เทคโนโลยีด้านการเกษตร » รู้จัก ” พืชกระท่อม ” และสรรพคุณทางยา

รู้จัก ” พืชกระท่อม ” และสรรพคุณทางยา

11 ตุลาคม 2022
1534   0

รู้จัก ” พืชกระท่อม ” และสรรพคุณทางยา

พืชกระท่อม

พืชกระท่อม ชื่อวิทยาศาสตร์ (c (Korth.) Havil.) กระท่อม ในประเทศไทยมีการนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และปวดมวนท้อง และบางพื้นที่กล่าวกัน ต่อมาว่าสามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้ ชาวนานิยมบริโภคโดยการเคี้ยวใบสด หรือเอาใบ มาย่างให้เกรียมและตำ ผสมกับน้ำพริกรับประทานเป็นอาหาร เพื่อให้มีแรงทำงานและสามารถทนตากแดดอยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานาน โดยที่ ไม่รู้สึกเหนื่อย ชาวมลายูใช้ใบกระท่อมตำพอกแผล และใช้ทั้งใบเผาให้ร้อนวางบนท้องรักษาโรคม้ามโต ตลอดจนใช้กระท่อมเพื่อทดแทนฝิ่นในท้องที่ซึ่งหาฝิ่นไม่ได้ และบ่อยครั้งมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อควบคุมการติดฝิ่น โดยเฉพาะในประเทศนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน

กระท่อม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10 – 15 เมตรใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม และมีหูใบ 1 คู่ ใบมีรสขมเฝือน แผ่นใบสีเขียว พบได้ในแถบจังหวัดภาคใต้  เป็นพืชที่ใช้เป็นยาในสูตรยาหมอพื้นบ้าน หรือ หมอแผนโบราณ เช่น ยาประสากระท่อม ยาแก้บิดหัวลูก ฯลฯโดยกระท่อมมีสารไมตราเจนีน ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีคุณสมบัติเป็นยาแก้ปวด เช่นเดียวกับมอร์ฟินโดยมีการใช้แก้ไอ แก้ปวดเมื่อยแก้เบาหวาน แก้ท้องเสีย ฯลฯโดยนิยมเคี้ยวใบสดหรือต้มเป็นชาดื่มเพื่อให้รู้สึกไม่เมื่อยล้าขณะทำงาน ทำนา ทำสวน ปัจจุบันได้ปลดจากบัญชียาเสพติด จึงสามารถส่งเสริมการปลูกและใช้ประโยชน์ได้ในรูปแบบพืชสมุนไพร




ข้อดีสรรพคุณทางยา ” พืชกระท่อม “

กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย หรือบางสูตรหมอสมุนไพรใช้ใบ กระท่อมในการรักษาโรคเบาหวาน ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ เช่น ตำรับยาประสะกระท่อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาขนาดนี้แล้ว

พัฒนา ” พืชกระท่อม “ เป็นสมุนไพร มีการนำมาใช้เพื่อเป็นยารักษาโรค เพราะในกระท่อมมีสรรพคุณทางยาอย่างมากมายโดยผ่านการวิจัยจากแพทย์แผน ปัจจุบัน และในอดีตในตำราหมอบ้านก็ระบุว่าใช้เป็นยาเช่นกัน ใบกระท่อมมีสารที่ช่วยในการระงับอาการปวด รักษา อาการอ่อนเพลีย ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสารที่ดีที่สุดในใบกระท่อมที่ช่วยในการรักษา

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกกระท่อม

  • สภาพพื้นที่ ชอบแสงร่ำไร สามารถปลูกแซมไม้ยืนต้นอื่นๆ ได้
  • ลักษณะดิน ชอบดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุสะสม pH ระหว่าง 5 – 6.5 (กรดอ่อนๆ)
  • สภาพภูมิอากาศ ปลูกได้ดีที่อากาศร้อนขึ้น อุณหภูมิ ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
  • แหล่งน้ำ พืชกระท่อมชอบน้ำ ควรมีแหล่งน้ำที่เพียงพอในช่วงแล้ง

พันธุ์กระท่อม กระท่อมที่นิยมปลูกมิ 3 สายพันธุ์หลัก ประกอบด้วย

  • ชนิดก้านใบสีแดง แบบขอบใบเรียบนิยมต้มน้ำรับประทาน
  • ชนิดก้านใบสีเขียว (พันธุ์แตงกวา) นิยมรับประทานใบสด
  • ชนิดก้านใบสีแดง (แบบขอบใบหยัก) นิยมเรียกว่ายักษ์ใหญ่หรือ หางกั้งมีสารเข้มข้นกว่าสายพันธุ์อื่น

การขยายพันธุ์กระท่อม

  • กระท่อมนิยมใช้เมล็ด  ในการขยายพันธุ์ โดยเพาะเมล็ดในระบบปิดหรือเพาะแบบเปิดแต่รดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอ โดยเพาะต้นกล้าจนได้ ความสูงมากกว่า 15 ซม. แล้วย้ายปลูกลงแปลง
  • ขยายพันธุ์โดยติดตา ทาบกิ่ง เสียบยอด กับต้นตอที่มีความแข็งแรงหรือปักชำากิ่งที่มีตาข้าง (ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 8) วางไว้ในที่ร่ม และควบคุมความขึ้น
  • ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากเมล็ด ตายอด และตาข้าง




วิธีการปลูก

  • ฤดูปลูก ปลูกได้ในทุกฤดู หากปลูกฤดูแล้ง ควรรดน้ำสม่ำเสมอ
  • การเตรียมดิน พรวนดินให้ร่วนซุย ดินอุ้มน้ำได้ แต่ไม่ขังน้ำ
  • วิธีการปลูกและระยะปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 4×4 เมตร สามารถปลูกได้ 100 ตันต่อไร่ หรือกรณีปลูกแซมสวนยางที่มี ระยะปลูก 3×7 เมตร ให้ปลูกพืชกระท่อมที่ระยะ 6×7 เมตร สามารถปลูกได้ 38 ต้นต่อไร่

การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย นิยมใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และฮอร์โมนเร่งใบ หรือหากต้องการใช้ปุ๋ยเคมีให้เลือกใช้ปุ๋ย N, K สูง เช่น 15-9-12

การให้น้ำ นิยมให้น้ำแบบสายน้ำหยด หรือมินิสปริงเกอร์ โดยให้น้ำเมื่อหน้าดินเริ่มแห้ง ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้ง หรือให้น้ำมากเกินไปเพราะกระท่อมชอบดินที่ขึ้น แต่ไม่แฉะ

ศัตรูพืช

  1. วัชพืชที่สำคัญ และการป้องกันกำจัด ไม่มีปัญหาวัชพืช
  2. โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด โรคที่พบบ่อยคือโรคเชื้อรจุดดำซึ่งพบในช่วงฝนสามารถใช้น้ำปูนขาวละลายรดหรือฉีดพ่น ไม่ควรใช้ยาและสารเคมี เนื่องจากอาจสะสมในใบส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ในอนาคต
  3. แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด ไม่พบศัตรูสำคัญ

การเก็บเกี่ยว

  1. การเก็บเกี่ยวใบ ให้ผลผลิตที่ดีเมื่ออาย 3 ปี ได้ผลผลิตรวม 2 กก./ต้น/เดือน (เก็บทุก 15 วัน) (200กก./ ไร่/เดือน)
  2. การเก็บเกี่ยวเมล็ด ควรเก็บเมื่อมีสีเขียวถึงน้ำตาลไม่ควรให้ฝักแห้งคาต้นเพราะฝักเมล็ดจะแตกออกเมล็ดร่วงหล่น โดยเมล็ดกระท่อมจะเสื่อมสภาพเร็ว ทำให้การงอกลดลง
  3. การบริโภค สามารถบริโภคใบสดต้มน้ำหรือผสมในตำหรับยา

ที่มา: กองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ