เทคโนโลยีด้านการเกษตร » วิธีการเลี้ยงปูนา แบบง่ายๆ เหมาะสำหรับมือใหม่

วิธีการเลี้ยงปูนา แบบง่ายๆ เหมาะสำหรับมือใหม่

7 กันยายน 2022
6350   0

วิธีการเลี้ยงปูนา แบบง่ายๆ เหมาะสำหรับมือใหม่

วิธีการเลี้ยงปูนา

วิธีการเลี้ยงปูนา





ปูนา นั้นเมื่อสมัยตอนที่เรายังเล็กๆ เวลาที่เราตามพ่อไปดักรอบในนาข้าว เรามักจะเห็นปูนาธรรมชาติ ในนาข้าวติดมาด้วยทุกครั้งอดีตนั้นมีเพราะในอดีตนั้นบ้านเรายังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติพืชและสัตว์เป็นอย่างมากดังประโยคที่เคยได้ยินมาว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในท้องนามีสัตว์มากมายหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปลา ปู ดังนั้นเวลาที่เราดักปลามักจะมีสัตว์น้ำที่หลากหลายชนิกมาติด จึงจับมาบริโภคเป็นอาหารได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องเพาะเลี้ยงสัตว์เหล่านี้แต่อย่างใด

วิธีการเลี้ยงปูนา แบบง่ายๆ เหมาะสำหรับมือใหม่

และ “ปูนา” นั้นเป็นสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่อยู่คู่กับเราคนไทยมาช้านาน และในปัจจุบันนั้นเมนูของปูนาก็มีการดัดแปลงมากมายไม่ว่าจะเป็น ปี้ง,ย่าง หรือเมนูเด็ดๆ อย่างเช่น เมนูยำปูนาใส่มะม่วงรสแซ่บๆเผ็ดๆ และ ปูนาทุกวันนี้ไม่ได้อยู่แต่ในนาเหมือนเดิมแล้ว เพราะได้มีการพัฒนานำมาเลี้ยงในบ่อที่มีการจัดการได้แบบง่ายดายมากขึ้น และก็ทำเป็นอาชีพกันมากมาย ผู้เขียนก็เลยมีเคล็ดลับและ วิธีการเลี้ยงปูนาแบบง่ายๆ เหมาะสำหรับมือใหม่ วิธีการเลี้ยงปูนาในบ่อปูน หรือ เลี้ยงปูนาในบ่อดิน เลี้ยงในบ้านที่มีพื้นที่น้อยๆมาฝากกัน ติดตามเคล็ดลับและ วิธีการด้านการเกษตรทุกชนิด ได้ที่ withikaset.com

ปูนา มีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ตลาดต้องการคือ สายพันธุ์กำแพง เป็นปูที่อยู่บริเวณจังหวัดพิจิตร ลักษณะปูจะตัวใหญ่ แต่ไม่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทำให้ตายง่าย

วิธีแยกเพศของปูนา

เพศผู้

  • ขนาดลำตัวใหญ่  ก้ามขนาดใหญ่ ลำตัวสีเข้ม ส่วนท้องเป็นเปลือกเรียบสีขาว มีแนวร่องกลางส่วนท้องเป็นรูปตัวที

เพศเมีย

  • ขนาดลำตัวเล็ก ก้ามขนาดเล็ก ลำตัวสีอ่อน ท้องเป็นแผ่นโค้งรูปสามเหลี่ยมปิดทับส่วนท้อง

การเลี้ยงปูนาในบ่อปูน

การเลี้ยงปูนาในบ่อปูนนั้นทำความสะอาดได้ง่าย ตัวปูสะอาด ไม่ต้องนำมาพักในบ่อใสเพื่อให้ปูนาฟอกตะกอนในตัวออกเหมือนกับการเลี้ยงในบ่อดิน ตัวปูมันวาวเนื้อแน่น ไม่ฝ่อ รวมไปถึงปลอดจากสารเคมี ไม่มีพยาธิปรสิต และปลิง ทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค โดยมีขั้นตอนดังนี้

เตรียมบ่อปูน

สำหรับการเลี้ยงปูนาในบ่อปูน นั้นขนาดของบ่อจะประมาณ 2×3 เมตร สูงประมาร 1 เมตร พื้นด้านในบ่อต้องเรียบ ป้องกันการปีนออกจากบ่อ หากทำบ่อใหม่ให้แช่น้ำด่างทับทิมทิ้งไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้นให้ทำความสะอาด และเติมน้ำลงไปประมาณ 10-15 เซนติเมตร วางอิฐบล็อก และใส่ผักตบชวา เพื่อเป็นบ้านที่หลบอาศัย และเป็นแหล่งอาหารให้แก่ปู แล้วปล่อยปูนาประมาณ 100 คู่

การให้อาหารของปูนา  นั้นมีความแตกต่างกันตามช่วงอายุของปูนา พอจะแยกช่วงอายุออกได้ ดังนี้

  • อายุ 3 วัน  –  1 เดือนครึ่ง ให้เลี้ยงด้วยไข่แดง ต้มสุก
  • อายุ 1 เดือนครึ่ง  –  จนครบอายุ ที่ต้องการให้เลี้ยงด้วยอาหารลูกอ๊อดชนิดเม็ดลอยน้ำ
  • พ่อแม่พันธุ์ อายุ 6 เดือน ให้อาหารปลาดุกเม็ดเล็ก หรือจะเสริมด้วยรำข้าว การให้อาหารปูจะให้อาหารช่วงเย็นทุกวัน โดย 1 ตัว จะกินอาหารประมาณ 4-5 เม็ด เมื่อครบอายุก็เริ่มจับขายได้ หากต้องการให้อาหารเสริมให้พวกผัก แต่ไม่ควรให้ข้าวสุก เพราะเมื่อปูกินเข้าไปจะทำให้ท้องอืดตาย



การเพาะขยายพันธุ์ของปูนา

สำหรับอายุของพ่อแม่พันธุ์สามารถผสมพันธุ์ได้นั้นมีอายุตั้งแต่อายุ 6 เดือน  ขึ้นไปซึ่งเป็นช่วงที่มีความเหมาะสมนั้น อายุของปูเฉลี่ยอนูที่ประมาณ 2 ปี กว่า สามารถขยายพันธุ์ได้ประมาณ 4-6 ครั้ง การผสมพันธุ์ปูนานอกฤดูนั้นก็สามารถทำได้โดยมี ขั้นตอนดังนี้

  1. ค่อยๆ ปล่อยน้ำออกจากบ่อปูนจนแห้ง งดให้อาหาร ตัวปูจะเริ่มแห้งและหาที่จำศีล โดยการเข้าไปอยู่ในรูอิฐบล็อก เป็นการจำลองสภาพอากาศในช่วงฤดูร้อน ช่วงนี้ปูจะมีหลากหลายสีเช่น ม่วง ส้ม ชมพู เหลืองเทา ฟ้า แดง ดำ ซึ่งปูจะจำศีลอยู่ในอิฐบล็อกประมาณ 1-2 สัปดาห์
  2. หลังจากนั้นค่อยๆ เติมน้ำลงในบ่อ ทำให้อุณหภูมิเย็นขึ้น นำสแลนมาคลุม นำแผ่นสังกะสีมาปิดทับปากบ่อ และฉีดน้ำเบาๆ เป็นฝอยๆ เป็นการจำลองสภาพอากาศในช่วงฤดูฝน ปริมาณน้ำในบ่อจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ปูจะเริ่มออกมาจากอิฐบล็อกเพื่อผสมพันธุ์ เมื่อปูเริ่มเจอน้ำจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีแดงอมม่วง
  3. ปูจะเริ่มจับคู่กัน และแยกรูอยู่กันเป็นคู่ๆ โดยตัวเมียจะอยู่ในรู ตัวผู้อยู่ปากรู ตัวเมียจะเริ่มมีการฟอร์มไข่ที่กระดอง และเมื่อไข่สมบูรณ์เต็มที่ จะคายไข่มาไว้ที่หน้าท้อง หรือจับปิ้ง ไข่จะมีสีเหลืองอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่ และเป็นตัวอ่อน โดยใช้เวลาตั้งแต่ผสมพันธุ์จนออกลูกประมาณ 40-45 วัน แม่ปูที่ไข่หน้าท้องจะขยายออก ปล่อยให้แม่พันธุ์อยู่ในรูอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ จากนั้นย้ายแม่ปูออกมาเลี้ยงจนแม่ปูสลัดลูกออก ให้เลี้ยงแม่ปูและลูกปูในบ่อเดียวกันอีกประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงจับแม่ปูแยกออกจากบ่อ แม่ปูหนึ่งตัว จะมีลูกประมาณ 300–500 ตัว แต่จะรอด ประมาณ 300-400 ตัว

การจับปูขาย

ปูนา มีขนาดอายุที่แตกต่างกันตามความต้องการในการบริโภค ดังนี้

  • อายุ 2–2 เดือนครึ่ง ขายเป็นปูจ๋า ส าหรับทอด
  • อายุ 3 เดือน ขายเป็นปูสด หรือปูดองส าเร็จรูป
  • อายุ 4-5 เดือน ขายเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป หรือขายเป็นปูกิโล
  • อายุ 6 เดือน ขายก้ามปู มันปู เนื้อปู หรือพ่อแม่พันธุ์
  • 7-8 เดือน ขายปูนิ่ม หรืออื่นๆ ตามต้องการ

การแปรรูปปูนา

ปูนาตามธรรมชาติในช่วง เดือนมกราคม – พฤษภาคม เป็นช่วงที่หายาก มีราคาสูงมาก แต่ช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม จะมีจำนวนมาก ซึ่งราคาก็จะลดลง การนำปูนามาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ก็ถือเป็นการสร้างรายได้ที่ค่อนข้างมากเลยที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปเป็น น้ำพริกเผาปูนา น้ำพริกมันปู กะปิมันปู น้ำพริกผัดปูนา น้ำพริกนรกปูนา ปูดองไว้ใส่ส้มตำอร่อยๆ ปูเขย่า ก้ามปู เนื้อปู และสินค้าแปรรูปต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งสร้างราย เฉลี่ยกว่า 1,000-2,000 บาทต่อวัน

ปัญหาการเลี้ยงปูนา

  • น้ำหากและเย็นเกินไปจะอาจทำให้ปูแขนขาหลุดและน็อคตาย หรือน้ำไม่สะอาดอาจจะทำให้ปูนาไม่สามารถฟอกอากาศได้และอาจจะตายในที่สุด
  •  อากาศปูนาจะไวต่อสภาพอากาศ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 วันแรกที่ปล่อยปูนาลงในบ่อเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทันที ทำให้ปูตายค่อนข้างมาก
  • ความแออัด อาหารไม่เพียงพอ ทำให้ปูต่อสู้กัน หรืออาจสลัดขาจากการหนีคู่ต่อสู้ เพื่อให้วิ่งหนีได้เร็วและตามธรรมชาติปูจะสามารถสร้างขาขึ้นมาใหม่ได้เมื่อมีการลอกคราบ แต่หากแขนขาหลุดหรือสลัดแขนขามากเกินไป ปูก็จะตายในที่สุด

ขอบคุณที่มา : การเลี้ยงปูนาสร้างอาชีพ โดย อาจารย์ปานศิริ ปาดกุล บรรยายในงานตลาดนัด “มหัศจรรย์แห่งท้องทุ่ง” วันที่ 2พฤศจิกายน 2562 , sarakaset.com





บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ