การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ฉบับมือใหม่
การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นวิธีที่ง่ายและได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่ประหยัดวัสดุเพะเห็ด ใช้ระยะเวลาเพาะสั้น จึงสามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล ปกติแล้วเกษตรกรจะเพาะในฤดูหลังนา เพราะมีฟางข้าว และตอซัง เป็นวัสดุเพาะเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุที่เหลือใช้มาให้เกิดประโยชน์เป็นการเพิ่มแหล่งอาหารและเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่เพาะง่าย ใช้เวลาสั้นประมาณ 5 – 7 วัน ก็เก็บดอกเห็ดที่เพาะได้ เป็นเห็ดที่มีผู้นิยมบริโภคมาก ทำให้ความต้องการของตลาดสูง ซึ่งทำให้มีราคาดีตลอดปิ้ จึงมีผู้นิยมเพาะเห็ดฟางกันมาก
การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย มีการพัฒนามาจากการเพาะแบบกองสูง ซึ่งเป็นการประหยัดวัสดุเพาะและง่ายต่อการดูแล สามารถให้อาหารเสริม และให้ผลผลิตที่แน่นอน
วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดฟางกองเตี๋ย
- การเตรียมดินบริเวณเพาะเห็ด ควรขุดดินและย่อยให้ละเอียดไว้ก่อนและรดน้ำให้บริเวณพื้นดินรอบๆ กองเพาะเห็คเปียกชุ่ม เพื่อจะให้เห็คงอกเพิ่มจากฟางบนกองเพาะเห็ดอีกจำนวนหนึ่ง
- ไม้แบบ ไม้แบบที่นำมาเพาะเห็ดส่วนใหญ่ใช้ไม้กระดานมาทำเป็นแม่พิมพ์ โดยมีความยาว 120 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ด้านล่างกว้าง 30 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25 เซนติเมตร
- วัตถุดิบในการเพาะเห็ด จะนิยมฟางข้าวเพราะหาง่ายและมีจำนวนมากจะใช้ฟางทั้งต้นหรือฟางข้าวนวดก็ได้ ยังมีวัตถุดิบอีกหลายชนิดที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้เช่น ทะลายปาล์ม เปลือกของฝักถั่วเขียว ถั่วเหลือง ต้นถั่ว เปลือกหัวมันสำปะหลัง ผักตบชวา เศษต้นพืช ต้นหญ้า ปัจจุบันยังใช้ขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ดถุงพลาสติก และผักตบชวาก็ให้ผลผลิตดีเท่ากับฟาง วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ด ต้องนำไปแช่น้ำให้เปียกก่อน โดยใช้เวลาในการแช่ประมาณ 30 นาที ก็นำไปเพาะเห็ดได้
- อาหารเสริม การเพิ่มอาหารเสริมจะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ที่นิยมคือไส้นุ่น เปลือกของฝักถั่ว ผักตบชวา จอกหูหนู มูลสัตว์ที่แห้ง เช่น มูลควายก่อนใช้ต้องแช่ให้ชุ่มน้ำเสียก่อน
- เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟางที่นำมาใช้ควรมีอายุ 5 – 10 วัน จะเห็นเส้นใสีขาวเจริญเต็มถุง ถ้าเส้นใยแก่จะมีสีเหลืองเข้ม หรือมีดอกเห็ดเจริญในถุงเชื้อ ไม่ควรนำไปใช้ นอกจากนี้ต้องไม่มีศัตรูเห็ด เช่น ตัวไร และไม่มีเชื้อราชนิดอื่นปนอยู่ เช่น ราเขียว ราเหลือง ราดำ หรือเชื้อราชนิดอื่นที่ไม่ใช่เชื้อเห็ด นอกจากนี้ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ด
- วัสดุคลุมแปลงเพาะเห็ด โดยทั่วไป จะใช้ผ้าพลาสติกคลุม เป็นการควบคุมความชื้น และรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ถ้าเพาะในที่โล่งแจ้งจะใช้ฟาง ใบมะพร้าว ใบตาล หรือสแลนเพื่อป้องกันแสงแดด
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย
เมื่อมีการจัดเตรียมสถานที่และวัสดุเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทำการเพาะเห็ดชั้นแรก โดยเห็ดฟางกองเตี๋ยจะทำทั้งหมด 4 ชั้น
การเพาะชั้นที่ 1
- นำไม้แบบหรือแม่พิมพ์เพาะเห็ดวางบนพื้นที่เตรียมไว้ นำฟางที่แช่แล้วนำใส่ลงในไม้แบบขึ้น ย่ำพร้อมรดน้ำจนแน่นพอดี และให้มีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร
- นำอาหารเสริมที่ชุ่มน้ำ โรยรอบขอบไม้แบบบนฟางบางๆ ทั้งสี่ด้าน
- ใส่เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง มีน้ำหนักประมาณ 2 ขีด ขยี้เชื้อเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วแบ่งเป็น 4 ส่วน นำส่วนที่ 1 โรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วทั้งสี่ด้าน
การเพาะเห็ดชั้น 2 – 4 ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 จนครบ 4 ชั้น
สำหรับชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นบนสุดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าของแปลง แล้วนำฟางแช่น้ำมาคลุมหนาประมาณ 2 – 3 เซนดิเมตร ใช้มือกคให้แน่นพอสมควร
- ยกแบบไม้ออก ควรยกด้านหัวและท้ายพร้อมๆ กัน นำไปเพาะแปลงต่อๆ ไป โดยแต่ละกอง แปลงเพาะเห็ดให้ห่างกันประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร
- ช่องว่างระหว่างแปลงเพาะเห็ดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ด บนดินแล้วคลุมด้วยฟางบางๆ
- คลุมแปลงเพาะเห็ดด้วยฟางแห้งแล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติก ถ้าทำหลายๆ กองให้คลุมผ้าพลาสติกยาวตลอดทุกแปลงเป็นผืนเดียวกัน นำฟางแห้ง คลุมทับบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง เพื่อป้องกันแสงแดด
การดูแลรักษาแปลงเพาะเห็ด
1. การคลุมผ้าพลาสติกแปลงเพาะเห็ด เป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเห็ด โดยในวันที่ 1 – 3 ไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติกเลย
2. เมื่อถึงวันที่ 3 ให้เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อเป็นการระบายอากาศปล่อยไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง (ในระยะนี้จะสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารเสริมและฟาง แต่ยังไม่เกิดตุ่มคอก)
3. นำฟางแห้งคลุมทับบนแปลง หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วคลุมทับด้วยผ้าพลาสติกเหมือนเดิมแล้วปิดทับด้วยวัสดุป้องกันแสงบนผ้าพลาสติกอีกชั้นวัสดุป้องกันแสงอาจจะเป็นใบมะพร้าว แผงหญ้าคา ฟางแห้ง หรือสแลน ต่อจากนั้นตั้งแต่วันที่ 4 ของการเพาะให้เปีดแปลงเพาะเห็ดทุกวันเป็นการระบายอากาศและดูแลการเจริญของดอกเห็ด ควรเปิดตอนเช้าหรือตอนเย็น เพราะอากาศจะไม่ร้อน ในวันที่ 5 จะเห็นตุ่มเห็ดสีขาวเล็กๆ บนฟางของแปลงเพาะเห็ด
5. ในระขะนี้ถ้ากองเห็ดแห้งให้รดน้ำเบาๆ เป็นฝอยละเอียดบนฟางคลุมกองและรอบกอง ห้ามรดน้ำแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า ถ้าเป็นฤดูฝนควรคลุมผ้พลาสติกให้มิดชิด และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงเพาะเห็ด
6. ดอกเห็ดจะพัฒนาเจริญเติบโต และเก็บผลผลิตได้ราววันที่ 7 – 9 วัน ของการเพาะเห็ด แล้วจะเก็บดอกเห็ดได้ราว 2 – 3 วัน หลังจากนั้นจะเก็บผลผลิตได้น้อยลง (ถ้าฟาง 10 กิโลกรัม จะได้ดอกเห็ด 1 – 2 กิโลกรัม)
การเก็บผลผลิต
การเก็บดอกเห็ดจะนิยมเก็บในตอนเช้าๆ เพราะดอกเห็ดจะตูมเต็มที่ในช่วงตี 3 – 4 ถ้าช้ากว่านี้ดอกเห็ดจะบานจะขายไม่ได้ราคา การเก็บดอกให้ใช้มือจับตรงโคนดอก โยกนิดหน่อยแล้วดึงออกมา ถ้าติดกันหลายๆ ดอกให้เก็บทั้งหมด อย่าให้มีชิ้นส่วนขาดหลงเหลืออยู่จะทำให้เน่า และเป็นสาเหตุของการเน่าเสียของดอกเห็ดได้
เอกสารอ้างอิง
- ชาญยุทธ์ ภานฺทัต และนงนุช แตงทรัพย์. 2538. เทคนิคการเพาะเห็ด, กรมส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ. 46 หน้า
- ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. 2532. การเพาะเห็ดบางชนิดในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 188 หน้า
- ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. 2539. การเพาะเห็ดหลินจือ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 80 หน้า
- บุญทา วรินทร์รักษ์. 2526. การทำเชื่อและการเพาะเห็ด. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- ปัญญา โพธิ์ฐิติรัตน์ และ กิตติพงษ์ ศิริวานิชกุล. 2537. เทคโนโลยีการเพาะเห็ด.
- สถาบันเทค โนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ. 421 หน้า
- ภาควิชาจุลชีววิทยา. 2542. จุลชีววิทยาปฏิบัติการ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
- วิฑูรย์ พลาวุฑต์. 2527. การทำเชื้อและการเพาะเห็ด. วิทยาเขตเกษตร นครศรีธรรมราช.
- อนงค์ จันทรศรีกุล. 2520 เห็ดเมืองไทย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ.
- อานนท์ เอื้อตระกูล. 2522. การเพาะเห็ดฟางฉบับสมบูรณ์. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ