เทคโนโลยีด้านการเกษตร » ปลูกกระเทียม ไว้กินเองง่ายๆ มือใหม่ก็ปลูกได้

ปลูกกระเทียม ไว้กินเองง่ายๆ มือใหม่ก็ปลูกได้

4 ตุลาคม 2023
728   0

ปลูกกระเทียม ไว้กินเองง่ายๆ มือใหม่ก็ปลูกได้

ปลูกกระเทียม

ปลูกกระเทียม


กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจพืชหลักของประเทศ นอกจากจะใช้ประกอบอาหารและยังเป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคไต้หลายชนิด ประเทศที่ผลิตกระเทียมต้มากคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และอินเดีย สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกระเทียม 150,000- 190,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 9,000 ตัน/ปี ผลผลิตสด เฉลี่ย 1,700-1,900 กิโลกรัม




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระเทียมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alium sativum L. อยู่ในตระกูลเดียวกับหอมหัวใหญ่และหอมแดงต่างกันตรงที่หัวหอมจะเป็นบัลบ์ ( bulb ) ขนาตใหญ่อันเดียว ส่วนกระเทียมจะประกอบด้วยบัลบ์มีขนาดเล็กหลายอันเรียกว่า กลีบ ( cloves ) ซึ่งห่อหุ้มด้วยเปลือกที่มีลักษณะบาง ๆ หลายชั้น นอกจากส่วนของกลีบที่ใช้ในการบริโภคใบกระเทียมก็สามารถนำไปบริโภคได้ด้วย ใบกระเทียมสามารถออกดอกให้ผลและเมล็ด รวมทั้งบัลบ์เลท ( bulblets ) ซึ่งสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้ แต่นิยมการขยายพันธุ์ด้วยกลีบ เพราะให้ผลดีมากกว่า

ปลูกกระเทียม

ลักษณะทั่วไปของพืช

กระเทียมเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบติดกันแน่น เนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุน การปลูกจะใช้กลีบกระเทียมเป็นพันธุ์ปลูกไต้ดีในดินร่วนปนทราย ที่ระบายน้ำดีกระเทียมจะลงหัวในช่วงที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงปลูกได้ดีเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

สายพันธุ์ที่นิยม

สำหรับสายพันธุ์กระเทียมที่นิยมปลูกนั้นส่วนมาก จะเป็น สายพันธุ์กระเทียมพันธุ์เบาของศรีสะเกษ, กระเทียมพันธุ์เชียงใหม่, กระเทียมพันธุ์หัวใหญ่

การเตรียมดิน

กระเทียมชอบดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี หากดินเป็นกรด ควรเตรียมดินด้วยการใส่ปูนขาวอย่างน้อย 15 วัน เพื่อปรับค่า pH ให้อยู่ที่ราวๆ 5.5 – 6.8 หากมีพื้นที่สักหน่อย ควรเตรียมแปลงปลูกขนาดกว้าง 1 – 2.5 เมตร ความยาวตามพื้น ที่ปลูกระยะห่าง ระหว่างแปลง (ทางเดินหรือร่องน้ำ) ควรกว้าง 50 ซม. หรือจะปลูกในกระถาง หรือ กระบะ ก็ได้ หากมีพื้นที่น้อยและต้องการเพียงแค่ปลูกไว้เก็บกินใช้สอยในครัวเรือน

วิธีการปลูก

มักนิยมปลูกโดยใช้กลีบนอกในการปลูก จะให้กระเทียมหัวใหญ่และผลผลิตสูง วิธีการเลือก คือให้เลือกใช้หัวที่แก่จัดและแห้งสนิท ไม่ควรเลือกใช้หัวเก่าที่เก็บไว้นาน แกะเปลือกและแต่งรากเล็กน้อย รดน้ำใส่ดินให้ฉ่ำจากนั้นนำกลีบกระเทียมจิ้มลงไปโดยเอาส่วนรากลงลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบ หลังปลูกใช้ฟางคลุมเพื่อควบคุมวัชพืช เก้บความขึ้น และช่วยลดความร้อนในตอนกลางวัน

การรดน้ำ

ควรให้น้ำก่อนปลูก และหลังปลูกกระเทียมควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอในช่วงระหว่างเจริญเติบโต 7-10 วัน/ครั้ง สรุปแล้วจะให้น้ำประมาณ 10 ครั้ง/ฤดู ควรงดการให้น้ำเมื่อกระเทียมแก่จัด ก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 สัปดาห์




การเก็บเกี่ยวกระเทียม

ให้สังเกตว่าหัวกระเทียมแก่เต็มที่หรือไม่ โดยการดูว่าใบเริ่มแห้งหรือก้านดอกชูขึ้นมาหรือไม่ หากทิ้งไว้ให้แก่นานเกินไป เมื่อขุดหัวออกมา กลีบจะร่วงหล่นออกจากกันได้ง่ายและคุณภาพก็จะลดลงด้วย

วิธีการเก็บเกี่ยวนั้นสามารถทำได้โดยการถอนหัวด้วยมือจากแปลงออกมา แล้วนำมาผึ่งแดดประมาณ 4-5 วัน ในตอนกลางคืนควรป้องกันการถูกน้ำค้างและฝนด้วย หลังจากผึ่งแดดแล้วให้นำเข้าไว้ในโรงเรือนที่โปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระเทียมแห้งสนิท ต่อจากนั้นจึงทำความสะอาดและคัดขนาดไปพร้อมๆ กัน แล้วมัดไว้เป็นพวงๆ โดยจัดด้านปลายใบมัดจุกเข้าหากัน แล้วจึงนำไปแขวนไว้ในโรงเรือนเพื่อให้ลดโกรก แต่ต้องระวังไม่ให้โดนน้ำ ละอองน้ำ หรือความชื้นใดๆ

โรค

  • โรคใบเน่าหรือแอนแทรกนส จะทำให้ใบเป็นแผลเน่ายุบตัวและระบาดจนถึงทำให้หัวเน่า โดยใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโพลาแทน, แมนเชทดี, ไดเท็นเอ็ม-45 หรือ ชินโคโฟน ฉีดยาพ่นทุก 5-7วัน/ครั้ง
  • โรคใบจุดสีม่วง โรคนี้จะทำให้กะเทียมไม่ลงหัว ใบแห้งมีแผลจำนวนมากตามใบและจะแห้งตายไปในที่สุด ป้องกันกำจัด ใช้ยากำจัดเชื้อราเช่น ไดเท็นเอ็ม-45, ชินโคโพล เดอโรชาล, นาวิสตินหรือไดโพลาแทนฉีตพ่น
  • โรคหัวและรากเน่า กระเทียมเริ่มมีใบแก่เหลืองเหี่ยวแห้งไป กาบหัวช้ำเริ่มมีเส้นใยสีขาวขึ้นฟูอยู่บนแผลและตาม รากเน่าเป็นสีน้ำตาลจะทำให้หัวนิ่มเน่าและเนื้อเยื่อยุ่ยมีกลิ่นเหม็นทุก 5 – 7 วัน/ครั้ง

ที่มา : mthai.com , sarakaset.com




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ