่วบริเวณ แล้วนำใบไม้ เศษหญ้า หรือฟางข้าวคุลมให้มิด รดน้ำให้ชุ่ม รอจนกว่าสภาพอากาศในช่วงฤดูฝน จะมีอากาศร้อนอบอ้าวเหมือนฝนจะตก (อากาศหาเห็ดโคน) มีข้อสังเกตคือ เห็ดโคนมักจะเกิดในวันโกน หรือก่อนวันขึ้น 15 ค่ำ โดยวิธีการนี้จะทำให้มีเห็ดโคนเกิดขึ้นมากกว่าปีละครั้ง

2.ใช้ย่อยสลายฟางข้าวในแปลงนา

โดยใช้จุลินทรีย์จาวปลวกแบบเข้มข้น จำนวน 10 ลิตรต่อไร่ ปล่อยไปตามน้ำหรือฉีดพ่นให้กระจายทั่วแปลงนาระดับน้ำในแปลงนาต้องท่วมฟางข้าวประมาณ 1 ฝ่ามือ หมักทิ้งไว้ 5-7 วัน จึงสามารถปั่นทำเทือกนาได้ ฟางข้าวจะเปื่อยขาด ไม่ติดตัวปั่น ปั่นง่าย ทำให้ประหยัดน้ำมัน หากจะให้ฟางเปื่อยเร็วกว่านี้ ให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยน้ำหมักจากปลา เทใส่ไปพร้อมกับน้ำที่สูบเข้าแปลงนา จะทาให้จุลินทรีย์จาวปลวกย่อยสลายฟางข้าวอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำ ดินมีรูอากาศ ทาให้ไส้เดือนดินและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ช่วยให้้ข้าวเจริญคติบโตแข็งแรง ใบเขียวเข้ม

กรณีปั่นฟางสด หลังคก็บเกี่ยวข้าวทันที ให้ใช้จุลินทรีย์จาวปลวกในอัตราคท่ากัน ปล่อยไปตามน้ำ หมักทิ้งไว้ 7 วัน จึงทำเทือก เริ่มหว่านน้ำตม หรือโยนกล้า หรือปักดำ จะทำให้้ข้าวไม่เป็นโรคคมาตอซัง (ต้นคหลือง แคระแกร็น)

3.ใช้หมักปุ๋ย ฮอร์โมนพืช หรือน้ำหมักสมุนไพร

3.1 ใช้หมักแบบแห้ง นำใบไม้แห้ง หญ้า หรือฟางข้าว นำไปห่มดินไว้บริเวณใต้ต้นไม้ หน่าประมาณ 1 ฝ่ามือ นำมูลสัตว์เททับด้านบน้องวัสดุคุลมดิน แล้วใช้น้ำจุลินทรีย์จาวปลวกแบบเข้มข้นราดบริเวณที่ห่มดินไว้ให้ทั่ว และ รดน้ำวัสดุคลุมดินให้คปียกชื้นทุก ๆ 7 วัน

3.2 ทำฮอร์โมนไข่ นำไป (ได้ทุกชนิด) 20 ฟอง มาตีให้แตกคหมือนไขเจียว จุลินทรีย์จาวปลวก 20 ลิตร เทลงในถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร ใช้ไม้คนให้เข้ากันนำไปใช้ สาหรับคร่งดอกให้พืชมีดอกที่สมบูรณ์และมีปริมาณมาก มีความแข็งแรง ผสมเกสรติดง่าย วิธีใช้ฮอร์โมนไข่จุลินทรีย์จาวปลวก อัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในระยะที่พืชใกล้ออกดอก

4.ใช้ป้องกันเชื้อราในพืช หรือรักษาสภาพข้องเมล็ดพืชให้สดอยู่คสมอ วิธีใช้ น้ำจุลินทรีย์จาวปลวก 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน ฉีดพ่นพืชผัก 3 วัน/ครั้ง ไม้ดอกไม้ประดับ สัปดาห์ละครั้ง ไม้ผลยืนต้น ใช้เดือนละครั้ง

5.ใช้กับปศุสัตว์ ผสมในอาหารสัตว์ อัตราส่วน จุลินทรีย์จาวปลวก100 ซีซีต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม หรือใช้ผสมน้ำให้สัตว์กิน อัตราส่วน จุลินทรีย์จาวปลวก 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หากใช้ฉีดพ่นลงพื้นกาจัดกลิ่นล้างคอกใช้อัตราส่วน1ต่อ10ลิตร

6.ใช้กับการประมง ผสมในอาหาร ใช้จุลินทรีย์จาวปลวก 100 ซีซี ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ใช้เตรียมบ่อ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 10 และใช้บำบัดน้ำ ใช้จุลินทรีย์จาวปลวก 1 ลิตร ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ใส่สม่ำเสมอ

7.ใช้กับสิ่งแวดล้อมและในครัวเรือน อัตราส่วน 1 ต่อ 10 ใช้กำจัดกลิ่น บำบัดน้ำเสีย พ่นในกองขยะเพื่อกำจัด พ่นปรับสภาพอากาศ กาจัดกลิ่นฆ่าเชื้อ ใช้ใส่ในห้องส้วม ใช้ล้างถ้วยชาม ซักผ้า และแช่ผลไม้ก่อนรับประทานหรือปรุงอาหาร

8.ใช้ย่อยเอนไซม์ 3 ประสาน จากลูกยอ กล้วยสุก และสับปะรด นำลูกยอห่ามๆ กล้วยน้ำว้าสุก และสับปะรด อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงลูกเดียว จุ่มลงในน้ำจุลินทรีย์จาวปลวก แล้วยกขึ้น นำไปใส่ในโหลแก้ง ปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 3 วัน จะได้น้ำคอนไซม์ที่มีกลิ่นหอมเปรี้ยว ใช้รับประทานคช้าและเย็น เพื่อรักษาสภาพร่างกายให้สมดุล ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้มาก

9.ใช้ในการเพาะถั่วงอก นำเมล็ดถั่วเขียวแช่น้ำจุลินทรีย์จาวปลวก ในอัตราส่วน 1 ต่อ 10 แช่ทิ้งไว้ 1 คืน และจึงนำไปเพาะถั่วงอกตามขั้ตอน จะช่วยให้ถั่วงอกมีรสชาติหวาน กรอบ อวบอ้วน โดยไม่ต้องใช้สารฟอกขาวแต่อย่างใด หากมีการใช้จุลินทรีย์จาวปลวกกันอย่างแพร่หลายแล้ว จะช่วยให้การทำเกษตรไร้สาเคมีขยายวงกว้างออกไปมากยขึ้น การเผาตอซังข้าวจะลดลง ดินจะมีชีวิตกลับคืนมา สภาพแวดล้อมจะสมบูรณ์ขึ้น และตัวเกษตรกรเองจะมีสุภาพที่ดี และสามารถปลดหนี้ได้

ที่มา :

จักรภฤต บรรคจิดกิจ. จิตวิญญาณในธุลี มหัศจรรย์จุลินทรีย์จาวปลวก. เอกสารประกอบการบรรยายครื่อง จุลินทรีย์จาวปลวก วันที่ 7 มีนาคม 2558 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.
สุมาลี พิชญางกูร. เห็ดโคนและลูกผสมฟิวแสนท์. . บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. กรุงเทพฯ. 2547.
อุทัยวรรณ แสงวณิช, ผศ. ดร. คำอธิบายเรื่องเห็ดโคน. เข้าถึงจาก www.thaimushroomsoc.com/…/Oudemansiella%20ssp%20Uthaiwan.pdf
สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เห็ดโคนกับปลวกและการเพาะเลี้ยงเห็ดโคน. เข้าถึงจาก forprod.forest.go.th/forprod/…/เห็ดโคนกับปลวก/เห็ดโคนกับปลวก.pdf , www.sarakaset.com




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ