ร่วมชมบรรยากาศงานประกวด” ไก่สวยงาม “| ไก่เหลืองหางขาว-ไก่ประดู่หางดำ-ไก่คละสี | @จังหวัดร้อยเอ็ด ๑๐๑
ไก่สวยงาม
คนไทยรู้จักการเลี้ยงไก่ชน และมีการชนไก่มาตั้งแต่หลายร้อยปี โดยมีหลักฐานที่เด่นชัด ได้แก่ พงศาวดารที่เล่าถึงการชนไก่ของพร นเรศวรมหาราชที่ใช้ไก่ชนเหลืองหางขาว นอกจากนั้น ยังพบภาพเขียนที่บอกเล่าเรื่องราวการชนไก่ของคนไทยในอดีต อาทิ ภาพวาดฝาผนังที่วัดสุวรรณดาราราม จ.พระนครศรีอยุธยา และภาพวาดฝาผนังวัดภูมิทร์ จ.เชียงใหม่ เป็นต้น
สายพันธุ์ไก่ชน
เหลืองหางขาว
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จึงชนชนะ จนได้รับสมญาว่า “เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง” ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้า และทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยจัดประกวดครั้งแรกขึ้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2533 และในปี 2534 ได้จัดตั้ง ชมรมอนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นที่ ตำบลหัวรออำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การ บริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกจนถึงปี 2542 ได้จัด ตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นทุกอำเภอ รวม 12 กลุ่มเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่ เป็นสมบัติคู่ชาติตลอดไป
ประดู่เลาหางขาว
ไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว แหล่งกำเนิด เชื่อว่ามาจากพระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี กำแพงเพชร มีนบุรี หนองจอก สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ประเภท เป็นไก่ชนไทยขนาดกลาง ตัวผู้หนัก 3.00 – 4.00 กก. ตัวเมียหนัก 2.50 – 3.00 กก. สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน สีของลูกเจี๊ยบ ขนหัว ขนคอขาว ขนหางดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอ หน้าท้องสีขาว ประวัติความเป็นมา ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์ หรือการบันทึกยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดในประวัติศาสตร์
ประดู่หางดำ
ไก่พันธุ์ประดู่หางดำ ได้รับการรวบรวมและพัฒนาสายพันธุ์จากไก่พื้นเมืองภาคเหนือ โดยศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ เพื่อให้เป็นไก่ที่ให้ผลผลิตดี มีความต้านทานต่อโรคและสภาพอากาศของภาคเหนือ ขนาดโตเต็มที่หนัก 2.8-3.5 กก. เริ่มวางไข่เมื่ออายุ 6 เดือน ให้ไข่ปีละ 120- 180 ฟอง/แม่ และผลิตลูกไก่ได้ปีละ 40-60 ตัว/แม่ สามารถฟักไข่และเลี้ยงลูกเอง เหมาะสำหรับนำไปปรับปรุงพันธุ์กับไก่พื้นเมืองที่มีขนาดเล็กอยู่ ให้ได้ไก่ที่มีขนาดโตขึ้น ทนทานต่อโรคและปรับปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศในพื้นที่ได้ดี
ทองแดงหางดำ
ไก่ชนพันธุ์ทองแดงหางดำ ไก่ชนสายพันธุ์นี้ เป็นพันธุ์แท้แต่โบราณ ทราบได้สมัยอยุธยา ตอนฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่ หน้าพระที่นั่งพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชครั้นยังทรงพำนักอยู่หงสาวดี ได้มีรับสั่งให้สมเด็จพระน้องยาเธอ พระเอกาทศรถ นำไก่ไทยไปร่วมชนในงานฉลองกรุงหงสาวดีครั้งนั้นด้วยไก่ทองแดงหางดำ ได้ไปสร้างชื่อเสียงเอาชนะไก่พม่าได้อย่างง่ายดาย
ไก่ชนพันธุ์เขียวหางดำหรือเขียวกา
เขียวหางดำ หรือ เขียวกา บางแห่งเรียกว่า “เขียวพาลี หรือเขียวไข่กา” เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากทางภาคใต้และตะวันออก มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้
- ลักษณะทั่วไปคล้ายๆ กับประดู่หางดำ ปากดำ
- หงอนหิน หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง ท้ายหงอนจะตกกดกระหม่อม
- สร้อยปีก สร้อยคอ สร้อยคอหลังและสร้อยหางสีเขียวคล้ายปีกแมลงภู่
- ขนปีกและลำตัวเขียวหรือเขียวอมดำ หางสีดำ
- แข้งดำ เล็บดำ
ไก่ชนพันธุ์นกแดงหางแดง
ไก่ชนพันธุ์นกแดงหางแดงสายพันธุ์ไก่นกแดงหางแดง เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ มีอยู่ทั่ว ๆ ไป แถบภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ไก่นกแดงที่มีชื่อโด่งดังครั้งสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นไก่ของขุนฤทธิ์ปูพ่าย หรือพระยาศรีไสณรงค์ เจ้าเมืองกาญจนบุรี ทหารเอกแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นเพื่อนสนิทของขุนเดชพระเวทย์แสนศึกสู้ หรือพระยาไชยบูลย์ผู้นิยมไก่เขียวหางดำ และไก่นกแดงเช่นกัน อาจารย์พนได้เป็นผู้ให้ข้อมูล
ไก่ชนพันธุ์ลายหางขาว
ไก่ชนพันธุ์ลายหางขาวแหล่งกำเนิด เป็นไก่ในเขตภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ในภาคอีสาน ขอนแก่น มหาสารคาม ในภาคกลางและภาคใต้จะพบอยู่ทั่วไป เช่น เพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
ไก่ชนพันธุ์นกกรดหางดำ
ไก่ชนพันธุ์นกกรดหางดำ ไก่นกกรด เป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่นสง่าผ่าเผย ชนเชิงดี มักมีแข้งเปล่า เป็นไก่ชนดุดันไม่กลัวใคร ไก่นกกรดเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณครั้งอยุธยา โด่งดังเมื่อครั้งฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่หน้าพระที่นั่งบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพำนักอยู่พม่า โปรดให้พระน้องยาเธอสมเด็จพระเอกาทศรถนำไก่กรดไปชนหน้าพระที่นั่ง ได้ชนะไก่พม่า และได้อยู่เป็นพ่อพันธุ์สืบทอดในประเทศพม่าจนถึงปัจจุบัน
ไก่ชนพันธุ์เทาหางขาว
ไก่ชนพันธุ์เทาหางขาว ไก่เทา หรือไก่สีเทา หรือไก่เถ้า มีแหล่งกำเนิดทั่วไปของประเทศไทย แหล่งกำเนิดไก่เทาที่มีชื่อเสียง เช่น จังหวัดตาก, อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และแถบภาคอีสานจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี เป็นต้น ไก่เทาเป็นไก่ขนาดกลางน้ำหนักตัวเฉลี่ยตัวผู้ประมาณ 3-3.5 กก. ตัวเมียประมาณ 2-3 กก.
ไก่ชนพันธุ์เขียวเลาหางขาว
ไก่ชนพันธุ์เขียวเลาหางขาว สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย กำหนดไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2544 ในงานภูมิปัญญาเกษตรกรไทย ณ. อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี
แหล่งกำเนิด มีแหล่งกำเนิดที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอีกหลายจังหวัดในประเทศไทย สีเปลือกไข่ เปลือกสีขาวอมน้ำตาล ลูกเจี๊ยบหัวขาว หน้าคอ หน้าอกสีขาว สันหลังดำ ปีกในดำ ไชปีกนอกขาว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง อมน้ำตาล ตาสีขาวอมเหลือง
ที่มา : Youtrube BANKKOKSIAMMUANGYIM FARM
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ