การเพาะเลี้ยงหนอนนก อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เลี้ยงง่ายประหยัดพื้นที่
การเพาะเลี้ยงหนอนนก
หนอนนก (Mealworm of Yellow mealworm) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenebriomolitor Linnaeus วงศ์ Tenebrionidae อันดับ Coleoptera เป็นตัวอ่อนของแมลงปีกแข็ง ที่มีชื่อว่า Meal-Beetle หรือด้วงหนอนนก ลักษณะตอนเป็นหนอนมีลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ผอมยาวเป็นรูปทรงกระบอกขนาดของหนอนเมื่อโตเต็มที่มีความกว้างลำตัว 0.28-3.2 มม. ยาว 29.35 มม. มีน้ำหนัก 0.2-0.24 กรัม ส่วนตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง สีดำ ธรรมชาติของหนอนนก ไม่ชอบอากาศร้อนสภาพที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 25 ถึง 35 องศาเซลเซียส ต้องมีความชื้นสูงหนอนนกมีคุณค่าทางโภ”ฯวา ‘รสูงซึ่งประกอบด้วยโปรตีน 17-19% ไขมัน 7-14% จึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหาร นก ไก่ ปลาสวยงาม ปลาดุก กบรวมไปถึงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อย่างแพร่หลาย
ตัวเมียที่โตเต็มวัยความยาวประมาณ 1.5-1.8 เชนติเมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เมื่อใช้มือบีบที่บริเวณก้นของตัวผู้จะเห็นติ่งแหลม 2 ติ่ง ตัวเมียที่โตเต็มวัย 1 ตัว มีอายุการวางไข่ประม น 40-50 วัน โดยวางไข่วันละ 1-2 ฟอง ซึ่งไข่จะมีความกว้าง 0.8-1.8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5-2.0 มิลลิเมตร
วงจรชีวิตของหนอนนก
วงจรชีวิตของหนอนนก แบ่งได้ดังนี้
- ระยะเวลาที่เป็นไข่ 5-7 วัน จึงฟักเป็นตัวหนอน
- ระยะการเจริญเติบโตของตัวหนอน
- 45-50 วัน เป็นหนอนขนาดเล็ก
- 50-75 วัน เป็นหนอนขนาดกลาง
- 75-90 วัน เป็นหนอนขนาดใหญ่
- ระยะเวลาที่เป็นดักแด้ 5-7 วัน
- ระยะที่เป็นตัวเต็มวัย 95-180 วัน
อุปกรณ์การเพาะเลี้ยง
- ถาดอลูมิเนียมหรือถาดพลาสติก มีชอบสูงประมาณ 2-3 นิ้ว
- ชั้นเลี้ยงสำหรับวางถาด
- ผ้าสำลีหรือผ้าขาวบาง สำหรับชุบน้ำ
- อาหารสำหรับเลี้ยงหนอน เช่น อาหารไก่ รำข้าวสาลี
- ตะแกรงสำหรับร่อนตัวหนอน
ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยง
- เตรียมถาดสำหรับเลี้ยงหนอนนก โดยใส่อาหารหนาประมาณ 1 เชนติเมตร เพื่อช่วยในการรักษาอุณหภูมิและความชื้นได้ดี ระหว่างการเลี้ยงอาจมีการเสริมอาหาร ด้วยผักหรือผลไม้หั่นเป็นชิ้นบางๆ เช่น ฟักทอง มันแกว ฝรั่ง แตงกวา มะละกอดิบ กล้วยน้ำว้าดิบ ผักกาดขาว หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำวางบนอาหารที่เตรียมไว้ เพื่อให้หนอนได้กินแทนการให้น้ำโดยตรง ควรระวังผักหรือผลไม้เน่าเสีย ซึ่งจะทำให้เกิดหนอนแมลงวันและแมลงหวี่ได้ง่ายและจะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่อหนอนนก
- นำหนอนนกมาใส่ในถาดอาหารที่เตรียมไว้ โดยใส่หนอนนก 100 กรัม/ถาด หนอนนกกินอาหารและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและถ่ายมูลออกมามาก เมื่อสังเกตเห็นว่าอาหารเกือบหมดหรือมีมูลมากให้ทำการเปลี่ยนอาหารโดยใช้ตะแกรงร่อนเอาตัวหนอนนกออกมา และเปลี่ยนอาหารใหม่ทุก 1-2 สัปดาห์ ถ้าพบตัวหนอนที่ตายแล้วควรแยกตัวที่ตายออก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อไปสู่หนอนตัวอื่น
- เมื่อหนอนนกเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็จะลอกคราบเป็นดักแด้ซึ่งช่วงนี้จะไม่มีการกินอาหารให้แยกดักแด้ออกมาไว้ในถาดใหม่ ดักแด้ลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยใช้ระยะเวลาประมาณ 5-7 วัน
- แยกตัวเต็มวัยซึ่งเป็นแมลงปีกแข็งออกมาใส่ถาดใหม่ที่เตรียมอาหารไว้ แมลงในระยะแรกมีสีขาว หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลายเป็นสีดำเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ ใส่แมลงปีกแข็งเฉลี่ย 60-300 ตัว/ถาด แมลงจะเริ่มผสมพันธุ์ หลังจากออกจากดักแด้ประมาณ 7 วัน โดยจะมีการวางไข่ประมาณวันละ 1-2 ฟอง อายุการวางไข่ประมาณ 40-50 วัน
- ในถาดเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ให้ใส่ผ้าขาวบางที่ตัดเป็นชิ้นๆ ขนาด 5X5 เชนติเมตร บนอาหารที่เลี้ยงเพื่อให้แม่พันธุ์แมลงวางไข่และจะทำการเปลี่ยนผ้าทุกๆ 3-5 วัน หรือใช้กระดาษพับไปพับมาเป็นสันคล้ายพัด วางลงบนอาหารให้แมลงวางไข่ในร่องกระดาษได้
- ย้ายผ้าขาวบางหรือกระดาษที่มีไข่ออกมาไว้ในถาดอาหารใหม่ เพื่อให้ไข่ฟักเป็นตัวหนอนซึ่งใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน จากนั้นหนอนจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมีการลอกคราบ 10-14 ครั้ง หรือมีอายุ 1-2 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกขนาดที่เหมาะสมใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อนจนถึงโตเต็มวัยได้ ส่วนหนอนที่มีอายุเกิน 60 วัน เปลือกของหนอนจะเริ่มแข็งจึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นอาหาร
ศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ มอดแป้ง (Tribolium costaneum) มด แมลงสาบ ที่อาจติดมากับอาหาร ดังนั้นควรอบอาหารที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรืออาจนำอาหารมาคั่วแทนการอบได้แล้วทิ้งไว้จนอุณหภูมิปกติก่อนนำมาเป็นอาหารหนอนนก ศัตรูอื่นๆ ได้แก่ จิ้งจก นก และหนู
ต้นทุนการเลี้ยงหนอนนก
การผลิตหนอนนก 1 กิโลกรัม นั้นใช้ต้นทุนประมาณ 70 บาท ใช้เวลาการผลิต 8-9 สัปดาห์ ซึ่งปัจจุบันหนอนนกราคากิโลกรัมละ 150-200 บาท (ขึ้นอยู่กับตลาด) และสถานที่ในการส่ง หรือผู้เลี้ยงอาจจะทำการตลาดออนไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ ก็ได้เพื่อเพิ่มยอดขาย เช่น Facebook , ลาซาด้า เป็นต้น
ที่มา : กองวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์น้ำ กรมประมง โทร. 0 2579 9525, 0 2940 6130-45 ต่อ 4517
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ