เทคนิคเบื้องต้นในการเลือกซื้อวัว และการเลี้ยงวัว สำหรับมือใหม่
สวัสดีครับวันนี้เราจะมาพูดถึง เทคนิคเบื้องต้นในการเลือกซื้อวัว และเทคนิคการเลี้ยงวัวเนื้อ สำหรับมือใหม่ มาฝากกันครับ ไม่ว่าจะเป็นที่กำลังเลี้ยงอยู่ก็ดีหรือว่าท่านที่กำลังคิดอยากจะเลี้ยงก็ดี แน่นอนครับในการเลือกซื้อวัวไม่ว่าจะเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่จะนำมาเลี้ยงนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าวัวเป็นหมัน หรือ มีตำหนิ อาจจะทำให้ขาดทุนได้ และในบทความนี้ เราจึงได้รวบรวม หลักการเบื้องต้นในการเลือกซื้อวัวสำหรับมือใหม่ มาฝากกันครับ
ส่วนท่านไหนที่กำลังคิดที่อยากจะเลี้ยงก็พยายามศึกษาหาข้อมูลเหล่านี้ไว้นะครับจะได้ลดการสูญเสีย ขาดทุน ในช่วงการเลี้ยง หรือบางรายอาจจะหมดตัวไปเลยก็ได้ เพราะว่าไม่ได้มีการวางแผนที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น
1) เตรียมพื้นที่ในการเลี้ยงวัว
ก่อนที่จะทำการเลี้ยงวัวต้องสำรวจความพร้อมเรื่องพื้นที่ที่จะเลี้ยงวัวก่อน เพราะพื้นที่ที่วัวจะอยู่เติบโต ใช้ชีวิตในช่วงเวลาก่อนที่วัวจะพร้อมสู่การนำไปขายได้ อาจจะต้องใช้พื้นที่พอสมควร เนื่องจากวัวเป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวใหญ่ เช่นพื้นที่โรงเรือน พื้นที่ปลูกหญ้า เป็นต้น การเลี้ยงวัวมีได้สองลักษณะคือ การเลี้ยงแบบชาวบ้านที่เลี้ยงไปตามทุ่งตามนา การเลี้ยงแบบนั้นจำเป็นต้องมีคนคอยเฝ้า มีพื้นที่ใกล้เคียงที่สามารถนำวัวไปเดิน มีหญ้าให้วัวแทะเล็ม ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือการเลี้ยงแบบฟาร์ม ต้องมีการทำคอกรวมถึงรางอาหารรางน้ำที่ถูกสุขลักษณะ มีความสะอาดสำหรับวัว มีขนาดคอกที่กว้างขวางเพียงพอ
2) การเลือกพันธุ์วัวเนื้อที่จะเลี้ยง
สายพันธุ์ของวัว เป็นอีกสิ่งที่สำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะพันธุ์ที่จะเลือกนำมาเลี้ยงนั้น จะต้องดูจากความเหมาะสมของลักษณะการเลี้ยงรวมถึงสถานที่ท้องถิ่นที่จะเลี้ยงด้วย เพราะหากเลือกพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมจะได้ผลที่ไม่ดี วัวมีน้ำหนักน้อย เลี้ยงยาก อาจไม่แข็งแรงได้ พันธุ์ของวัวมีทั้ง วัวเนื้อพันธุ์พื้นเมือง วัวเนื้อพันธุ์ต่างแดน วัววเนื้อพันธุ์ผสมซึ่งถูกผสมสายพันธุ์ให้เหมาะกับสถานที่เลี้ยง วัวแม่พันธุ์วัวสาวต้องเลือกวัวสาวไม่เกิน 2-3 ปี เพราะถ้าเกินนั้นก็เสี่ยงที่วัวสาวตัวนั้น ไม่เป็นสัดเลย หรือจะเป็นสัดแล้วผสมไม่ติด เจ้าของจึงขายออก นั้นเอง
3) ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
ผู้เลี้ยงต้องมีการศึกษาหาความรู้ให้ลึกซึ้งถึงรายละเอียดปีกย่อยเกี่ยวกับวัวที่เลี้ยง สายพันธุ์ที่เลี้ยง ธรรมชาติของวัวพันธุ์นั้น สามารถปรับวิธีการเลี้ยงให้เข้ากับนิสัยใจคอ ลักษณะของวัว ต้องรู้ถึงจุดเสี่ยงที่จะทำให้วัวเกิดโรค หรือข้อเด่น จุดได้เปรียบที่จะทำให้วัวเติบโตเร็วแข็งแรงมีน้ำหนักมีลักษณะที่ดี สามารถขายได้ราคา
การเป็นสัด คืออะไร?
การเป็นสัดคือ การที่สัตว์ตัวเมียยอมให้ผสมพร้อม ๆ กันจะมีการตกไข่เกิดขึ้น (โคนมลูกผสมส่วนมากจะมี อายุเข้าสู่วัยหนุ่มสาวประมาณ 1-2 ปีโดยเฉลี่ย) โคเป็นสัดก็หมายถึงโคที่เริ่มจะเป็นสาวแล้วพร้อมที่จะได้ รับการผสมโดยวิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งอาจเป็นการผสมเทียม หรือผสมแบบธรรมชาติก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกหรือ ความต้องการของผู้เป็นเจ้าของ การเป็นสัดของโคแต่ละรอบจะห่างกันประมาณ 21 วัน และในแต่ละครั้ง ของการเป็นสัดแล้วประมาณ 14 ชั่วโมง ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทำการผสมคือระยะก่อนที่ไข่ จะตกเล็กน้อย โดยทั่ว ๆ ไปเจ้าของสัตว์อาจจะพบหรือสังเกตเห็นสัดของตนเป็นสัดในเวลาเย็นหรือตอน กลางคืนหรืออาจจะพบเมื่อใกล้ถึงตอนปลายของการเป็นสัดแล้ว ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติอาจแนะนำ พอเป็นแนวทางในการปฏิบัติคือ ถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนเข้าก็ควรจะผสมอย่างช้าตอนบ่ายวันเดียวกัน และถ้า เห็นโคเป็นสัดตอนบ่ายหรือเย็นก็ควรจะผสมอย่างช้าเช้าวันรุ่งขึ้น
4) ศึกษาการตลาด
เกษตรกรมือใหม่ไม่เพียงแต่จะต้องรู้จักมีความเชี่ยวชาญการเลี้ยงวัวเท่านั้น แต่ควรจะเรียนรู้และศึกษาเทคนิคกลไกตลาดในการค้าวัวเนื้อ หาแหล่งที่รับซื้อที่ได้ราคา เช่น ตลาดวัว หรือ กลุ่มซื้อขายวัวทาง Facebook และรู้จังหวะในการขายเพื่อให้ได้ราคาที่ดีด้วย เพราะการจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงวัวเนื้อ นอกจากการเลี้ยงวัวให้เติบโตแข็งแรง มีลักษณะดี มีน้ำหนักดีแล้ว ยังต้องประสบความสำเร็จในด้านกลไกการตลาดอีกด้วย การขายโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง หรือนายฮ้อย จะทำให้เราได้ราคาดีก็ได้
5) เรื่องของการหาวิธีลดต้นทุน
แน่นอนในการเลี้ยงสัตว์ใครที่หาวิธีลดต้นทุนได้มากที่สุดก็จะมีกำไรเพิ่มขึ้นมาเท่านั้น เคล็ดลับสำคัญที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงวัวเนื้ออีกข้อหนึ่งก็คือ การเสาะหา ทดลอง เรียนรู้วิธีในการลดต้นทุนการเลี้ยงโดยยังคงคุณภาพที่ดีในการเลี้ยงด้วย เช่น การเลี้ยงด้วยวัตถุดิบที่ประหยัดแต่มีคุณภาพดี การลดเวลาในการเลี้ยง การผสมเทียม เป็นต้น
การทำแปลงหญ้า เพื่อใช้เป็นอาหารวัวนั้นจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู เพราะหญ้าเป็นปัยจัยหลักๆ ของการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดจะทำให้เรามีกำไรเพิ่มมากขึ้นเพราะทุกวันนี้การเลี้ยงวัวจะไม่สามารถปล่อยได้เหมือนสมัยก่อนเพราะว่าพื้นที่จำกัดลง ต้องมีการวางแผนในการปลูกหญ้าก่อนนำวัวเข้ามาเลี้ยงครับ และหญ้าทุกวันนี้ก้มีหลายหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น หญ้าเนเปียร์ หรือหญ้าสายพันธุ์ๆ เป็นต้น
เพียงเท่านี้ก็จะทำให้การเลี้ยงวัวเนื้อของผู้เลี้ยงมือใหม่เป็นไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จได้ ผู้เลี้ยงวัวเนื้อจะต้องใช้เวลา ส่ำสมประสบการณ์ รียนรู้องค์ความรู้ให้มากขึ้นด้วย
ที่มา : sarakaset.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ