เทคโนโลยีด้านการเกษตร » เลี้ยงแพะสำหรับมือใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด มีอะไรบ้างที่ต้องศึกษา

เลี้ยงแพะสำหรับมือใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด มีอะไรบ้างที่ต้องศึกษา

13 พฤศจิกายน 2024
93   0

เลี้ยงแพะสำหรับมือใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด มีอะไรบ้างที่ต้องศึกษา

เลี้ยงแพะสำหรับมือใหม่

เลี้ยงแพะสำหรับมือใหม่

การเลี้ยงสัตว์กำลังได้รับการสนใจเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากการปลูกพืชแล้ว การเลี้ยงสัตว์ยังเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งเป็นรายได้หลักและรายได้เสริม เเพะเป็นสัตว์ที่น่าเลี้ยง ทั้งนี้เพราะแพะนอกจากจะเลี้ยงง่ายขยายพันธุ์ได้เร็วแล้ว ยังมีข้อดีต่าง ๆ อีกมาก เช่น

  • แพะ เป็นสัตว์ที่ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนม มีขนาดเล็ก ทำให้ผู้หญิงหรือเด็กก็สามารถให้การดูแลได้
  • แพะ เป็นสัตว์ที่หาอาหารกินเองได้เก่ง กินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้นถึงเม้ฤดูแล้ง เพะก็สามารถหาวัชพืช ที่โค-กระบือไม่กินกินเป็นอาหารได้
  • แพะ มีการเจริญดิบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวได้เร็ว สามารถใช้แพะผสมพันธุ์ได้ตั้งแค่อายุเพียง 8 เดือน
  • แพะ มีความสมบูรณ์พันธุ์สูง แม่แพะมักคลอดลูกแฝด และใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงถูกสั้น จึงทำให้สามารถตั้งท้องได้ใหม่
  • แพะ เป็นสัตว์ที่ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเพียงเล็กน้อย ทั้งพื้นที่โรงเรือนและพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับแพะ

สายพันธุ์แพะ

สำหรับพันธุ์ของแพะที่นิยมนำมาเลี้ยงมีหลายประเภท แต่สายพันธุ์ที่กรมปศุสัตว์วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถเลี้ยงได้ในประเทศไทย มี 7 พันธุ์ดังนี้

  1. แพะพันธุ์พื้นเมือง แพะพันธุ์พื้นเมืองในภาคใต้ มีสีหลากหลาย ส่วนใหญ่พบว่ามีสีดำ น้ำตาล หรือน้ำตาลสลับดำ แพะโตเต็มที่เพศเมียนมีความสูงตรงปุ่มหน้าขาประมาณ 48.5 ซม. มีน้ำหนักตัวประมาณ 12.8 – 16.4 กก. แพะพันธุ์พื้นเมืองไทยมีลักษณะคล้ายกับแพะพันธุ์กัตจัง (Kambing Katjang) พันธุ์พื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย
  2. แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Anglonubian) เป็นแพะที่ให้ทั้งเนื้อและนม มีหลายสี ทั้งสีเดียวในตัวและสีด่างปัน สันจมูกเป็นเส้นโค้ง ใบหูยาวปรกลง นำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ในไทยกว่า 20 ปี
  3. แพะพันธุ์บอร์ (Boer) เป็นแพะพันธุ์เนื้อขนาดใหญ่ จากประเทศแอฟริกาใต้ มีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก นำเข้ามาเมื่อปลายปี 2539
  4. แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen) เป็นแพะพันธุ์นม สีขาวทั้งตัว หูใบเล็กตั้ง หน้าตรง
  5. แพะพันธุ์หลาวซาน (Laoshan) เป็นแพะพันธุ์นม จากประเทศจีน มีลักษณะคล้ายพันธุ์ซาเนน
  6. แพะพันธุ์อัลไพน์ (Alpine) เป็นแพะพันธุ์นม สีน้ำตาลหรือดำ ใบหูเล็กตั้ง หน้าตรง มีแถบสีข้างแก้ม
  7. แพะพันธุ์ทอกเก็นเบิร์ก (Toggenburg) เป็นแพะพันธุ์นม ลำตัวสีช็อกโกแบต ใบหูตั้ง หน้าตรง มีแถบสีขาวข้างแก้ม

รูปแบบการเลี้ยงแพะ

ลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะโดยทั่วไปสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ด้วยกันคือ

  • การเลี้ยงแบบผูกล่าม   การเลี้ยงแบบนี้ใช้ช็อกผูกล่มที่คอแพะแล้วนำไปผูกให้แพะหาหญ้ากิน รอบบริเวณที่ผูก โดยปกติเชื่อกที่ใช้ผูกกล่าม แพะมักมีความยาวประมาณ 5-10 เมตร การเลี้ยงแบบนี้ผู้เลี้ยงจะต้องมีน้ำและอหารแร่ธาตุไว้ให้แพะกินเป็นประจำด้วย ในเวลากลางคืนก็ต้องนำแพะกลับไปเลี้ยงไว้ในดอกหรือเพิงที่มีที่หลบฝน การผูกล่ามแพะควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาที่แพะสามารถหลบแดดหรือฝนไว้บ้าง หากจะให้ดีเมื่อเกิดฝนตกกวรได้นำแพะกลับเข้าเลี้ยงในดอกโรงเรือนเลี้ยงแพะ
  • การเลี้ยงแบบปล่อย  เกษตรกรมักปล่อยแพะให้ออกหาอาหารกินในเวลากลางวัน โดยเจ้าของจะคอยดูแลตลอดเวลาหรือเป็นบางเวลาท่านั้นลักษณะการเลี้ยงเเบบนี้เป็นที่นิยมลี้ยงกันมากในบ้านเรา เพราะเป็นการเลี้ยงที่ประหยัด เกษตรกรไม่ต้องตัดหญ้ามาลี้ยงแพะ แต่จะต้องระมัดระวังอย่าให้แพะเที่ยวทำความเสียหายให้แก่พืชที่เกษตรกรเพาะปลูก เพราะแพะกินพืชได้หลายชนิด
  • การเลี้ยงแบบขังคอก  การเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรขังแพะไว้ในคอก รอบ ๆ คอกอาจมีแปลงหญ้าและมีรั้วรอบแปลงหญ้าเพื่อให้แพะได้ออกกินหญ้าในแปลง บางครั้งเกษตรกรต้องตัดหญ้าเนเปียส์หรือกินนีให้แพะกินบ้าง ในคอกต้องมีน้ำและอาหารข้นให้กิน การเลี้ยงวิธีนี้ประหยัดพื้นที่และแรงานในการดูแลเพะ แต่ต้องลงทุนสูง เกษตรกรจึงไม่นิยมทำการเลี้ยงกัน
  • การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช  การเลี้ยงเเบบนี้ทำการเลี้ยงได้ 3 ลักษณะที่กล่าวข้างต้น แต่การเลี้ยงลักษณะนี้เกษตรกรจะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมัน และปลูกมะพร้าว ในภาคใต้ของประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากที่ทำการเลี้ยงแพะควบคู่ไปกับการทำสวนยาง โดยให้แพะทากินหญ้าใด้ต้นยางที่มีขนาดโตพอสมควร การเลี้ยงแบบนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการพาะปลูกเพียงอย่างเดียว

เลี้ยงแพะสำหรับมือใหม่

โรงเรือนและอุปกรณ์

เเพะ ก็เหมือนสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ คือจะต้องมีสถานที่สำหรับแพะได้พักอาศัย หลบแดด หลบฝน หรือเป็นที่สำหรับนอนในเวลากลางคืน การสร้างโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงแพะควรได้ยึดหลักดังต่อไปนี้

  • พื้นที่ตั้งของดอก คอกแพะควรอยู่ในที่เนินน้ำไม่ท่วมชัง แต่ถ้าหากพื้นที่ที่ทำการเลี้ยงแพะมีน้ำท่วมขังเวลาฝนตก ก็ควรสร้างโรงเรือนแพะให้สูงจากพื้นดินตามความเหมาะสม แต่ทางเดินสำหรับแพะขึ้นลงไม่ควรมีความลาดสูงกว่า 46 องศา เพราะหากสูงมากแพะจะไม่ค่อยกล้าขึ้นลงพื้นดอกที่ยกระดับจากพื้นดินควรทำเป็นร่อง โดยใช้ไม้ขนาดหนา 1 นิ้วกว้าง 2 นิ้ว ปูพื้นให้เว้นร่องระหว่างไม้แต่ละอันห่างกันประมาณ 5 เชนติเมตร หรืออางจะใช้พื้นตอนกรีต โดยปูพื้นดอกเพะด้วยสแลตที่ปูพื้นกอกสุกรก็ได้พื้นที่เป็นร่องนี้จะทำให้มูลของแพะตกลงข้างล่าง พื้นคอกจะแท้งและสะอาดอยู่เสมอ
  • ผนังคอก ผนังคอกแพะควรสร้างให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี ผนังคอกควรมีความสูงไม่ต่ำกว่า 5 เมตร ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้แพะกระโดดหรือปืนข้ามออกไปได้
  • หลังคาโรงเรือน  แบบของหลังคาโรงเรือนเลี้ยงแพะมีหลายเเบบ เช่น เพิงหมาแหงน หรือ แบบหน้าจั่ว เกษตรกรที่จะสร้างควรเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และทุนทรัพย์ หลังคาโดยปกติมักจะสร้างให้สูงจากพื้นดอกประมาณ 2 เมตร ไม่ควรสร้างโรงเรือนให้หลังคาต่ำเกินไปเพราะอาจทำให้ร้อนและอากาศถ่ายทไม่ดี สำหรับวัสดุที่ใช้มุงหลังคาจะใช้จากหรือแฝก หรือสังกะสีก็ได้
  • ความต้องการพื้นที่ของแพะ แพะมีความต้องการพื้นที่ในการอยู่อาศัยในโรงเรือนประมาณตัวละ 1 ตารางเมตร ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงมักแบ่งภายในโรงเรือนออกเป็นออก ๆ แต่ละคอกขังแพะรวมฝูงกันประมาณ 10 ตัว โดยคัดขนาดของแพะให้ใกล้เคียงกันขังรวมฝูงกัน แต่ถ้าหากเห็นว่าสิ้นเปลืองคำาก่อสร้างก็อาจขังแพะรวมกันเป็นฝูงใหญ่ในโรงเรือนเดียวกันโดยไม่แบ่งเป็นคอก ๆ ก็ได้

อาหารแพะ

อาหารแพะ เป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงแพะให้มีสุขภาพดีและเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ แพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่สามารถกินอาหารได้หลากหลายชนิด แต่การเลือกอาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้แพะได้รับสารอาหารครบถ้วนและมีผลผลิตที่ดี อาหารที่แพะกินได้

  • หญ้า  เป็นอาหารหลักของแพะ สามารถปลูกหญ้าสดให้แพะกิน หรือตัดหญ้ามาให้ก็ได้ หญ้าที่นิยมปลูกเลี้ยงแพะ เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าแพงโกล่า หญ้าคา
  • พืชตระกูลถั่ว  เช่น ใบกระถิน ใบปอสา ใบมะขามเทศ พืชตระกูลถั่วมีโปรตีนสูง ช่วยในการเจริญเติบโตของแพะ
  • พืชผัก  เช่น ใบผักบุ้ง ใบมันเทศ ใบอ่อนของต้นไม้ต่างๆ แพะชอบกินพืชผัก ช่วยเพิ่มความหลากหลายของอาหาร
  • อาหารข้น อาหารข้นสำหรับแพะมีจำหน่ายตามท้องตลาด มีส่วนผสมของธัญพืช ถั่ว และวิตามินต่างๆ ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง
  • ผลไม้  แพะชอบกินผลไม้ เช่น กล้วย มะละกอ แตงโม ช่วยเพิ่มความหวานและวิตามินให้กับร่างกาย

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกอาหาร

  • อายุและขนาดของแพะ  แพะแต่ละวัยต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน ลูกแพะต้องการโปรตีนสูงเพื่อการเจริญเติบโต ส่วนแพะโตต้องการอาหารที่มีเส้นใยสูงเพื่อการย่อย
  • พันธุ์แพะ  แพะแต่ละพันธุ์มีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ทำให้ความต้องการอาหารก็แตกต่างกัน สภาพอากาศ ในช่วงฤดูร้อน แพะต้องการน้ำมากขึ้น และอาจต้องการอาหารที่ช่วยลดความร้อน
  • ราคา  อาหารแพะมีราคาแตกต่างกันไป ควรเลือกอาหารที่เหมาะสมกับงบประมาณ

การดูแลสุขภาพของแพะ

ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงแพะก็คือ แพะมักมีสุขภาพไม่ดีเจ็บป่วยและตาย ทำให้ผู้เลี้ยงเสียหาย ทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหานี้ก็คือผู้เลี้ยงต้องหมั่นเอาใจใส่และดูแลในเรื่องสุขภาพของแพะดังต่อไปนี้

  • กำจัดพยาธิภายนอก พยาธิภายนอกที่สำคัญของแพะได้แก่พวกเห็บ เหา หมัด และไร ซึ่งนอกจากจะทำความรำคาญให้แก่แพะแล้วอาจทำให้ขนแพะหลุดเป็นหย่อม 1 หรือเป็นโรคเรื้อนตามมา หากแพะถูกรบกวนด้วยพยาธิภายนอกดังกถ่าวก็จะทำให้สุขภาพไม่ดี ไห้ผลผลิตต่ำ การกำจัดพยาธิภายนอกนี้ทำได้โดยการหมั่นอาบน้ำและฉีดพ่นบริเวณลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก
  • กำจัดพยาธิภายใน พยาธิภายในที่สำคัญของแพะได้แก่พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตึด และพยาธิไบไม้ในตับ ซึ่งพยาธิเหล่านี้จะทำให้แพะซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน การให้น้ำนมลดลงถ้าเป็นรุนแรงทำให้แพะมีอาการโลหิตจาง และตาย การกำจัดพยาธิภายในทำได้โดยการถ่ายพยาธิเมื่อแพะมีอายุได้ 3 เดือน และทำสม่ำเสมอประมาณ 2 เดือนต่อครั้ง ปัจจุบันมียาถ่ายพยาธิที่สามารถถ่ายพยาธิทั้ง 3 ชนิดในครั้งเดียวได้ จึงทำให้การถ่ายพยาธิสะดวกขึ้นมาก
  • การป้องกันโรคระบาดในแพะ โรคระบาดที่สำคัญในแพะและกรมปศุสัตว์สามารถผลิตวักซึนเพื่อป้องกันโรคได้ มีอยู่ 2 โรคด้วยกันคือ
    • โรคปากและเท้าเปื่อยในแพะ โรคนี้เป็นกับสัตว์ถีบคู่ทุกชนิด เมื่อเป็นแล้วทำให้เกิดความเสียหาย และระบาดแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ผู้เลี้ยงแพะควรทำการฉีดวัคชีนนี้ให้แก่เพะที่เลี้ยงอยู่เสมอโดยครั้งแรกทำการดเมื่อแพะอายุได้ 3 เดือน และฉีดครั้งต่อไปเว้นระยะทุก 4-6 เดือน
    • โรคเฮโมราชิกเขพติกซีเมีย แพะมักป่วยเป็นโรคนี้ในฤดูฝนโรคนี้อาจทำให้แพะตายและสามารถเพร่โรคไปสู่แพะตัวอื่นได้ การป้องกันโรคนี้สามารถทำได้โดยการฉีดวัดซึนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่แพะอายุได้ 3 เดือน และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน

หากคุณสนใจจะเริ่มต้นเลี้ยงแพะ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งต่างๆ เช่น กรมปศุสัตว์ สหกรณ์การเกษตร หรือกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ การเลี้ยงแพะเป็นอาชีพที่น่าสนใจและมีความยั่งยืน หากคุณมีใจรักในการเกษตรและมีความอดทน การเลี้ยงแพะก็สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างแน่นอน


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ