เลี้ยงแมงดานาเลียนแบบธรรมชาติ จัดการง่ายมีขายตลอดปี
เลี้ยงแมงดานาเลียนแบบธรรมชาติ
เลี้ยงแมงดานาเลียนแบบธรรมชาติ “แมลงดานา” เป็นแมลงที่คนไทยรู้จักและบริโภคกันมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบันถือเป็นแมลงที่มีปริมาณความต้องการมากเป็นอันดับต้น ๆ ของบรรดาแมลงกินได้ทั้งหมด ส่งผลให้มีราคาดีตลอดปี ที่ผ่านมามีเกษตรกรสนใจเพาะเลี้ยงแมลงดานาเชิงพาณิชย์กันจำนวนมาก แต่ทว่าก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะข้อจำกัดทั้งเรื่องของอาหาร การจัดการระยะต่าง ๆ ส่งผลให้มีอัตราการรอดต่ำ และพบปัญหาแมลงดานากินกันเอง
แมงดานาจัดอยู่ใน Order Memitera ใน Family belostomatidae มีลักษณะรูปร่างรูปไข่ ลำตัวแบนยาว ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาล มีขนขนาดเล็กปกคลุม มีขา 6 ขา ขาคู่หน้าใช้สำหรับจับเหยื่อ การคุ้ยหาอาหาร ส่วนขา 2 คู่ หลังใช้สำหรับการว่ายน้ำ และการเดิน
ทำไมต้องเลี้ยงแมงดานา ?
คำถามนี้ ทำให้อดที่จะสงสัยไม่ได้ ว่า ทำไมต้องเป็นแมงดานา หรือ เลี้ยงแมงดานา มีอีกตั้งเยอะ ๆ ตั้งแยะ ที่ให้ทำ ทั้งจิ้งหรีด เห็ด ดักแด้ พอค้นหาข้อมูลดูสักหน่อยก็ต้องบอกว่า แมงดานานี่ราคาไม่ใช่เล่น ๆ ขายกันเป็นตัวไม่ต้องชั่งกิโล ราคาก็อยู่ราว ๆ 7-12 บาท โดยตัวผู้ที่มีกลิ่นหอม (บางคนบอกว่าฉุน) ราคา 10-12 บาท ส่วนตัวเมีย อยู่ที่ 7-10 บาท ระยะเวลาจากแรกเกิดจนถึงส่งขายใช้เวลา 30-45 วัน
วงจรชีวิตของแมลงดานา
สำหรับวงจรชีวิตของแมลงดานานั้น จะมีระยะเลาข้อนข้างสั้น จึงทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงได้ทั้งปี สำหรับวงจรชีวิตของแมงดานานั้น ตั้นแต่ไข่จนถึงตัวเต็มวัยหรือที่เราเรียกว่าตัวแก่ ที่จะจับออกขายได้นั้น จะมีอายุประมาณ 32-43 วัน โดยมันจะทำการลอกคาบ ประมาณ 5 ครั้ง และระยะตัวแก่จนเริ่มวางไข่ได้นั้นจะอายุโดยประมาณ 30-40 วัน ซึ่งรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 60-80 วัน และที่สำคัญ แมลงดานานั้น เป็นสัตว์ที่สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกมากๆ ชอบอยู่ในแหลงน้ำทั้งสะอาดและเน่าเสีย จึงทำให้การเลี้ยงแมลงดานานั้นขอนข้างง่าย โดยในช่วงฤดูฝนนั้นมันจะชอบวางบไข่ ไว้ตามกอกก หรือ กกหญ้า พอถึงฤดูแล้งมันก็จะหมกตัวอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นพวกโคลนตมที่มีน้ำขั้นเล็กน้อย
อายุขาองแมลงดานาจะอยู่ที่ประมาณโดยเฉลี่ย 2 ปี ก็ตายโดยวางไข่3-4 ครั้ง จากนั้นมันก็ตายตามธรรมชาติ ดังนั้นกรณีที่เราเลี้ยงเพื่อขายหรือจำหน่าย หลังจากที่วางไข่เสร็จก็สามารถจับไปจำหน่ายได้เลย ขายได้ทั้งไข่และตัวไปประกอบอาหาร รายได้สองทางครับ
สายพันธุ์ของแมลงดานา
สำหรับสายพันธุืของแมงดานานั้น เราจะพิจารณาจากรูปลักษณะภายนอก เช่น สีสรร ปีก ลวดลายของปีก รวมไปถึงลักษณะของไข่ด้วย ซึ่งสำหรับแมลงดานานั้น เสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หม้อ, พันธ์ุลาย, พันธ์ุเหลืองหรือพันธุ์ทอง นั้นเอง
- พันธุ์หม้อ มีลักษณะเด่นคือ ขอบของปีกจะมีลายสีทอง และขอบปีดจะยาวคลุมไม่มิดส่วนของห่าง และขยายพันธุ์เร็ว ไข่ดก
- พันธุ์ลาย มีลักษณะเด่นคือ ขอบของปีกจะมีลายสีทอง ขอบปีกนั้นจะคุมมิดส่วนห่าง อัตราการไข่แต่ละครั้งไม่แน่นอน
- พันธ์ุเหลืองหรือพันธุ์ทอง มีลักษณะเด่นคือ ตัวจะออกสีเหลืองทั้งตัว และจำนวนไม่แน่นอนเช่นกันกลับพันลาย
ขั้นตอนการเตรียมบ่อเลี้ยงแมงดานา
- ให้เลือกเอาที่โล่งแจ้งใกล้แหล่งน้ำแต่น้ำท่วมไม่ถึง ประการสำคัญต้องเป็นสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน อาจจะเป็นมุมใดมุมหนึ่งสนามหลังบ้านก็ได้ เพราะบ่อเลี้ยงแมงดานาใช้พื้นที่ไม่มากนัก ทำเลที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด เช่น ท้องนา บึง หรือหนองน้ำตื้น ๆ และเป็นบริเวณที่มีแมลงชุกชุม
- สูตรสำเร็จในการวางผังบ่อเขาว่าไม่มีด้านยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง ยกตัวอย่าง ขนาด 3×4 เมตร หรือ 4×5 เมตร รวมพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร จะสวยที่สุด สำหรับความลึกของบ่อจะอยู่ในราว 1-1.5 เมตร ไม่ควรมกหรือน้อยกว่านี้
- พื้นที่บ่อที่ก่อจากซีเมนต์กันน้ำรั่วน้ำซึมได้นั้น ด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อน้ำเป็นหลุมลึกสักจุดหนึ่ง เพื่อเป็นที่รวมของเสียจะง่ายต่อการดูดกำจัดเพื่อทำความสะอาด
- หลังจากนั้นก็หาต้นพืชเล็ก ๆ เช่น ต้นกก หญ้า หรือต้นโสน มาปลูกภายในบ่อให้ดูเป็นธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นที่วางไข่ของแมงดา
- ใช้ไม่ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนปักเสารอบทั้ง 4 ด้าน และทำคานไว้ด้านบน เป็นลักษณะโรงเรือน และมุงด้วยหญ้าคาเพื่อใช้บังแดด
- ใช้ตาข่ายตาถี่ขนาดที่แมงดาไม่สามารถบินหนีออกไปได้มาขึงไว้โดยรอบทุก ๆ ด้าน รวมทั้งด้านบนด้วย ในโรงเรือนหาโพรงไม้เลื่อยออกเป็นท่อน ๆ นำมาแขวนไว้ประมาณ 4-5 ท่อน เพื่อใช้เป็นที่อาศัยของแมงดา
- ขาดไม่ได้ คือ ชานบ่อโดยรอบให้กว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนนี้ไม่ต้องเทซีเมนต์แต่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดิน เพื่อที่เราจะปลูกต้นไม้น้ำใช้เป็นที่พักอาศัยของแมงดานาได้บ้างอาจจะปลูกต้นกก ผักบุ้ง หรืออะไรก็ได้ที่คิดว่าเลียนแบบธรรมชาติได้มากที่สุดนั่นแหละ นอกจากนี้บ่อเลี้ยงต้องขึงตาข่ายตาไม่ใหญ่กว่า 1 ซม. ป้องกันไม่ให้แมงดานาบินหนี หรือมีหนูเข้าไปลักกินแมงดานาส่วนหลังคาต้องกันแดดกันฝนได้ดี
- จากทำบ่อ และบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้ว ก็จัดการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานาลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำสะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดีที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 ซม. แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมียตามตำราเขาว่า 1 ต่อ1 ดีที่สุด แต่ที่นี้ราคาแมงดานาตัวผู้เป็น ๆ นั้นค่อนข้างจะแพงเอาเรื่อง ดังนั้นสัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็น่าจะได้ผลดีพอสมควร
การหาพันธุ์แมลงดานามาเเพาะลี้ยง เพื่อขยายสายพันและจำหน่าย
- สามารถหาซื้อได้ตามตลาดโดย การเลือกซื้อตัวแก่ เพื่อนำมาปล่อยเลี้ยงในบ่อ ไม่นานก็จะออกไข่ และสามารถนำไข่นั้นไปขยายพันธุ์ต่อไปได้
- สามารถจับลูกแมลงดานามาเลี้ยงโดยการใช้สวิงไปซ้อนตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งจะได้แมลงดานามาหลายรุ่น ทั้งเล็กเละใหญ่ เวลาเลี้ยงนั้นก็แยกตามขนาด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากินกันเองตอนแมลงดานาลอกคาบ
- การหาไข่แมลงดานาตามแหล่งน้ำธรรมชาติ กอหญ้า กอกก หรือต้นไม้เล็กๆซึ่งอาจจะเจอไข่ของแมลงดาได้ แล้วนำมาเพาะเลี้ยงต่อไป หรือไม่ก็สามารถสั่งซื้อตามกลุ่มหรือฟาร์มที่เพาะเลี้ยงแมลงดานามาก่อน ซึ่งแบบนี้จะง่ายสำหรับมือใหม่เพราะมีที่ปรึกษาด้วย ทุกวันนี้มีการโพต์ขายมากพอสมควร สามารถหาเลือกซื้อได้เลย
การเลี้ยงแมลงดานา ตั้งแต่ระยะไข่ถึงตัวเต็มวัย (ตัวแก่)
- ระยะไข่
หลังจากที่ไข่ออกมาแล้วประมาณ 1-5 วัน ไข่จะออกเป็นสีนำตาลเข้มๆ พอวันที่ 5-7 ไข่จะเต่งเต็มที่ สีของไข่จะจางลงเป็นสีเทาๆ พอวันที่ 8 ปลายยอดไข่จะเปิดออกจากนั้นก็จะเป็นตัวเล็กกระโดดลงน้ำ - ระยะตัวอ่อน
เมื่อออกจากไข่มาแรกๆ ตัวจะป้อมๆ สั้นๆ มีสีเหลืองอ่อน ซึ่งในระยะแรกมันจะไม่กินอาหารอะไร เนื่องจากมีไข่แดงสำรอง หลังจากนั้น 2-3 วันถึงจะเริ่มกินอาหาร - ระยะลอบคาบ
แมลงดานั้นจะลอกคาบประมาณ 5 ครั้ง เพื่อเพิ่มขนาดของลำตัวและความยาว ซึ่งก่อนจะลอกคาบแมลงดาจะไม่กินอาหาร และจะเกาะอยู่ตามกอหญ้าหรือ กิ่งไม้ จากนั้นตัวของแมลงดานาจะค่อยๆ ลอกคาบ จนถึงประมาณ 5 ครั้ง ก็จะเป็นตัวเต็มวัย มีปีกและมีกลิ่นฉุน ซึ่งขนาดของตัวผู้และตัวเมียก็จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนมากจตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
การให้อาหารระหว่างเลี้ยงแมลงดานา
อาหารของแมลงดานานั้น ได้แก่ สัตว์ที่อาคัยอยู่ในน้ำ และ จำเป็นจะต้องมีชีวิตด้วย เพราะแมลงดานานั้นจะไม่กินของที่ตายแล้ว และการกินอาหารแต่และวัยก็จะแตกต่างกันออกไป
- แมลงดานา ระยะเวลาตัวเล็ก ใชนช่วงนี้อาหารที่ให้จะเป็นพวก ลูกอ๊อดต่างๆ เช่น ลูกกบ ลูกเขียด กุ้ง และปลา เป็นต้น ในวัยเล็กนี้แมลงดานาจะกินอาหารจุมาก สำหรับการให้อาหารต้องให้เป็นเวลาด้วย และควรให้ช่วงเช้ามืด และตอนหัวค่ำ เพราะมันจะเงียบเหมาะแก่การกินอาหาร ส่วนจะให้มากให้น้อยนั้นผู้เลี้ยงต้องมั่นสังเกตด้วยตัวเองว่ากินแล้วหมดไหม
- แมลงดานา ระยะเวลาวัยรุ่นถึงตัวโตสเต็มวัย สำหรับการให้อาหารในช่วงนี้นั้น จะเป็นพวก กุ้ง หอย ปูและ ปลา หรือ จะกบ เขียดก็ได้ โดยสามารพให้อาหารวันล่ะ 1 ครั้ง ส่วนการให้มากให้น้อยนั้น ขึ้นอยู้กับประมาณแมลงดาที่เลี้ยงแต่ล่ะบ่อ สำหรับปูนานั้นเราสามารถให้ได้เลยไม่จำเป็นต้องหักขาออก เอาออเฉพาะกล้าม
ศัตรูของแมงดานาในบ่อเลี้ยง
นอกจากพรรคพวกของมันกินกันเองแล้วแทบจะไม่มีอะไรเลย เว้นแต่มดดำและเชื่อราเท่านั้นที่มีปัญหาต่อไข่ต่อแมงดานา มดดำกินไข่ ส่วนเชื้อราทำให้ไข่ฝ่อส่วนเห็บน้ำที่เกาะตามท้องหรือบริเวณคอแมงดานาตัวเต็มวัยนั้น ไม่ทำให้แมงดานาตาย เพียงแต่จะโตช้าหรืออ่อนแอเท่านั้น จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อตัวที่โตช้าหรืออ่อนแอนี่แหละจะตกเป็นอาหารของตัวอื่น ๆ ตรงนี้ไม่อยากสรุปนะว่า การเพาะเลี้ยงแมงดานานั้นง่าย ทั้ง ๆที่ดูแล้วง่ราย การลงทุนค่าอาหารก็แสนจำต่ำ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ แล้วหน้าหงายแล้วหลายราย แต่เชื่อเถอะว่านี้มีคนทำสำเร็จแล้วแน่นอน เพียงแต่ว่าเขายังไม่เปิดตัว เข้าตำราไม่อยากดังนั่นเอง
ข้อควรระวัง
แมงดานาทุกตัวจะมีปากดูดสำหรับเจาะเหยื่อเพื่อฉีดน้ำย่อยก่อนที่จะดูดกินกลับไป และส่วนของปากดูดนี้จะมีเข็มพิษที่เรียกว่า “เหล็กหมาด” มีพิษคล้ายกับแมงป่องอย่างไรก็อย่างนั้นจะจับจะต้องก็ให้ระวังกันด้วย
แหล่งที่มาอ้างอิง : Sarakaset.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ