การเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง
ไส้เดือน เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง พบได้ทั่วไปตามที่ชื้นแฉะ ใต้ซากพืช มูลสัตว์ต่าง ๆ นอกจากจะช่วยย่อยสลายซากพืชซากสัตว์แล้ว การขุดและมุดตัวของไส้เดือนยังเป็นการพรวนดินตาม ธรรมชาติ ทำให้ดินร่วนซุย เพิ่มคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีให้แก่ดิน จึงทำให้ดินเหมาะแก่การเพาะปลูก อากาศ ถ่ายเท และยังได้รับธาตุอาหารจากมูลของไส้เดือนอีกด้วย
ปัจจุบันจึงมีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนกันอย่างกว้างขวาง เพื่อย่อยสลายอินทรียวัตถุ ลดขยะ อินทรีย์เพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช ดังนั้นก่อนจะเริ่มเลี้ยงไส้เดือนจึงจำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับสายพันธุ์ อุปนิสัย การอยู่อาศัย ศัตรูของไส้เดือน เพื่อให้การเลี้ยงไส้เดือนประสบความสำเร็จ
ทำไมต้องเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง
- สะดวกเพราะ ไม่หนักเกินไป เล็กกะทัดรัดย้ายไปไหนต่อไหนได้ ไม่ต้องฟิกพื้นที่ว่าเราต้องเลี้ยงน่ะจุดนี้จุดเดียว
- จัดการสิ่งที่ไม่พึ่งประสงค์ ศรัตรู เชื้อรา ปรสิตหรือ สิ่งที่ไม่ต้องการได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างคราวๆ เช่นสมมุติครั้งหนึ่งมีพวกมด พวกแมลงเข้าไปกวนไส้เดือน เราก็จัดการเป็นกะละมังๆไป ส่วนวิธีแก้ไขกำจัดก็ตามที่ใครถนัดเลย
- เก็บเกี่ยวง่าย แค่ ยกกะละมัง เอียง แล้วปาด เท่านี้เราก็ได้มูลไส้เดือนที่มีคุณภาพ
- ตอบสนองกับผู้ที่มีพื้นที่น้อย ๆ ควบคุมเรื่องพื้นสำหรับการผลิตในปริมาณที่มากๆ ยกตัวอย่าง เช่น ในพื้นที่ 1 คอกในการเลี้ยงแบบนี้ มีพื้นที่ 1.2 m × 3.2 m สูง 1.6 m หรือมีความสูง 5 ชั้นกะละมัง พื้นที่ คร่าวๆ ประมาณ 4 ตารางเมตร จะได้ 60 กะละมัง ใน 1 กะละมัง จะได้มูลไส้เดือน 5-7 กิโลกรัม ซึ่งจะผลิตปุ๋ยได้ต่อเดือน ต่อคอก ประมาณ 7 × 60 = 420 กิโลกรัมต่อเดือน แค่ 10 คอก ก็สามารถผลิตปุ๋ยได้ประมาณ 4 ตันต่อเดือน คิดง่ายๆ
- ตอบสนองระยะยาว เพราะ กะละมัง 1 ใบ พร้อมมูลไส้เดือนกับแบดดิ้งใหม่ ๆ มีน้ำหนักไม่มาก ถ้าทำบ่อย ๆ ทุกวัน ๆ ก็ใช้ร่างกายไม่เยอะมาก และที่สำคัญเวลาเก็บเกี่ยวมูล ผมก็ไม่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ นานๆ อาจจะช่วยป้องกันสุขภาพของสันหลังได้มากกว่าวิธีอื่น
- ควบคุมความชื้น ความร้อนหรือ อุณหภูมิ ได้ดี เพราะแบดดิ้งไม่โดนกดทับมากไป และ ควบคุมคุณภาพของปุ๋ยได้เป็นจุดๆไป น้ำถึงมั้ย แห้งไปมั้ย ง่ายต่อการควบคุมคุณภาพ
สายพันธุ์ของไส้เดือน
ในประเทศไทย นิยมเลี้ยงไส้เดือนอยู่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่
- พันธุ์ Tiger Worm ลำตัวมีสีแดงสลับสีเหลืองเป็น ลายเสือ ลำตัวกลม มีขนาดเล็ก เป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทาน ต่อสภาพอากาศ ทนอากาศหนาวได้ถึง 0 °C และทนความร้อน ได้ถึง 40 °C
- พันธุ์ Blue worm เป็นไส้เดือนสายพันธุ์เอเชีย ตัวผอมยาว ลำตัวสีม่วงเข้มประกายสีน้ำเงิน เป็นไส้เดือนที่ เลี้ยงง่าย สามารถกำจัดขยะอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยหมัก และนิยม นำไปให้อาหารสัตว์น้ำ โดยเมือกจะมีกลิ่นหอมเหมือนดอกโมก
- พันธุ์ African Night Crawler (AF) มีสีน้ำตาล แดงปนเทา ตัวใหญ่ เคลื่อนไหวรวดเร็ว ชอบอุณหภูมิที่ ค่อนข้างร้อน สามารถผลิตมูลไส้เดือนได้เร็ว เป็นสายพันธุ์ที่ ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นที่ต้องการของตลาดจำหน่าย พันธุ์ไส้เดือน จึงทำให้มีราคาถูก ขายพันธุ์ได้ง่าย
วิธี การเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง
ปัจจุบันนิยมเลี้ยงไส้เดือนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงในกะละมัง เลี้ยงในวงบ่อ ซีเมนต์ เลี้ยงบนพื้นปูนหรือใต้ต้นไม้ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
- การเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง ทำให้ดูแลและคัด แยกตัวไส้เดือนกับมูลไส้เดือนได้ง่าย สามารถเลี้ยงในรูปแบบ คอนโดหรือวางซ้อนกันเป็นชั้น เพื่อประหยัดพื้นที่ แต่มีต้นทุน สูงกว่าวิธีอื่น เช่น ค่ากะละมัง ชั้นวางไส้เดือน เป็นต้น
- การเลี้ยงไส้เดือนในวงบ่อซีเมนต์วงบ่อซีเมนต์ ค่อนข้างเย็น ซึ่งเป็นสภาพที่ไส้เดือนพันธุ์Tiger Worm และพันธุ์ Blue worm ชอบ แต่ใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก คัดแยกตัวและมูล ไส้เดือนได้ยาก
- การเลี้ยงไส้เดือนบนพื้นปูนหรือใต้ต้นไม้ ทำให้ได้ ไส้เดือนตัวใหญ่ ประหยัดต้นทุนในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ แต่เสี่ยงต่อ การถูกศัตรูของไส้เดือนเข้าทำลาย เช่น มด คางคง อึ่งอ่าง และยัง คัดแยกตัวและมูลไส้เดือนได้ยาก
อาหารของไส้เดือน
อาหารของไส้เดือนคือเศษพืชผัก มูลสัตว์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมูลวัว มูลควาย มูลหมู มูลไก่ มูลม้า เศษขยะอินทรีย์จากชุมชน เศษเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยเศษพืช มูลสัตว์ หรือขยะอินทรีย์เหล่านี้จะต้องไม่มีสารเคมีหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อไส้เดือน
สิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารของไส้เดือนไม่ควรปนเปื้อนน้ำมัน จารบี เนื้อสัตว์ เนื้อปลา เปลือกไข่ หญ้าหรือเมล็ดพืชที่ทำลายยาก วัชพืช มูลหมาหรือแมว เพราะจะเป็นตัวสะสมเชื้อโรค นำแมลงและ ศัตรูพืชต่าง ๆ มายังภาชนะเลี้ยงไส้เดือน รวมไปถึงสิ่งที่ทำให้ค่า pH เปลี่ยนแปลงไป เช่น ขี้เถ้า ปูนขาว หรืออาหารที่มีความเปรี้ยวสูง เพราะทำให้ไส้เดือนระคายเคือง เนื่องจากผิวหนังของไส้เดือนค่อนข้างบอบบาง
การเลี้ยงไส้เดือนจะต้องเลี้ยงในบริเวณที่สามารถควบคุมการถ่ายเทของอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น แสงแดด ฝน ได้ในระดับหนึ่ง มีความแข็งแรง คงทน และสามารถป้องกันศัตรูของไส้เดือนได้
ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือน
การเลี้ยงไส้เดือน มีรูปแบบการเลี้ยง อาหารที่ใช้เลี้ยงจะแตกต่างกันไป โดย คุณอชิรญา สงวนเนตร เลือกเลี้ยงไส้เดือนในกะละมังเพราะสามารถจัดการได้ง่าย ใช้พื้นที่น้อย และเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ มี ขั้นตอนดังนี้
- เลือก bedding หรือมูลวัวนม 1 ที่มีลักษณะเป็น ก้อนสีเหลืองทอง โดยมูลวัวจะต้องไม่มีสารปนเปื้อนประเภทโซดาไฟ ปูนขาว สับปะรด
- นำมูลวัวแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-2 คืน เพื่อทำให้ชื้น คลายความร้อน และย่อยสลายมูลวัวให้เป็นก้อนเล็ก
- นำกะละมังพลาสติก ขนาด 50 ซม. เจาะรูระบาย น้ำที่ก้นกะละมัง
- ปล่อยน้ำออกจากถังแช่มูลวัว ตักมูลวัวที่แช่น้ำแล้วใส่ในกะละมังประมาณครึ่งกะละมัง
- ใส่ผัก หรือต้นกล้วยสับบนมูลวัว (จากข้อที่ 4) ประมาณ 1 ใน 4 ของกะละมัง และนำ มูลวัวมาโรยทับด้านบน
- นำไส้เดือนมาปล่อยลงกลางกะละมัง ประมาณ 5 กรัม จากนั้นนำกะละมังไปวางเรียง บนชั้น รดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำสัปดาห์ละครั้ง หรือเมื่อผิวหน้าของอาหารไส้เดือนเริ่มแห้ง
- เมื่อระยะเวลาประมาณ 25 วัน ไส้เดือนกินมูลวัวในกะละมังจนหมด ก่อนเก็บมูลไส้เดือน ให้งดน้ำ 1 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถแยกมูลไส้เดือนได้ง่าย
การแยกมูลไส้เดือน
เมื่ออาหารในกะละมังใกล้หมด จะต้องแยกตัวและมูลไส้เดือนเพื่อนำตัวไส้เดือนไปเลี้ยงใน อาหารใหม่ และนำมูลไส้เดือนไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การเก็บมูลไส้เดือนให้ใช้ตาข่ายที่ไส้เดือนสามารถลอดได้วางไว้บน bedding ใหม่ และใส่ bedding เก่าที่ต้องการแยกตัวและมูลไส้เดือนไว้ด้านบนตาข่าย ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ไส้เดือนจะย้ายไปอยู่ใน bedding ใหม่ จากนั้นนำไปผึ่งในที่ร่มให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 35% สังเกตได้จากเมื่อใช้มือเก็บมูลไส้เดือนและ ไม่ติดมือ ไม่รู้สึกเปียก จากนั้นนำมาร่อนด้วยตะแกรง ขนาด 3 มม. จะได้มูลไส้เดือนและกากมูลไส้เดือน
หลังจากแยกตัวและมูลไส้เดือนแล้ว มูลไส้เดือนสามารถนำไปใช้หรือบรรจุถุงจำหน่ายได้ ส่วนตัวไส้เดือนและกากมูลไส้เดือน ให้นำไปใส่ในอาหารใหม่เพื่อเลี้ยงไส้เดือนต่อไป
ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข
ในการเลี้ยงไส้เดือน หลายคนมักจะเจอกับสารพัดปัญหาที่คนเลี้ยงไส้เดือนส่วนใหญ่มักจะเจอ กันบ่อย ๆ จึงได้รวบรวมปัญหาและวิธีการแก้ไขไว้ดังนี้
ประโยชน์จากการเลี้ยงไส้เดือน
- ทำให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุล
- ทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น
- ช่วยระบายน้ำและอากาศในดิน
- เพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารแก่ดิน
- เป็นดัชนีบ่งชี้การปนเปื้อนในดิน
- สร้างรายได้จากมูลและพันธุ์ไส้เดือน
จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงไส้เดือน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ในการเลี้ยงไส้เดือนได้ไม่ว่าจะ เป็นมูลสัตว์ กะละมัง เศษผัก ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในครัวเรือนนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากเป็นการกำจัด ขยะอินทรีย์ได้แล้ว ยังได้ประโยชน์มากมาย และสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว
ที่มา : อาจารย์อชิรญา สงวนเนตร บรรยายในงานมหกรรมในหลวงรักเรา ภูมิพลังแผ่นดิน วันที่ 3 ธันวาคม 2564
เครดิตภาพ : ฟาร์มไส้เดือนเจ้หลุยส์
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ