เทคโนโลยีด้านการเกษตร » วิธีปลูกมะเขือเปราะ ไว้รับประทานในครัวเรือนช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

วิธีปลูกมะเขือเปราะ ไว้รับประทานในครัวเรือนช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

20 ธันวาคม 2022
1982   0

วิธีปลูกมะเขือเปราะ ไว้รับประทานในครัวเรือนช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

วิธีปลูกมะเขือเปราะ

วิธีปลูกมะเขือเปราะ


ลักษณะโดยทั่วไป

มะเขือเปราะ  ( Thai Eggplant ) มีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง 60-120 เซนติเมตร เป็นพืชผักที่มีอายุยืน ใบมีขนาดใหญ่เรียงตัวแบบสลับ ดอกมีขนาดใหญ่สีม่วงหรือสีขาว เป็นดอกเดี่ยว ผลมีรูปร่างกลมแบนหรือรูปไข่ อาจมีสีขาวเขียว เหลือง ม่วง ขึ้นอยู่กับพันธุ์มีคุณสมบัติบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเขือเปราะมีสรรพคุณคล้ายกับอินซูลิน ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ ช่วยให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดี




การเพาะกล้ามะเขือเปราะ

  1. ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ้ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2 : 1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพาะกล้า ขนาด 72 หรือ 104 หลูมต่อถาดหรือหากเพาะในถุงพลาสติกให้ใช้ขนาด 2 x 3 นิ้ว
  2. ใช้เศษไม้เล็ก ๆ กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดเพาะกล้าหรือถุงพลาสติก ขนาดความลึก 0.5 เซนติเมตร
  3. นำเมล็ดมะเขือเปราะหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด กลบดินผิวหน้าเมล็ดมะเขือเปราะแล้วรดน้ำ และควรป้องกันมดมาคาบเมล็ดไปจากถาดพลาสติกเพาะกล้า โดยใช้ปูนขาวโรยล้อมถาดเพาะไว้
  4. หลังเพาะนาน 7-10 วัน เมล็ดเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นกล้ามะเขือเปราะทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็นจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในกระถางหรือในแปลงปลูก

การปลูกในแปลงหรือในภาชนะปลูก

  • ถ้าปลูกในแปลง ควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยหน้าดินลึก15-20 เซนติเมตร และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ้ยหมัก หว่านและคลุกเคล้า ให้เข้ากับดินในแปลง
  • ในกรณีปลูกในภาชนะต่าง ๆ ให้ผสมดินปลูกในภาชนะโดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ้ยคอก หรือปุยหมัก ในอัตรา 2 : 1 หรือดินร่วนผสมปุ้ยคอกหรือปุ้ยหมักและขี้ถ้าแกลบหรือขุยมะพร้าว อัตรา 1 :1 : 1

การดูแลรักษา

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หลังการย้ายต้นกล้าควรให้น้ำ เช้า-เย็น เมื่อต้นกล้าฟื้นตัวได้แล้ว จึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง

การใส่ปุ๋ย หลังการย้ายกล้าประมาณ 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อมะเขือเริ่มออกให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 8-24-24 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่โดยทยอยแบ่งใส่ทุก 2 เดือน

การเก็บเกี่ยว

หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยให้ผลผลิต สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคได้และหลังจากที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้วประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อทำให้ลำต้นมะเขือเปราะเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ที่มีความแข็งแรง จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่งและบำรุงต้นมะเขือเปราะเช่นนี้ทุก ๆ 2-3 เดือน




ศัตรูที่สำคัญของมะเขือเปราะ
แมลงศัตรู

  • เพลี้ยไฟ ศัตรูชนิดนี้มีตัวอ่อน ลำตัวยาวสีเหลืองเคลื่อนไหวเร็วอยู่ตามยอด ซอกใบ และใต้ใบ ตัวแก่สีดำบินเร็ว เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของมะเขือ
    ระบาดได้รวดเร็วมาก โดยจะดูดน้ำจากใบทำให้ใบเหลือง แข็ง กรอบ ผิวใบอาจฉีกขาด ยอดมีสีน้ำตาล ไม่ค่อยเจริญเติบโต และต้นทรุดโทรมเร็ว ระบาดมากช่วงฤดูหนาว
    การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เช่น คาร์โบซัลแฟน ,ฟิโปรนิล ,อะบาแมคติน เป็นต้น
  • เพลี้ยแป้ง ทำให้เกิดใบหยิกหด ใบและยอดอ่อนหยิกและหด ข้อสั้นและอวบหญ่มีสีเขียวเข้มไม่เจริญต่อไป เพราะมีศัตรูที่มีแป้งสีขาวเกาะติดอยู่เป็น
    กระจุก
    การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดประเภทดูดซึม เช่นเดียวกับการกำจัดเพลี้ยไฟ

โรคที่สำคัญ

  • โรคผลเน่า
    เกิดจากเชื้อรา อาการของผลและกิ่งจะปรากฏสีน้ำตาลแล้วลามเข้าไปทั้งผล และกิ่งจนแห้งตาย บน กิ่ง แห้งพบเมล็ดราสีดำ ขนาดเล็ก
    กว่าเข็มหมุดขึ้นตรงกลางแผลสีน้ำตาล
    การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งเป็นโรคและผลเน่าออกจากแปลง ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา
  • โรคโคนเน่า
    เกิดจากเชื้อรา อาการที่พบคือต้นเหี่ยวเฉาตาย เมื่อถอนต้นขึ้นมาตรวจพบเชื้อรา เป็นเส้นใยสีขาวโคนต้นระดับดิน ทำให้โคนต้นแห้งเป็นสี
    น้ำตาล เชื้อราสร้างเส้นใยและมีเม็ดราเป็นสีขาวและดำเท่ากับเมล็ดผักกาด แทรกอยู่ระหว่างก้อนดินโคนต้น
    การป้องกันกำจัด ถอนต้นที่เป็นโรคเผาไฟรวมทั้งดินโคนด้วยใส่ปูนขาวในหลุมที่เป็นโรค หรือละลายปูนขาวกับน้ำรดโคนต้น หรือยากำจัด
    เชื้อรา รดโคนต้นเมื่อปลูกใหม่ ควรปรับดินด้วยปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียนในแหล่งที่มีโรคระบาดมาก

ที่มา : wikipedia.org, www.sarakaset.com




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ