บทความเกษตร » การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

15 กรกฎาคม 2022
2223   0

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด


          จิ้งหรีด เป็นแมลงเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย รสชาติอร่อย มีโปรตีนสูง ทั้งยังมีความต้องการทางตลาดสูง ส่วนใหญ่ ผู้เลี้ยงจะนำจิ้งหรีดมาเป็นอาหารโดยการแปรรูปขายตามตลาดทั่วไป หรือทำเป็นข้าวเกรียบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับจิ้งหรีดและ เพิ่มช่องทางการขาย วิธีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดนั้น มีขั้นตอนการเลี้ยงที่ไม่ยุ่งยากมากนัก ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงไม่มาก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริม



ทำไมมนุษย์จึงกินแมลง?

  • วัฒนธรรมการบริโภค ที่มีมาตั้งแต่เก่าก่อน
  • ภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมา และ สภาวะเศรษฐกิจ
  • เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่ามาทดแทนเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพง
  • แมลงหาได้ง่ายและติดใจในรสชาติที่อร่อย

ชนิดของจิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย

  • จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus Bimaculatus Degeeer)  หรือบางพื้นที่เรียก จิโหลน เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง  โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.6-0.7 ซม. ยาวประมาณ 2.8-3.0 ซม. ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน
  • จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus Testaceus Walker)  หรือบางพื้นที่เรียก จิ้งหรีดนิล หรือ จินาย เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง  โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.5-0.6 ซม. ยาวประมาณ 2.5-2.80 ซม. ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน 
  • สดิ้ง กินาย หรือแมงสะดิ้ง (Modicogryllus Confirmata Walker)  หรือนิยมเรียกว่า แมงสดิ้ง เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง  ขนาดลำตัวกว้างประมาณ 0.4-0.55 ซม. ยาวประมาณ 2.0-2.5 ซม. ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย
  • จิ้งหรีดหัวโต หรือ จิโปม (Brachtrupes Portentosus Lichtenstein)  หรือบ้างพื้นที่เรียก จิโปม, จิ้งกุ่ง, จินาย เป็นต้น เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยายประมาณ 3.5-4.0 ซม. ขุดรูตามดินร่วนปนทราย ภายในรูที่ความลึก 5-10 ซม. มีรูแยก 1 รู เพื่อหลบภัย และ กลางวันจะปิดปากรู อาศัยอยู่ภายใน กลางคืนออกหากิน และส่งเสียงร้องดังในช่วงเวลากลางคื

วงจรชีวิต และพฤติกรรมจิ้งหรีด

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด

เพศของจิ้งหรีด

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด

การเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงจิ้งหรีด

  • โรงเรือน สถานที่ตั้งจะต้องเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมขัง สามารถกันแดดกันฝนแดดและระบายอากาศได้ดี เช่น เลี้ยงตามชายคาบ้าน ใต้ถุนบ้านหรือจะสร้างเป็นโรงเรือนเลี้ยงจิ้งหรีดโดยเฉพาะก็ได้ เช่น เพิงหมาแหงนเพิงหน้าจั่ว
  • วัสดุเลี้ยงจิ้งหรีดเช่น บ่อปูนซีเมนต์ กะละมัง กล่องกระดาษ ลังพลาสติก
  • อุปกรณ์ให้น้ำ เช่นขวดน้ำ ถาดใส่น้ำและทราย หรือถาดใส่น้ำพร้อมก้อนหิน
  • วัสดุหลบซ่อนของจิ้งหรีด เช่น แผงวางไข่ชนิดกระดาษ กระดาษลูกฝูก กาบมะพร้าว
  • อาหารเช่น อาหารสัตว์ รำ ผักผลไม้ตำมฤดูกาล
  • ผ้าตาข่าย และเชือกสำหรับป้องกันจิ้งจก จิ้งเหลนที่จะเข้าไปทำลายจิ้งหรีด



วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีด

ลักษณะโรงเรือนเลี้ยงจิ้งหรีด

  • โรงเรือนหรือเพิงหลังคาป้องกันแดดฝน โดยมีแสงแดดส่องถึงบ้าง ช่วงเช้า-เย็น
  • การปรับพื้นที่กำจัดมดและศัตรูจิ้งหรีด อาจมีการสร้างเป็นรางน้ำ รอบตัวอาคาร ลดปัญหาเรื่องมด
  • การวางบ่อบนฝาใช้ปูนผสมทรายฉาบริมของภายใน-ภายนอก ป้องกันมดเข้าทาลายลูกจิ้งหรีด
  • ติดแผ่นพลาสติกรอบ ๆ บ่อด้วยเทปกาว

บ่อเลี้ยงจิ้งหรีด

สามารถใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ตามความสะดวก และเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เช่น ถัง กะละมัง หากต้องการเลี้ยงรูปแบบมาตรฐาน ควรสร้างให้ทนทาน ทำ
ความสะอาดง่าย แต่ละบ่อควรมีระยะห่าง อย่างน้อย 50 เซนติเมตร โดยแบ่งชนิดของบ่อเลี้ยง ดังนี้

  • วงปูนพร้อมฝา
  • บ่อปูนแบบ 4 เหลี่ยม
  • คอกแบบยกขา
  • คอกฟิวเจอร์บอร์ด

การเรียงถาดไข่ เพื่อเป็นที่หลบซ่อนของจิ้งหรีด

“การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด”

อุปกรณ์ในการเลี้ยงจิ้งหรีด

อุปกรณ์ในบ่อจิ้งหรีด

  • ถาดอาหาร-น้ำ
  • กระบอกไม้ไผ่ ยาว 20 ซม. ผ่าครึ่ง (เพี่อรองถาดไข่และระบายอากาศ)
  • ดินร่วนปนทรายรองพื้น
  • แกลบดำ
  • เศษหญ้าแห้งวางหนา
  • เทปกาว

เทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดในฤดูกาลต่าง ๆ

การเลี้ยงจิ้งหรีดในช่วงฤดูฝน

จิ้งหรีดจะเจริญเติบโตได้ดี กินอาหารเก่ง แม่พันธุ์วางไข่ได้ดี แต่จะต้องควบคุมปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของจิ้งหรีดด้วย ผู้เลี้ยงควรปฏิบัติดังนี้

  • ที่หลบซ่อนควรจัดให้โปร่ง และเปลี่ยนที่หลบซ่อนหากพบว่ามีความชื้นมาก
  • การให้น้ำ ช่วงฤดูฝนความชื้นในอากาศมีมาก น้ำที่ให้จิ้งหรีดจะไม่ค่อยแห้ง จะต้องเปลี่ยนน้ำทุกครั้งที่ตรวจเช็ค ข้อควรระวังถ้าเป็นจิ้งหรีดเล็ก ให้น้ำชุ่มอย่าให้น้ำขังเพราะลูกจิ้งหรีดอาจจมน้ำตายได้
  • การทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ช่วงฤดูฝนจิ้งหรีดจะกินอาหารปริมาณเยอะในขณะเดียวกันก็จะถ่ายมูลจำนวนมากเช่นกัน ควรมีการเก็บมูลจิ้งหรีดเดือนละ 2 ครั้ง



การเลี้ยงจิ้งหรีดในช่วงฤดูหนาว

จิ้งหรีดจะเจริญเติบโตได้ช้า กินอาหารน้อย แม่พันธุ์วางไข่ไม่ดี ผู้เลี้ยงควรปฏิบัติดังนี้

  • จัดที่หลบซ่อนของจิ้งหรีดให้ทึบเพื่อป้องกันอากาศที่เย็น เพราะจะทำให้ลูกจิ้งหรีดตายได้ โดยไม่ต้องนำผักหรือหญ้าที่แห้งแล้วออก
  • การให้น้ำ ในฤดูหนาวอากาศมีความชื้นน้อย น้ำจะระเหยได้ไว ควรให้น้ำทุกวัน อาจนำวัสดุที่ดูดซับน้ำได้ใส่ในถาดน้ำด้วยเพื่อให้น้ำระเหยช้าลง ข้อควรระวังถ้าเป็นจิ้งหรีดเล็กให้น้ำพอชุ่ม ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำทุกครั้งก่อนใส่น้ำใหม่
  • การทำความสะอาด ควรทำเดือนละ 1 ครั้ง เพราะจิ้งหรีดจะกินอาหารน้อยลง มีการถ่ายมูลน้อย

การเลี้ยงจิ้งหรีดในช่วงฤดูร้อน

จิ้งหรีดจะเจริญเติบโตได้ดี กินอาหารเก่ง แม่พันธุ์วางไข่ได้ดี แต่การเลี้ยงจิ้งหรีดในฤดูนี้มีข้อควรระวังหลายอย่าง ผู้เลี้ยงควรปฏิบัติดังนี้

  • ควรจัดที่หลบซ่อนของจิ้งหรีดให้มีมากพอและจัดให้โปร่ง ถ้าอากาศร้อนมากควรมีการสเปรย์น้ำให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
  • การให้น้ำ ช่วงฤดูร้อนน้ำจะระเหยได้ไว ควรให้น้ำทุกวัน อาจนำวัสดุที่ดูดซับน้ำได้ใส่ในถาดน้ำด้วยเพื่อให้น้ำระเหยช้าลง ข้อควรระวังถ้าเป็นจิ้งหรีดเล็กให้น้ำพอชุ่ม ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำทุกครั้งก่อนใส่น้ำใหม่
  • การทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ช่วงฤดูร้อนจิ้งหรีดจะกินอาหารปริมาณเยอะในขณะเดียวกันก็จะถ่ายมูลจำนวนมากเช่นกัน ควรมีการเก็บมูลจิ้งหรีดเดือนละ 2 ครั้ง

ปัญหาในการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด และแนวทางแก้ไข

  • เมื่อเลี้ยงมาเป็นเวลานาน หลายรุ่น ควรมีการนำพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งอื่น หรือจากธรรมชาติมา เพาะพันธุ์เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อลดปัญหาเลือดชิด หรือความพิการของจิ้งหรีด
  • เกิดแมลงตายสูงในฤดูฝน เนื่องจากเชื้อรา ควรเลี้ยงในพื้นที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงทุกครั้งก่อนลงเลี้ยงจิ้งหรีดใหม่
  • การให้น้ำจิ้งหรีด ควรมีที่เกาะพักให้จิ้งหรีด
  • แกลบ ทรายที่ใช้ในการวางไข่ หากพบปัญหาไม่ฟัก หรือขึ้นรา ควรนึ่งแกลบ หรือทรายก่อนใช้

โรคของจิ้งหรีด

โรคอัมพาตจิ้งหรีด (Cricket paralysis)

  • โรคอัมพาตจิ้งหรีด เกิดจากเชื้อ Cricket Paralysis Virus (CrPV) ค้นพบครั้งแรกในจิ้งหรีดสายพันธุ์ออสเตรเลียและมีรายงานตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907)
  • โรคนี้มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทั้งในฟำร์มเพาะเลี้ยงและการทดลองในห้องปฏิบัติการ เชื้อนี้ไม่ติดต่อสู่คนและสัตว์อื่น
  • ไวรัสตัวนี้ติดต่อโดยการกินผ่านระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถพบตัวไวรัสได้ที่ตำแหน่งของชั้นผิวหนังทางเดินอาหาร และปมประสาท ตัวอ่อนที่ได้รับเชื้อจะตายภายใน 3 วันโดยไม่แสดงอาการ จิ้งหรีด้วยเจริญพันธุ์จะแสดงอาการ เงื่องหงอยหลังจากได้รับเชื้อ 8 วัน และหยุดกิน หนวด ริมฝีปาก กราม และหัวกระตุก เป็นพักๆ จากนั้นขาหลังเริ่มเป็นอัมพาต หงายท้อง ชัก และตายหลังจากนั้น 5 วัน

โรคติดเชื้อ อิริโดไวรัส

  • สามารถก่อให้เกิดการตายที่รุนแรงในจิ้งหรีด อัตราการป่วย-ตายสูง และแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว สัตว์ ตระกูลแมลงชนิดอื่นที่สามารถติดเชื้อนี้ได้ เช่น ตั๊กแตน และ แมลงสาบ
  • เกิดจาก Cricket lridovirus (CrIV)

ลักษณะอาการ

จะแสดงอาการหลังจากติดเชื้อ CrIV 14 วัน ในระยะตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย โดยแสดงอาการท้องบวม เงื่องหงอยอย่างเห็นได้ชัด และช่วงอายุสั้นลง

การติดต่อ

เชื้อนี้ติดต่อโดยการกิน ผ่านระบบทางเดินอาหาร สามารถเพิ่มจำนวนในไซโตพลาสซึมของเซลล์ โดยเฉพาะ เซลล์ไขมัน ระยะเริ่มแรกอยู่ที่เซลล์ไขมันร่างกาย ส่วนระยะสุดท้ายของโรคจะอยู่ที่ชั้นใต้ผิวหนัง ของเหลวในหลอดลม กล้ามเนื้อของผนังลำไส้ ถุงหุ้มอวัยวะสืบพันธุ์ และเซลล์เม็ดเลือดของแมลง




การจัดการควบคุม-ป้องกันโรค

  • ให้ทำลายจิ้งหรีดที่เป็นโรค โดยวิธีการฝังใต้ระดับผิวดินไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ป้องกันสัตว์อื่นมาขุดคุ้ย แล้วราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือปูนขาว หรือเผาทำลายซากรวมทั้งอุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อน เช่น ถาดไข่ที่ทำจากกระดาษ ที่ใช้เป็นที่อยู่ของจิ้งหรีดในวงปูน
  • ทำการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค กับอุปกรณ์ที่ใข้ในการเลี้ยงจิ้งหรีด เช่น วงปูนอุปกรณ์การให้อาหาร และน้ำ ที่วางไข่ มุ้งเขียว หลังคาผนัง พื้น ทางเดิน และบริเวณรอบโรงเรือน โรงเก็บอาหาร และพักโรงเรือน 14 – 21วันก่อนนำจิ้งหรีดชุดใหม่เข้าเลี้ยง
  • ปรับปรุงรูปแบบการสุขาภิบาล การควบคุมป้องกันโรคภายในฟาร์ม ให้ทำรั้วรอบฟาร์ม ปิดประตูฟาร์ม ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม ควบคุมการเข้า ออกของบุคคล ยานพาหนะ จะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะเข้าฟาร์ม มีมาตรการป้องกัน กำจัดสัตว์ที่อำจเป็นพาหนะของโรค เช่น นก หนู แมลงสาบ หรือสัตว์ที่มักจะเข้ามาจับจิ้งหรีดในฟาร์มเป็นอาหาร เช่น นก กิ้งก่า คางคก ซึ่งอาจเป็นสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรคได้
  • ปรับปรุงรูปแบบการเลี้ยง เช่น มีการแยกเลี้ยงจิ้งหรีดตามช่วงอายุ มีการแบ่งแยกสัดส่วน พื้นที่การเลี้ยงในโรงเรือนเป็นส่วนๆ หรือใช้ระบบเข้า ออกพร้อมกัน (All in all out) ในการเลี้ยงเพื่อป้องกันหรือลดการแพร่
    ระบาดของโรคภายในฟาร์ม

การจำหน่ายจิ้งหรีด

ปัจจุบันตลาดการซื้อขายจิ้งหรีดมีทั้งตลาดท้องถิ่นเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคทั่วไป ตลาดกลางซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมเพื่อส่งขายไปยังพื้นที่ต่างๆ และตลาดเชิงอุตสาหกรรมเพื่อเป็นการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ การจำหน่ายที่พบเห็นโดยทั่วไปมี ดังนี้ การขายเป็นไข่บรรจุในขันเพื่อนำไปเพาะเลี้ยง การขายแบบต้มเพื่อนำไปประกอบอาหาร การขายตัวสดเพื่อไปใช้เป็นอาหารสัตว์ และการขายในรูปแบบคั่วหรือทอดขาย


แหล่งที่มา :  Sarakaset.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ