บทความเกษตร » การผลิตน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.2

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.2

8 ธันวาคม 2022
1601   0

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.2

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ


น้ำสกัดชีวภาพ หรือ น้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เป็นภูมิปัญญาของเกษตรกรนำมาใช้ใน การเพิ่มผลผลิตและป้องกันกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากประเทศไทยมีวัตถุดิบหลากหลายจำนวนมากจากการเกษตรทำให้มีวัสดุเหลือทิ้ง เช่น เศษปลาเศษผัก ผลไม้ และอื่น ๆ เกษตรกรได้นำวัสดุเหล่านี้มาผลิตเป็นปุ้ยอินทรีย์น้ำได้ผลเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง แต่ยังไม่มีวิธีการผลิตที่ถูกต้องและมีคุณภาพ




กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ดำเนินการวิจัยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการผลิตแอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์ เอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนและเศษพืช ซึ่งเจริญได้ดี ในอุณหภูมิปกติ เพื่อนำมาผลิตเป็นสารเร่ง พด.2 สำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่มีคุณภาพดี เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช การแตกตา การออกดอก การติดผลดีและเพิ่มผลผลิต และได้นำสารเร่ง พด.2 ออกส่งเสริมและเผยแพร่สู่เกษตรกร เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 โดยในสารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) จะมีปริมาณจุลินทรีย์ดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 10’* เซลล์ สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำได้ 50 ลิตรซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้ผลิตและจัดหาสารเร่ง พด.2 เผยแพร่ให้กับเกษตรกรมาโดยตลอด

ความหมายของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลวซึ่งได้จากการนำวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ซึ่งมีลักษณะสดหรือมีความชื้นสูงในลักษณะเป็นของเหลวและอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายทำให้ได้กรดอินทรีย์ และฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตพืซหลายชนิด สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร

ความหมายของสารเร่ง พด.2

สารเร่ง พด.2 หมายถึงเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตร ลักษณะเปียกหรือมีความชื้นสูงเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยดำเนินกิจกรรมการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนทำให้กระบวนการหมักดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 สายพันธุ์ ดังนี้

  • ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์ และวิตามินบี Saccharomyces sp.
  • แบคทีเรียผลิตกรดแลคติค Lactobacillus sp.
  • แบคทีเรียย่อยสลายโปรตีน Bacillus sp.

วัสดุที่ใช้ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้ จำนวน 50 ลิตร (ใข้เวลาในการหมัก 7 วัน)

  • ผักหรือผลไม้ 40 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม (หรือน้ำตาลทราย 5 กิโลกรัม)
  • น้ำ 10 ลิตร (หรือให้ท่วมวัสดุหมัก)
  • สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน  1   ซอง (25 กรัม)

น้ำหมักชีวภาพจากปลาหรือหอยเชอรี่ จำนวน 50 ลิตร ใช้เวลาในการหมัก (15-20 วัน)

  • ปลาหรือหอยเชอรี่ 30 กิโลกรัม
  • ผลไม้ 10 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม (หรือน้ำตาลทราย 5 กิโลกรัม)
  • น้ำ 10 ลิตร (หรือให้ท่วมวัสดุหมัก)
  • สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ซอง (25 กรัม)

การผลิตน้ำหมักชีวภาพโดยใช้สารเร่ง

วิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพ

  • ทั่นหรือสับวัสดุพืชหรือสัตว์ให้เป็นชิ้นเล็กๆ
  • ผสมกากน้ำตาลกับน้ำในถังหมักคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
  • ใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซอง ในส่วนผสมของกากน้ำตาลกับน้ำ คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
  • นำเศษพืชหรือสัตว์ใส่ลงไปในถังหมัก และคนส่วนผสมให้เข้ากัน ปิดฝาไม่ต้องสนิทและตั้งไว้ในที่ร่ม
  • ในระหว่างหมัก คนหรือกวน 1-2 ครั้งต่อวัน เพื่อระบายก็ซคาร์บอนไดออกไซด์และทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดียิ่งขึ้น

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ

การผลิตน้ำหมักชีวภาพโดยวิธีการต่อเชื้อ

นำน้ำหมักชีวภาพที่ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่หมักเป็นเวลา 5-7 วัน ซึ่งจะสังเกตเห็นฝ้าสีขาวที่ผิวหน้าวัสดุหมัก จำนวน 2 ลิตร แทนการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซอง ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ 50 ลิตร และใข้วัสดุหมัก 30-40 กิโลกรัม




คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ

  • มีฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตหลายชนิด เช่น ออกชิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน
  • มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก
  • มีวิตามินบี เช่น วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน และวิตามินบี 3 (ไนอะซีน)
  • มีความเป็นกรดเป็นด่าง (PH) อยู่ระหว่าง 3-4

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

  • เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช เพิ่มการขยายตัวของใบ และยืดตัวของลำต้น
  • ชักนำให้เกิดการงอกของเมล็ด ส่งเสริมการออกดอกและติดผลดีขึ้น
  • เป็นสารช่วยขับไล่แมลงศัตรูพืช
  • ทำความสะอาดและลดกลิ่นเหม็นในคอกเลี้ยงสัตว์

ข้อเสนอแนะ

  •  ต้องปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุในพื้นที่เพาะปลูกก่อนใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
  • ควรกรองปุ๋ยอินทรีย์น้ำแล้วเก็บใส่ภาชนะพร้อมปีดฝาหลังจากหมัก 30 วัน สำหรับกากวัสดุที่เหลือจากการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้นำไปใส่ในกองปุ๋ยหมัก เพื่อย่อยสลายก่อนจึงจะนำไปใส่ลงดินได้
   ที่มา : จากเอกสารเผยแพร่เรื่องสารเร่งประเภทจุลินทรีย์ พด.1 พด.2 พด.3
             กลุ่มวิจัยและพัฒนาอินทรีย์วัตถุเพื่อการเกษตร
             สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน
             กรมพัฒนาที่ดิน
             กระทรวงเกษตรและสหกรณ์



บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ