เลี้ยงไก่ดำภูพาน สัตว์เศรษฐกิจทำเงิน เลี้ยงง่ายโตไว
เลี้ยงไก่ดำภูพาน
ที่มาของไก่ดำภูพาน
การเลี้ยงไก่ดำภูพานเริ่มขึ้น เมื่อ พ.ศ.2545 จากการที่กรมปศุสัตว์ได้มีการนำไก่ดำจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาเลี้ยงที่จังหวัดสกลนคร โดยริเริ่มเพาะพันธุ์ในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปศุสัตว์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ ไก่ดำได้สร้างความสนใจ ให้แก่เกษตรกรได้ระยะหนึ่งแล้วจึงเงียบหายไป ต่อมาคุณชูชีพ หาญสวัสดิ์ ครั้งเมื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มาเยี่ยมศูนย์ฯ ภูพานจึงมีแนวคิดหาสิ่งใหม่ๆ ให้เกษตรกรเลี้ยง เกษตรกร สามารถเลี้ยงง่าย ตันทุนต่ำพอเพียงในครอบครัวดังนั้น จึงเล็งเห็นการเพาะเลี้ยงไก่ดำ เพราะไก่ดำขายได้ราคาดีกว่าไก่พื้นเมืองธรรมดา
ไก่ดำ นั้นมีความทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี อีกทั้งและอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกายผู้บริโภค โดยพบว่ามีสารสีดำ”เมลานิน” จำนวนมากในไก่ดำภูพาน ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยพบว่าสารเมลานิน เป็นสารต้านอนุมูนอิสระตัวหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการชะลอความชราของเซลล์และออกฤทธิ์ในการต้านเชลล์มะเร็ง จึงทำให้ผู้ที่บริโภคไก่ดำได้รับสารอาหารที่ มากกว่าไก่ทั่วไป และจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เหมาะสำหรับบำรุงร่างกาย หญิงมีครรภ์ เด็ก ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับหลักโภชนาการทางเลือก “โภชนศาสตร์บำบัด” คือการบริโภคเพื่อการป้องกันและรักษาโรค
จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ไก่ดำภูพาน เป็นไก่กระดูกดำที่ได้รับความนิยมของประชาชนและเกษตรกรในการนำไปเลี้ยงเพื่อบริโภคและเพื่อจำหน่าย ไก่ดำเป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ปล่อยให้หากินอิสระได้ หากินเก่ง ฟักไข่และเลี้ยงลูกได้เอง อีกทั้งเนื้อแน่น รสชาติอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงทำให้มีผู้สนใจนำไปเลี้ยงและขยายพันธุ์เป็นจำนวนมาก เป็นแหล่งอาหารโปรตีนภายในครัวเรือนและสามารถจำหน่ายสร้างรายได้พอสมควรให้เกษตรกรผู้เลี้ยงและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาชีพและความมั่นคงทางอาหารอีกด้วย
ลักษณะพันธุ์ไก่ดำภูพาน
ไก่ดำภูพานในปัจจุบันนั้น มีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไก่ดำภูพาน 1 ไก่ดำภูพาน 2 และไก่ดำภูพาน 3 ทั้งนี้ปัจจุบันศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรีเพาะเลี้ยงไก่ดำภูพาน โดยมีลักษณะดังนี้
เพศผู้ ขนสีดำ สร้อยแดง ตาสีดำ หงอนกุหลาบหรือหงอนถั่ว จะงอยปากดำ แข้งดำ เล็บดำ หนังดำเนื้อดำ และกระดูกดำ น้ำหนักตัวเต็มวัยเฉลี่ย 2.5 – 3.0 กิโลกรัม มีความสมบูรณ์พันธุ์ แข็งแรงทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
เพศเมีย ขนสีดำ หงอนกุหลาบหรือหงอนถั่ว จะงอยปากดำ ตาสีดำ แข้งดำ เล็บดำ หนังดำเนื้อดำ และกระดูกดำ น้ำหนักตัวเต็มวัยเฉลี่ย 1.5 -2.0 กิโลกรัม เริ่มออกไข่เมื่ออายุ 21 – 22 สัปดาห์น้ำหนักไข่ฟองแรกเฉลี่ย 30 – 35 กรัม ให้ไข่ 3 – 4 ชุด/ปี ชุดละ 10 – 15 ฟอง/ตัว เปลือกไข่ สีน้ำตาล มีความทนทานต่อโรคระบาด สามารถฟักไข่และเลี้ยงลูกได้เอง
รูปแบบการเลี้ยงไก่ดำภูพาน
- การเลี้ยงแบบปล่อย เป็นวิธีที่นิยมเลี้ยงกันมาก ตามชนบท ซึ่งผู้เลี้ยงจะสร้างเล้าขนาดเล็กไว้ ให้ไก่ได้หลับนอนเฉพาะกลางคืน และปล่อยไก่ออกหากินอย่างอิสระ ในตอนเช้า โดยเกษตรกรอาจให้ข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือเมล็ดธัญพืชต่างๆ ช่วยให้ไก่เจริญเติบโตได้ดีขึ้น การเลี้ยงแบบปล่อยนี้ จะช่วยให้ไก่ได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพที่แข็งแรง
- การเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย เป็นการเลี้ยงที่พัฒนามาจากการเลี้ยงไก่แบบปล่อยมากักขังบ้างในบางช่วง โดยกรสร้างเล้าไก่ให้มีขนาดกว้างขึ้น มีรั้วล้อมกั้นกันไม่ให้ไก่ออกไปหากินไกลๆ จัดหาน้ำและรางอาหารไว้ให้ไก่
- การเลี้ยงแบบขังเล้า โดยเกษตรกรต้องสร้างเล้าไก่ที่สามารถกันแดด กันลมและฝนได้ ควรมีรังไข่วางเป็นจุด ตามมุมหรือฝาเล้า พร้อมจัดหาอาหารและน้ำให้ไก่ได้กินตลอดเวลา การเลี้ยงแบบขังเล้า สามารถป้องกันโรคระบาดได้ดี
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเลี้ยงไก่ดำภูพาน
โรงเรือนไก่ดำภูพาน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับสัตว์ให้เหมาะสมกับสัตว์และการเจริญเติบโตของสัตว์ในแต่ละ ระยะของสัตว์ ได้แก่
- ระบบไฟฟ้า, หลอดไฟแสงสว่าง, โคมไฟกก, หลอดไฟกก
- ถาดอาหาร , รางน้ำ , รางอาหาร
- รังไข่ สำหรับให้แม่ไก่กกไข่
- ระบบการให้น้ำ และถังน้ำสำรอง
- อุปกรณ์สำหรับเก็บกวาดมูลไก่ และทำความสะอาดในพื้นที่โรงเรือน เช่น ไม้กวาด คราด ที่ตัก
- ห้องสำหรับเก็บอุปกรณ์ใช้งานต่างๆ ในโรงเรือนไก่ดำภูพาน
ความต้องการอาหารของไก่ดำภูพาน
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของไก่ อาหารที่มีคุณภาพดีเหมาะสมกับความต้องการของไก่แต่ละช่วงอายุ และขนาด ซึ่งอาหารที่ไก่ต้องการแบ่งได้ 6 ประเภท คือ
- คาร์โบไฮเดรต เพื่อนำไปสร้างพลังงาน ใช้ในการเดินการวิ่ง อาหารประเภทนี้ได้จากรำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก กากมันสำปะหลัง
- โปรตีน เพื่อนำไปสร้างเนื้อเยื่อที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย และใช้ในกระบวนการสร้างไข่ และเนื้อ อาหารประเภทนี้ได้จากแมลงไส้เดือน ปลา ปลาปั่น
- ไขมัน อาหารที่ให้พลังงานสูงกว่า คาโบไฮเดรต นำไปสร้างความร้อนให้ร่างกายอบอุ่น ซึ่งได้จากน้ำมันพืชต่างๆ ไขสัตว์ น้ำมันหมู กากงา
- แร่ธาตุ ไก่ต้องการอาหารแร่ธาตุไปสร้างกระดูก เลือด และเปลือกไข่แร่ธาตุต่างๆ ได้จากเปลือกหอยป้น กระดูกปัน
- วิตามิน สร้างความแข็งแรง และกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท แหล่งของวิตามิน ได้แก่ หญ้าสด ใบพืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด รำข้าว ปลาปั่น ฯลฯ
- น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ในร่างกายไก่มีน้ำ 60 – 80 เปอร์เซ็นต์ ถ้าขาดน้ำไก่จะตายภายใน 24 ชั่วโมง จะต้องมีน้ำที่สะอาดให้ไก่กินตลอดเวลา
การให้อาหาร
หลักการง่ายๆ คือ เกษตรกรจะต้องเอาใจใส่ดูแลในการเลี้ยง สามารถทำได้ดังนี้
- ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน
- ให้อาหารทุกเช้าและเย็น เพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ เช่นปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิดเม็ด หรือการให้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าวหรือปลายข้าวหรือข้าวเปลือกเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายและผสมเองได้ช่วยให้ไก่เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น
- มีเปลือกหอยบ่น และเศษหินตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินเพื่อเสริมแคลเชียมและช่วยบดย่อยอาหาร
- ให้หญ้าสด ใบกระดิน หรือผักสดให้ไก่กินทุกวัน
การผสมพันธุ์
ใช้วิธีผสมแบบธรรมชาติ 1 ต่อ 1 คือ ใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อ แม่พันธุ์ 1 ตัว หรือผสม แบบใช้พ่อหนึ่งตัวผสมกับแม่หลายตัว เช่น ใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อ แม่พันธุ์ 5 – 8 ตัว
การฟักไข่
แม่ไก่ดำภูพานจะเริ่มให้ไข่ เมื่ออายุประมาณ 6 – 8 เดือน ให้ไข่ 3 – 4 ชุด /ปี ชุดละ 10 – 15 ฟอง/ตัว แม่ไก่เมื่อไข่หมดชุดแล้วก็จะเริ่มฟักไข่ ก่อนจะให้แม่ไก่ฟักไข่ ควรฆ่าไรและเหาบนตัวไก่เสียก่อน โดยจับแม่ไก่ จุ่มน้ำยาฆ่าไร เหา ทั้งนี้เพื่อป้องกัน ไร และเหารบกวนแม่ไก่ในขณะกกไข่
การฟักไข่นั้น ในเวลากลางคืนแม่ไก่ จะนอนกกไข่ตลอดคืน และออกหากิน ในเวลาเช้า ตอนกลางวันแม่ไก่จะขึ้นกกไข่ แล้วลงจากรังไข่ออกหากินสลับกันไป แล้วจะกลับมากกไข่อีก เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ ไปได้ประมาณ 5 – 7 วัน ควรเอาไข่ มาส่องดูเชื้อใช้กระดาษแข็งมาม้วน เป็นรูปกระบอก เอาไข่ไก่มาชิดที่ปลาย ท่อด้านหนึ่งแล้วยกขึ้นส่องดูกับแสงแดด ไข่ที่มีเชื้อจะเห็นจุดดำอยู่ข้างในและมี เส้นเลือดสีแดงกระจายออกไป ส่วนไข่ที่ไม่มีเชื้อจะใส่ไม่เห็นเส้นเลือดต้องคัดออก และเอาไปกินได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้แม่ไก่ฟักไข่ที่มีเชื้อที่เหลือได้ดีขึ้นและได้ ลูกไก่มากขึ้น แม่ไก่จะใช้เวลากไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 21 วัน เมื่อลูกไก่ฟักออกหมดแล้ว ควรเอาฟางที่รองรังข่รวมทั้งเปลือกไข่เผาทิ้งเสีย และทำความสะอาดรังไข่สม่ำเสมอ
การจัดการไก่ดำภูพาน
การเลี้ยงดูไก่เล็ก
เป็นการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้าน เลี้ยงโดยให้แมใก่ทำหน้าที่ในการกกและเลี้ยง ลูกเอง จนลูกไก่อายุ 6 – 8 สัปดาห์จึงปล่อยให้ลูกไก่ออกหากินเองแยกจากแม่ใก่ ในช่วงสัปดาห์แรกลูกไก่ยังไม่แข็งแรง ควรใช้สุ่มครอบหรือขังกรงแม่ไก่กับลูกไก่ไว้ โดยให้อาหารและน้ำ
การอนุบาลไก่เล็ก ในกรณีใช้ตู้ฟักไข่ หรือการแยกลูกไก่ออกจากแม่ใก่ เพื่อให้ แม่ไก่ได้ไข่เร็วขึ้น หรือซื้อลูกไก่มาเลี้ยง ลูกไก่ต้องการความอบอุ่น จำเป็นต้องมีการกกลูกไก่ โดยใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 100 วัตต์ แขวนสูงจากพื้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และต้องระวังไมให้ลมโกรก ลูกไก่จะต้อง มีอาหารและน้ำให้กินตลอดเวลา พื้นคอก รองพื้นด้วยแกลบหนา เซนติเมตร และเปลี่ยนแกลบทุก 1 เดือน
การเลี้ยงไก่รุ่น
ไก่ช่วงอายุ 8-10 สัปดาห์ การเลี้ยงไก่ในช่วงนี้ไม่ต้องดูแลมาก เพราะถ้าเลี้ยงแบบปล่อยไก่สามารถหาอาหารกินเองได้ เกษตรกรเพียงแต่ให้อาหารในตอนเช้าหรือเย็นเท่านั้น หรือถ้าการเลี้ยงเพื่อต้องการจำหน่ายเป็นไก่เนื้อจำเป็นที่จะต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหาร เกษตรกรควรทราบความต้องการโภชนาและปริมาณอาหารในแต่ละวันของไก่ เพื่อการเจริญเติบโตที่เร็ว ไก่ควรมีน้ำที่สะอาดกินตลอดเวลา ไก่ที่อายุ 4-5 เดือน เป็นช่วงที่สามารถจับจำหน่ายเป็นไก่เนื้อได้ น้ำหนักประมาณ 0.8 – 1.2 กิโลกรัม ซึ่งไก่มีขนาดและน้ำหนักตรงกับความต้องการของตลาด
การดูแลด้านสุขภาพ
โปรแกรมวัคซีน
- วัคชีนนิวคาสเชิล ไก่อายุ 1 และ 30 วัน โดยการหยอดจมูก (ทำซ้ำทุกๆ 3 เดือน)
- วัคชีนฝีดาษไก่ ไก่อายุ 14 วัน โดยการแทงปีก (ปีละ 1 ครั้ง)
- วัคซีนอหิวาต์ไก่ ไก่อายุ 1 เดือน โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ทำซ้ำทุกๆ 3 เดือน)
- วัคซีนหลอดลมอักเสบ ไก่อายุ 7 วันโดยการหยอดจมูก (ทำซ้ำทุกๆ 3เดือน)
การสุขาภิบาล
อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในโรงเรือนและ
- ดูแลความสะอาดภาชนะบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำสะอาดและยาฆ่าเชื้อโรคทุกวัน
- ลักษณะโรงเรือนต้องระบายอากาศได้ดี ป้องกันลมโกรก หรือฝนสาด ด้านหน้าประตูเข้าโรงเรือนต้องมีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับจุ่มเท้าก่อนเข้าโรงเรือน
- ไก่จะต้องได้รับอาหารและน้ำที่สะอาด ต้องประมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันให้พอดีกับความต้องการของไก่ไม่ควรเหลือสะสมไว้ น้ำควรเปลี่ยนเช้า – เย็นทุกวัน
- กรณีไก่ป่วยควรแยกไก่ป่วยออกจากฝูง เพื่อป้องกันการระบาดไปยังไก่ตัวอื่นในฝูง 1 ถ้าไก่ป่วยตายควรเผาหรือฝังซากทันที
- ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงหรือมีการเคลื่อนย้าย ไก่อาจป่วยได้ ควรละลายไวตามินให้ไก่กินทั้งฝูง เพื่อให้ไก่แข็งแรงและมีสุขภาพดี
- ทำการถ่ายพยาธิไก่ทุก 2 เดือน อย่างสม่ำเสมอ
- ควรมีตู้ยาประจำในฟาร์ม เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาบำรุง และไวตามิน
- ก่อนนำไก่จากภายนอกเข้ามาเลี้ยง ควรกักดูอาการก่อน อย่างน้อย 15 วัน ก่อนนำเข้ารวมฝูง
โรคที่สำคัญในสัตว์ปัก
โรคขี้ขาว
สาเหตุ เชื้อแบคทีเรียพวกซัลโมเนลลา
การติดต่อ ตู้ฟักไข่ ตู้ฟัก เครื่องมือเครื่องใช้
อาการ ไก่เล็ก รุนแร้งเมื่อลูกไก่อายุได้ 3 – 4 วัน ท้องเสีย มีอุจจาระขาวติดกันหงอย ซึม ขนยุ่ง หายใจหอบ จะตายเมื่ออายุ 7 – 12 วัน ตัวที่รอดจะแคระแกรนไก่ใหญ่ มีอาการอักเสบของรังไข่ และท่อนำไข่
การป้องกัน ใช้ยาฟูราโซลิโน หรือยาประเภทซัลฟาบางชนิด
โรคอหิวาต์
สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย คือ ปาสเจอเรลล่า
การติดต่อ การสัมผัส ทางน้ำ ทางอาหาร
อาการ มีชนิดรุนแรงและชนิดเรื้อรัง เป็ด ไก่จะตายอย่างรวดเร็ว เบื่ออาหารท้องเสีย มีอุจจาระสีเขียว ปนเหลืองติดกัน หงอย ซึม ขนยุ่ง หายใจหอบ หงอนและเหนียงมีสีคล้ำ จะตายใน 2 – 3 วัน
การป้องกัน ยาซัลฟาควิน๊อกซาลิน หรือยาปฏิชีวนะ และการสุขาภิบาลสัตว์
โรคหวัดติดต่อ
สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย
การติดต่อ การสัมผัส อากาศ
อาการ ไก่มีน้ำมูกน้ำตา หน้าบวม มีแผ่นฝ้าสีเหลืองคล้ายเนยเกิดขึ้นในปากและจมูก เป็นมากตาจะแดง ใต้ตาบวม ยืนหลับตา ขนพอง อาจเกิดปอดบวมทำให้ตายได้
การป้องกัน ใช้ยาปฏิชีวนะสเตรปโตไมชิน หรือยาซัลฟา เช่น ซัลฟาโมโนเมทท๊อกชิน และการสุขาภิบาลสัตว์
โรคนิวคลาสเซิล
สาเหตุ เชื้อไวรัส
การติดต่อ การสัมผัส ทางน้ำ ทางอาหาร เครื่องมือเครื่องใช้
อาการ มีความรุนแรงของเชื้อแตกต่างกันดังนี้ ชนิดรุนแรงมาก ชนิดรุนแรงปานกลาง ชนิดรุนแรงน้อย ชนิดรุนแรงมากจะทำให้ไก่ตายเร็ว การรับเชื้อเป็นเวลา 3 – 6 วัน จะทำให้เกิดอาการทางระบบหายใจ ระบบประสาทร่วมกัน อาการทางระบบหายใจไก่จะหายใจลำบาก อ้าปากหายใจ อาการทางระบบประสาทไก่คอบิดเดินหมุนเป็นวง หรือเดินถ้อยหลัง พร้อมกับมีอาการท้องร่วง อุจจาระเป็นสีเขียวไก่จะตายภายใน 2 – 3 วัน
การป้องกัน ไม่มียารักษาแต่มีการทำวัคนป้องกันโรค เน้นการสุขาภิบาล
โรคหลอดลมอักเสบ
สาเหตุ เชื้อไวรัส
การติดต่อ ทางอากาศ
อาการ มีอาการคล้ายหวัดในลูกไก่อายุต่ำกว่า สัปดาห์ ลูกไก่จะแสดงอาการหลังรับเชื้อภายใน 15 – 16 ชั่งโมง อาการหายใจลำบาก มีเสียงครืดคราด ลูกไก่จะตายเพราะมีเมือกใสอุดในหลอดลม โรคนี้มีอัตราการตายน้อย แต่มีผลกระทบต่อรังไข่ ไข่ผิดปกติ แม่ไก่ไข่ทำให้ไก่ไข่ลด
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 2555. 19 ผลสำเร็จที่โดดเด่น ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ : คู่มือที่ 3 การเลี้ยงไก่ดำภูพาน. กรุงเทพฯ : บริษัท มูฟเม้นท์ เจน ทรี จำกัด. กลุ่มวิจัยและพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์.มปป.ไก่ดำภูพาน 1 http://www.rdpb.go.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ