เทคโนโลยีด้านการเกษตร » ไร่นาสวนผสม แนวทางการจัดสรรพื้นที่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ไร่นาสวนผสม แนวทางการจัดสรรพื้นที่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

2 ตุลาคม 2022
4896   0

ไร่นาสวนผสม แนวทางการจัดสรรพื้นที่เพื่อตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ไร่นาสวนผสม

Cr รูปภาพ : by MAYER Design

การเกษตรของไทยในอดีตเป็นการทำการเกษตรเพื่อยังชีพ โดยอาศัย ความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงไม่ประสบปัญหามากนัก แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันเนื่องมาจาก การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร มีการใช้เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่เพื่อเพิ่ม ผลผลิตให้เพียงพอแก่การบริโภคของประชากรและเพื่อการส่งออกเป็นรายได้ เข้าสู่ประเทศ จึงทำให้การทำการเกษตรในปัจจุบันประสบปัญหามากขึ้น ไม่ว่าจะ เป็นปัญหาการขาดความสมดุลทางธรรมชาติการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช รวมทั้งด้านการตลาดซึ่งนับวันจะแปรปรวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากปัญหาดังกล่าว การทำไร่นาสวนผสมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะลดความเสี่ยงที่เกิด จากภัยธรรมชาติและความไม่แน่นอนของราคาผลผลิต โดยการทำการเกษตร หลาย ๆ อย่าง เพื่อเพิ่มระดับบรายได้สามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นา ได้มากขึ้น สร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติทำให้ระบบนิเวศเกษตรของชุมชน ดีขึ้น เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมีความมั่นคงในการที่จะประกอบอาชีพ การเกษตรต่อไป




ไร่นาสวนผสม  เป็นการทำการเกษตร แบบหลาย ๆ อย่าง  เพื่อตอบสนองต่อการบริโภค และลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตและภัยธรรมชาติ ซึ่งการทำเกษตรไม่จำเป็นต้องเกื้อกูลกันก็ได้ เช่น การเลี้ยงไก่ สุกร รวมกับการปลูกพืช การปลูกโกโก้แซมในสวนมะพร้าว การเลี้ยงปลาในร่องสวนไม้ผลหรือสวนผัก หรืออาจจะมีการเกื้อกูลกันระหว่างการทำ โดยนำเศษที่เหลือไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับอีกกิจกรรมหนึ่ง เช่น เศษพืชผักเป็นอาหารสุกร มูลสุกรเป็นอาหารปลา น้ำจาก บ่อปลานำไปรดพืชผัก  เป็นต้น

ประโยชน์จากการทำ ไร่นาสวนผสม

  1. เพื่อเพิ่มระดับรายได้ และมีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี
    • รายได้รายวัน ได้แก่ กิจกรรมพืชผัก (ผักกินใบ ผักบุ้ง ผักกระเฉด ตะไคร้ขิง ข่า กะเพรา เป็นต้น) กิจกรรมสัตว์ (ไก่ และเป็ดไข่ และการเลี้ยงโคนม)
    • รายได้รายสัปดาห์ ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ ผักบางชนิด (ชะอม กระถิน ผักกินใบ)
    • รายได้รายเดือน หรือตามฤดูกาลผลิต 2 – 4 เดือน กิจกรรมการปลูกพืชผัก ทำนา ทำไร่ การเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่เนื้อ เป็ด และสุกร ตลอดจนการเลี้ยงปลาและกบ
    • รายได้รายปีเป็นประจำทุกปีส่วนใหญ่เป็นไม้ผลและไม้ยืนต้น พืชไร่อายุยาว (สับปะรด มันสำปะหลัง) การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ (โคเนื้อ สุกรขุน
  2. เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ และการตลาดที่แปรปรวน
    เนื่องจากกิจกรรมด้านไร่นาสวนผสมมีความหลากหลายของกิจกรรม การเกษตรจึงทำให้เกิดความหลากหลายด้านชีวภาพ อายุการเก็บเกี่ยวและผลผลิต ที่ออกจำหน่ายมีความแตกต่างกันและสามารถช่วยลดการระบาดของโรคและศัตรูพืชลงได้ตลอดจนในบางครั้งราคาผลผลิตบางชนิดตกต่ำแต่บางชนิดราคาสูงหรือให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
  3. เพื่อลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกให้น้อยลง โดยพึ่งพาทรัพยากรในไร่นามากขึ้น
    ในระบบการผลิตไร่นาสวนผสมมีความหลากหลาย กิจกรรมการเกษตรสามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาหรือกิจกรรมการเกษตรในไร่นาได้มากขึ้น เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด มูลสัตว์เป็นอาหารปลา ก๊าซชีวภาพ การใช้ปัจจัยการผลิต บางชนิดร่วมกัน เช่นด้านแรงงานการดูแลรักษา ด้านเครื่องมืออุปกรณ์  การผลิต ด้านปุ๋ยและธาตุอาหารเสริม   เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อทดแทนการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกที่มากและเกินขอบเขต ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระบบการผลิต
  4. กิจกรรมหลากหลายมีทั้งกิจกรรมเพิ่มรายได้ มีอาหารไว้บริโภคและใช้สอยในครัวเรือน
    การเกษตรในไร่นาสวนผสมอาจจะมีทั้งพืช สัตว์และประมง หรืออาจจะมีพืชกับสัตว์ หรือกลุ่มของพืชอายุสั้นกับอายุยาวขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ และวัตถุประสงค์ของเกษตรกร
  1. ในระยะยาว สร้างความสมดุลทางธรรมชาติทำให้สภาพแวดล้อมทางระบบนิเวศของไร่นาและชุมชนเกษตรดีขึ้น เนื่องจากในระบบการผลิตรูปแบบไร่นาสวนผสมของประเทศไทย เกษตรกรนิยมปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ในระบบการผลิตควบคู่กับการทำนาและเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นกิจกรรมการเกษตรที่สร้างโอกาสด้านการตลาด แก่เกษตรกร ดังนั้น การมีไม้ผลไม้ยืนต้น เป็นการสร้างความรู้มรื่น รักษาความชื้นในระบบ การผลิตของไร่นา การใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุการเกษตร โดยการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาและพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกน้อยลง จะทำให้ระบบนิเวศเกษตรดีขึ้น




ไร่นาสวนผสม

Cr รูปภาพ : by MAYER Design

ปัจจัยที่สำคัญในการทำ ไร่นาสวนผสม

  • ที่ดิน
    เกษตรกรควรมีที่ดินี้เป็นของตนเองมากกว่าการเช่าเพราะการทำ ไร่นาสวนผสมมีการปลูกไม้ผล ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลผลิตความอุดมสมบูรณ์ของดินก็มีส่วนสำคัญในการเลือกกิจกรรม แต่ความอุดมสมบูรณ์  ของดินสามารถปรับปรุงได้
  • แรงงาน
    เกษตรกรควรใช้แรงงานในครอบครัวอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ เช่น การกระจายการใช้แรงงานตลอดปีการใช้แรงงานให้เหมาะสมกับวิทยาการแผนใหม่และวิทยาการพื้นบ้านให้ผสมกลมกลืนกินไป การใช้แรงงานผสมผสาน หรือทดแทนกันระหว่างแรงงานคน แรงงานสัตว์และเครื่องทุ่นแรง
  • ทุน
    เกษตรกรต้องมีการใช้ทุนในรูปแบบของเงินสดโดยการซื้อปัจจัย การผลิตเท่าที่จำเป็นซึ่งเป็นการเริ่มต้นจากเล็กไปหาใหญ่ มีการหมุนเวียนการใช้ ปัจจัยการผลิตจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
  • การจัดการ
    เกษตรกรต้องมีลักษณะการเป็นผู้จัดการมีหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินใจ ในระบบการผลิตในไร่นา เช่น จะผลต่ออะไร พืชหรือสัตว์หรือประมง จะผลิต ที่ไหน จะผลิตโดยวิธีใด (ผลิตอย่างไร) จะผลิตจำนวนเท่าไร จะผลิตเมื่อไร จะผลิต (ซื้อและขาย) กับใครที่ไหน และหมั่นค้นหาควาหาความรู้ใหม่ ๆ ติดตามความเคลื่อนไหวของภาวะตลาด และราคาเพื่อลดความเสี่ยง ถ้าเกษตรกรมีการวางแผน และงบประมาณอย่างดีจะก่อให้เกิดผลตอบแทน กำไรสูงสุด

การพิจารณารูปแบบการทำ ไร่นาสวนผสม

ด้านพื้นที่

  • เกษตรกรแบ่งพื้นที่บางส่วนมาจัดทำไร่นาสวนผสมซึ่งในระยะแรกรายได้ที่เกิดจากการทำไร่นาสวนผสม ยังมีรายได้ไม่มากนักจะมีรายได้จากบางส่วน ของกิจกรรมเท่านั้น เช่น พืชผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ สัตว์และประมง
  • ในกรณีสภาพพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่ทำนาเดิม หากเกษตรกรคิดจะปลูกไม้ผลควรที่จะยกร่องไม้ผลและมีคันดินล้อมรอบแปลงไม้ผลเนื่องจากในฤดูฝนจะมีน้ำมาก อาจจะท่วมแปลงทำให้เกิดความเสียหายได้
  • ในกรณีสภาพพื้นที่ค่อนข้างลุ่มมากมีน้ำท่วมเป็นประจำเกษตรกรอาจจะขุดบ่อเพื่อเลี้ยงปลา หรือทำนาบัว นาผักบุ้ง นาผักกระเฉด   เป็นต้น
  • สำหรับพื้นที่ดอนในการทำสวนไม้ผลควรมีสภาพพื้นที่มีความลาดชันไม่เกิน 30% สภาพดินมีหน้าดินลึกกว่า 1 เมตร และดินชั้นล่างต้องไม่เป็นดินดานแข็งหรือศิลาแลง
  • ในกรณีที่สภาพดินที่มีปัญหา เชนิดินเคมี ดินเปรี้ยวและดินที่มีปัญหาอื่น ๆ ควรดำเนินการปรับปรุงดินเหล่านี้เสียก่อน โดยวิธีการทาง วิชาการเช่น การเพิ่มวัสดุลงไปในดิน (ปูนขาว ปูนมาร์ล แกลบ เป็นต้น) การใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชหมุนเวียนบำรุงดิน   เป็นต้น

ด้านแหล่งน้ำ

  • ควรมีสระน้ำคูคลอง ร่องน้ำหรือแหล่งน้ำ ระดับไร่นาเสริมในฤดูแล้งประมาณ 30% ของพื้นที่โดยประมาณการไว้ว่าพื้นที่การเกษตร 1 ไร่ มีความต้องการน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร เช่นพื้นที่การเกษตร 10 ไร่ ควรมีแหล่งน้ำซึ่งสามารถมีความจุของน้ำประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร
  • บ่อน้ำบาดาล เพื่อใช้ในฤดูแล้งโดยเฉพาะพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ
  • บ่อปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีนและเพิ่มรายได้ในฤดูแล้งสามารถอาศัยน้ำในบ่อใช้กับพืชบริเวณขอบบ่อปลา พืชผักสวนครัว เป็นต้น
  • อาศัยน้ำชลประทาน การสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า   เป็นต้น




ด้านการผลิต

  • ในการผลิตทางการเกษตรควรพิจารณากิจกรรมการเกษตร (พืช สัตว์ประมง) ในเชิงกิจกรรม
  • กรณีปลูกไม้ผลในช่วงระยะ 1 – 3 ปีแรก ยังไม่ให้ผลผลิตและรายได้เกษตรกรควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวในสวนไม้ผล เช่น พืชผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับหรือไม่ผลบางชนิด เช่น มะละกอกล้วย เป็นต้น
  • กรณีแปลงไม้ผลพื้นที่ลุ่มจะต้องจัดทำคันดินล้อมรอบแปลงไม้ผลพื้นที่บริเวณดังกล่าวสามารถปลูกมะพร้าวอ่อนกุลวย มะละกอไผ่ตง พืชผักไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น
  • การปลูกไม้ผลบางครั้งสามารถปลูกแบบผสมผสานกันได้ในแปลงเดียวกัน เช่น มะม่วงกับขุนน กระทอนกับส้มโอหรือพืชผัก เช่น มะเขือพริกแตงกวา ถั่วฝักยาว เป็นต้น
  • เกษตรกรควรมีพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับปรับเปลื่ยนหรือหมุนเวียนเพื่อทำรายได้ซึ่งเราอาจจะเรียกได้ว่าพื้นที่ทำเงิน หรือพื้นที่ฉกฉวยโอกาส ในการปลูกพืชผักเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ การปลูกไม้ดอกไม้ประดับกิจกรรมปลูกพืชไร่กิจกรรมเหล่านี้ควรเป็นกิจกรรมอายุสั้นให้ผลตอบแทนสูง
  • ในระบบการผลิตทางเกษตรที่เกิดขึ้นจริงในไร่นาของเกษตรกรเกษตรกรจะมีพื้นที่ผลิตข้าวไว้บริโภคและจำหน่ายบางส่วนถึงแม้ว่าจะมีกิจกรรมอื่น ๆ ก็ตาม นอกจากนี้กิจกรรมหนึ่งที่ควรได้รับการพิจารณา คือเลี้ยงปลาในนาข้าวจุดประสงค์เพื่อเสริมรายได้และมีแหล่งอาหารโปรตีนไว้บริโภค สภาพพื้นที่ที่จะทำการผลิตควรควบคุระดับบน้ำได้และอยู่ใกล้บ้าน
  • บ่อปลาที่จะประกอบเป็นกิจกรรมหนึ่งในไร่นาสวนผสมควรอยู่ใกล้บ้านการคมนาคมสะดวกสามารถจัดการเรื่องน้ำได้ลักษณะดินควรเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย และสามารถเก็บกักน้ำได้อย่างน้อย 6 – 8 เดือน
  • กิจกรรมด้านการผลิตพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และประมงกิจกรรมเหล่านี้ค่อนข้างจะอาศัยแรงงานมาก และการดูแลเป็นพิเศษจะทำการผลิตมากไม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านแรงงาน การเน่าเสีย
  • การตลาด การเจริญเติบโตถึงขีดจำกัดแต่ยังคงต้องมีค่าใช้จ่ายในการผลิต เช่นค่าอาหาร ค่ายาเคมีและค่าจางแรงงาน   เป็นต้น ดังนั้น ควรมีการวางแผนการผลิตและการตลาดเป็นอย่างดีโดยทำการผลิตเป็นรุ่น ๆ

ด้านเงินทุน

  • งบประมาณการลงทุนในการทำไร่นาสวนผสมในระยะแรกจะมีค่าลงทุนค่อนข้างสูง เช่น การปรับสภาพพื้นที่ปลูกพืช การขุดบ่อปลาเพื่อสร้างแหล่งน้ำการสร้างโรงเรือนและอุปกรณ์การเกษตร ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระยะแรก ๆ ของการผลิตกิจกรรม (ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนกิจกรรมจะเริ่มให้ผลผลิต) ดังนั้น ควรพิจารณากิจกรรมเสริมให้ผลเร็วในช่วงแรก ๆ เพื่อที่จะนำรายได้มาเพื่อการดำรงชีพและดำเนินการผลิต
  • งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตไร่นาสวนผสม ต้องพิจารณาถึงชนิดและจำนวนกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณเงินทุนที่มีอยู่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่าย ด้านพันธุ์พืชและสัตว์ ค่าปุ๋ยเคมี อาหารสัตว์ ค่าสารเคมี ค่าแรงงานจ้างและอื่น ๆ ซึ่งจะต้องหมุนเวียนเกิดขึ้นในฟาร์มอยู่ตลอดเวลาในช่วงการผลิตนั้น ๆ

ด้านรายได้

การพิจารณาผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในแง่ของผลตอบแทนทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาตอบแทนความมั่นคงของผลตอบแทน ขนาดของกิจกรรม การเคลื่อนไหวของราคา ปริมาณการผลิตและคุณภาพของผลผลิต เป็นต้น อย่างไรก็ตามจะต้องพิจารณาในประเด็นเหล่านี้ด้วย

  • ควรพิจารณาจากกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมีรายได้หลายทางจากพืช สัตว์และประมง ในลักษณะรายได้รายวัน รายสัปดาห์รายเดือน และรายปี  เป็นต้น
  • พิจารณาว่ากิจกรรมใดควรเป็นรายได้หลัก รายได้รอง และรายได้เสริมจากกิจกรรมที่ต้องการผลิตภายในฟาร์ม
  • กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทน (รายได้) ในระยะยาวในช่วงแรกยังไม่มีผลผลิตหรือรายได้ควรจะมีกิจกรรมเสริมในระยะแรกเพื่อให้เกิดรายได้ในช่วงแรก ๆ
  • ควรพิจารณารายได้ที่เกิดขึ้นจากการปลูกพืชหมุนเวียนและกิจกรรมที่จัดสรรโดยการทยอยปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เป็นรุ่น ๆ
  • ควรพิจารณาถึงความเสี่ยงของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้โดยจะต้องเสี่ยงกับภาวะความแปรปรวนของราคาผลผลิตการตลาด และภัยธรรมชาติ
  • พิจารณาด้านรายได้ของกิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนเร็วในช่วง สั้น ๆ ของการผลิตและให้รายได้สูงหรือพิจารณาด้านรายได้ระยะยาวที่มั่นคงหรือรายได้ที่ไม่มีความแปรปรวนมากนักเช่น การเลี้ยงปลา ทั้งนี้ ควรผสมผสานกันและดูความต้องการของเกษตรกรเป็นหลักด้วยในการพิจารณา

ด้านเกษตรกร

  • เกษตรกรควรเป็นคนขยันขันแข็ง กระตือรือร้น และมีความคิดสร้างสรรค์  ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มีแนวความคิดเชิงธุรกิจติดตามความเคลื่อนไหว ด้านราคา ชนิดผลิตผลการเกษตรและการตลาดอยู่ตลอดเวลา
  • มีแรงงานครอบครัวสำหรับทำการเกษตรอย่างน้อย 3 คน ต่อพื้นที่ไร่นาสวนผสม 10 ไร่
  • เกษตรกรควรมีความรู้ความสามารถ และทักษะในการวางแผนและการจัดการด้านทรัพยากรด้านแรงงาน ด้านเวลา และกิจกรรมการผลิตได้เป็นอย่างดี  เป็นต้น

เกษตรผสมผสาน1ไร่ มีกินมีใช้มีรายได้ทั้งปี

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร, กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร, สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี เว็บไซต์ esc.doae.go.th




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ