บทความเกษตร » เลี้ยงแพะมือใหม่ยังไงให้ประสบความสำเร็จ แบบละเอียด

เลี้ยงแพะมือใหม่ยังไงให้ประสบความสำเร็จ แบบละเอียด

14 กรกฎาคม 2022
988   0

เลี้ยงแพะมือใหม่ยังไงให้ประสบความสำเร็จ แบบละเอียด

เลี้ยงแพะมือใหม่ยังไงให้ประสบความสำเร็จ

เลี้ยงแพะมือใหม่ยังไงให้ประสบความสำเร็จ


สวัสดีครับวันนี้ เราจะมาพูดถึงการ เลี้ยงแพะมือใหม่ยังไงให้ประสบความสำเร็จ สำหรับ “แพะ” นั้นถือเป็นสัตว์เลี้ยงน่าสนใจและน่าศึกษาอีกประเภทหนึ่งนะครับ เพราะว่าสามารถเลี้ยงเพื่อขายได้ทั้งเนื้อ,และ สายพันธุ์ แถมราคายังดีอีกด้วย แพะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่องที่สุดในจำนวนสัตว์ชนิดที่ใกล้เคียงกันและตอนนี้ก็เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในกลุ่มเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ มีทั้งเลี้ยงแบบเป็นรายได้เสริมและเลี้ยงแบบเป็นอาชีพหลักเปิดเป็นฟาร์มเลยก็มี ที่สำคัญต้นทุนในเรื่องของอาหารก็ถูกด้วย ซึ่งวันนี้เราจะมาอธิบายตั้งแต่เริ่มต้นของการเลี้ยงไปจนถึงขายกันเลยครับ อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่ที่เพิ่มก้าวเข้ามาเลี้ยงแพะไม่มากก็น้อยครับ




ทำความเข้าใจกับสายพันธุ์แพะก่อนเลี้ยง

ทางกรมปศุสัตว์ ได้มาการวิจัยปรับปรุงสายพันธุ์แพะที่มาการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อให้เหมาะสม ทั้งพันธุ์แท้และลูกผสมเพื่อให้เจริญเติบโตได้เร็ว ให้น้ำหนักที่ดี ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศด้วย ซึ่งมีสายพันดังนี้

  • แพะพันธุ์แองโกลนูเบียน (Aaglonubian)

    แพะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักแรกเกิด 2-5 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม ( 3 เดือน ) 15 กิโลกรัม
    ลักษณะเด่น ดั้งจมูกมีลักษณะโด่งและงุ้ม ใบหูยาวและปรกลง ขนสั้น นุ่มละเอียด เป็นมัน
    ลักษณะเฉพาะ ของแพะสายพันธุ์นี้คือตัวสูงใหญ่ ขาเล็ก หูยาว สันจมูกโด่งงุ้ม อาจจะมีเขาหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีเขาจะเป็นเขาขนาดเล็กเอนแนบติดหลั หัว สามารถทนต่ออากาศร้อนได้ดี นิยมเลี้ยงทั้งเป็นแพะเนื้อและแพะนม เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น จะให้น้ำนมน้อยกว่า แต่น้ำนมจะมีไขมันมากกว่า และจะมีขายาวซึ่งช่วยให้เต้านมอยู่สูงกว่าระดับพื้นมาก ..ทำให้ง่ายต่อการรีดนม และยังช่วยให้เต้านมไม่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากหนามวัชพืชเกี่ยวแพะพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น ดำ เทา ครีม น้ำตาล น้ำตาลแดง และมีจุดหรือด่างขนาดต่างๆได้ผลผลิตน้ำนมประมาณ 1.5 ลิตร/วัน ระยะเวลาให้น้ำนมประมาณ 165 วัน เมื่อโตเต็มที่เพศเมียจะมีน้ำหนักประมาณ 60-65 ก.ก. เพศผู้จะมีน้ำหนักประมาณ 79-85 ก.ก.ส่วนสูงอาจสูงถึง 90 ซ.ม.

  • แพะพันธุ์บอร์ (Boer)
    แพะพันธุ์บอร์ (Boer)

    เป็นแพะพันธุ์เนื้อขนาดใหญ่ จากประเทศแอฟริกาใต้ ลักษณะเด่นคือ มีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง ใบหูยาวปรก ทางกรมปศุสัตว์ได้มีการนำเข้ามา เมื่อปลายปี พ.ศ.2539 เป็นแพะเหนื้อขนาดใหญ่ น้ำหนักดี ลักษณะเด่นคือมีลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดงเข้ม ใบหัวยาวปรก น้ำหนักแรกเกิด 4 กก. หย่านมน้ำหนักประมาณ 20 กก. ตัวโตเต็มที่เพศผู้ 90 กก. เพศเมีย 65 กก.

  • แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen)

    เป็นแพะพันธุ์นม สีขาวทั้งตัว หูใบเล็กตั้ง หน้าตรง เพศผู้โตเต็มที่ ประมาณ 75 กก. เพศเมีย 60 กก. ให้ผลผลิตน้ำนมประมาณ 2.2 กก.ต่อวัน ระยะเวลา 200 วัน

  • แพะพันธุ์หลาวซาน (Laoshan)

    เป็นแพะพันธุ์นม จากประเทศจีน มีลักษณะคล้ายพันธุ์ซาเนน เพศผู้โตเต็มที่ ประมาณ 80 กก. เพศเมีย 60 กก. ให้ผลผลิตน้ำนมประมาณ 2.2 กก.ต่อวัน ระยะเวลา 200 วัน

  • แพะพันธุ์อัลไพน์ (Alpine)

    เป็นแพะพันธุ์นม สีน้ำตาลหรือดำ ใบหูเล็กตั้ง หน้าตรง มีแถบสีข้างแก้ม เพศผู้โตเต็มที่ ประมาณ 75 กก. เพศเมีย 55 กก. ให้ผลผลิตน้ำนมประมาณ 2.0 กก.ต่อวัน ระยะเวลา 200 วัน

  • แพะพันธุ์ทอกเก็นเบิร์ก (Toggenburg)

    เป็นแพะพันธุ์นม ลำตัวสีช็อกโกแบต ใบหูตั้ง หน้าตรง มีแถบสีขาวข้างแก้ม เพศผู้โตเต็มที่ ประมาณ 75 กก. เพศเมีย 55 กก. ให้ผลผลิตน้ำนมประมาณ 2.0 กก.ต่อวัน ระยะเวลา 200 วัน

อย่างไรก็ตาม ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าแพะเลี้ยงสามารถแบ่งออกได้หลัก ๆ 2 ประเภท ได้แก่ แพะเนื้อ กับแพะนม ซึ่งทั้ง 2 จะมีความแตกต่างกันอยู่คือ




  • แพะเนื้อ
    เมื่อมีการเทียบกับสัตว์เคี้ยวเอื้องประเภทอื่น เช่น โค หรือแกะ แพะถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากที่สุด โปรตีนย่อยได้ง่ายและไวกว่า ส่วนเนื้อที่เป็นลูกแพะอายุก่อนหย่านมมีน้ำหนัก 6 – 8 กิโลกรัมจะรสชาติดีมาก ซึ่งโอกาสจับขายจะมีอายุตั้งแต่ 5 – 6 เดือน รวมน้ำหนักได้ที่ 25 กิโลกรัม
  • แพะนม
    เป็นสายพันธุ์ที่มีคุณค่าทางอาการใกล้เคียงกับนมวัว แต่โดดเด่นมากกว่าคือนมแพะจะย่อยง่าย ไขมันกระจายตัวได้ดีเพราะเม็ดไขมันมีขนาดเล็กกว่า ทำให้ร่างกายคนสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ดีมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันที่น่าสนใจ อย่างกรด Caprylic, Capric และ Caproic ช่วยรักษาอาการภาวะดูดซึมสารอาหารบกพร่อง และกรดอะมิโนจำเป็นอย่าง Aspartic acid, Histidine, Phenylalanine ที่ช่วยบำรุงกระดูกของผู้สูงวัย ผู้ป่วย หรือผู้ที่แพ้นมวัว

การสร้างโรงเรือนสำหรับการเลี้ยงแพะให้ดีนั้น มีเทคนิคในการสร้างโรงเรือนดังนี้นะครับ

  • พื้นที่ตั้งคอกควรอยู่ในที่เป็นเนินน้ำไม่ท่วมขังหรือสร้างให้สูงกว่าพื้นดินตามความเหมาะสมหรือประมาณ 1-2เมตร
  • บันไดทางขึ้นคอกควรทำมุมเป็นมุม 45 องศา
    แพะพันธุ์ทอกเก็นเบิร์ก (Toggenburg)
  • พื้นคอกควรทำเป็นร่องเว้นระยะห่าง 1.5 เซนติเมตร หรือจะปูด้วยพื้นแสลทปูนก็ได้ เพื่อให้มูลหรือปัสสาวะของแพะร่วงลงมาพื้นด้านล่างได้ จะได้ทำให้พื้นของคอกแพะแห้งและมีความสะอาดตลอดเวลา
  • ผนังคอกคอกสร้างแบบโปร่งให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ใช้ความสูงประมาณ 1.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แพะกระโดดข้ามได้
  • สำหรับหลังคาโรงเรือนนั้นสามารถสร้างได้หลายแบบครับ มีทั้งแบบเพิงหมาแหงน หรือหน้าจั่วควรให้เหมาะสมกับสภาพอากาศหรือต้นทุนในการสร้างของเราครับ ควรให้หลังคาโรงเรือนสูงจากคอกประมาณ 2 เมตร จะใช้ใบจากหรือสังกะสีก็ได้ครับ
  • สำหรับพื้นที่ในการเลี้ยงแพะแต่ล่ะคอกนั้น แพะแต่ละตัวต้องการพื้นที่ส่วนตัวล่ะ1-2ตารางเมตร ซึ่งแล้วแต่ขนาดตัวของแพะ สามารถแบ่งคอกในโรงเรือนได้ตามการใช้งานต่างๆเช่น คอกแม่แพะอุ้มท้อง,คอกสำหรับคลอดลูกแพะ,คอกอนุบาลแพะครับ
  • รั้วคอกแพะควรสร้างด้วยไม้ไผ่หรือลวดตาข่าย ไม่ควรใช้รั้วลวดหนามน่ะครับเดี๋ยวจะทำให้แพะพลาดไปโดนได้ ให้ปักเสาปูนทุกระยะ 3-4 เมตรเพื่อความแข็งแรงของรั้ว หรือปลูกต้นกระถินสลับกับไม้ไผ่ก็ได้เพื่อความประหยัด


Cr: บ่าวอีสาน เมืองน้ำดำ

การเลี้ยงแพะสามารถเลี้ยงได้หลายแบบ

  • การเลี้ยงแบบปล่อย
    คือการเลี้ยงแบบปล่อยให้แพะออกในตอนเช้าหาอาหารกินในแปลงผักในฤดูหลังเก็บเกี่ยวหรือกินหญ้าในแปลงแล้วก็ต้อนกลับเข้าคอกในตอนเที่ยง หรือว่าจะปล่อยให้ออกหาอาหารกินในตอนบ่าย แล้วต้อนกลับเข้าคอกในตอนเย็น ในแปลงผักหรือแปลงหญ้าควรมีร่มเงาหรือต้นไม้ใหญ่ไว้ให้แพะได้มีที่หลบแดดหรือฝนด้วยครับ
  • การเลี้ยงแบบขังคอก
    คือการเลี้ยงไว้ในคอกแล้วทำรางเพื่อตัดหญ้าหรืออาหารมาให้กินในคอก หรือตัดใบไม้ต่างๆเช่น ต้นกระถิน,มะขามเทศหรือใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนำมาเลี้ยงแพะได้ ภายในคอกต้องมีน้ำและแร่ธาตุให้แพะสามารถกินได้ตลอดเวลา
  • การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช
    โดยการเลี้ยงแพะร่วมกับการปลูกพืชหรือไร่สวนต่างๆเช่นการเลี้ยงแพะในสวนยางพาราหรือปาล์ม และมะพร้าวเป็นต้น เพื่อให้แพะได้กินวัชพืชในแปลงในสวน และก็จะได้ประโยชน์คือได้ปุ๋ยจากมูลแพะนั่นเอง ซึ่งทั้งสองอย่างเมื่อผสมผสานกันแล้วก็ทำให้สร้างรายได้ทั้งสองทางได้อีกด้วยครับ




ซึ่งสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเองที่เป็น การเลี้ยงแพะมือใหม่ โดยอาจจะพิจารณาจากวัตถุดิบอาหารจากแหล่งธรรมชาติก่อนและสภาพแวดล้อมที่เลี้ยงเป็นหลัก แล้วค่อยทำการขยายต่อไปในอนาค

อาหารสำหรับเลี้ยงแพะ
เลี้ยงแพะมือใหม่ยังไงให้ประสบความสำเร็จ แบบละเอียด 

  • หญ้า เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าแพงโกล่า เป็นต้น
  • พืชตระกูลถั่ว เช่น ฮามาต้า คาวาเคต กระถิน เป็นต้น
  • ไม้พุ่ม เช่น ใบพุทรา ใบปอสา ใบมะขามเทศ เป็นต้น
  • อาหารสำเร็จรูป

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับการเลี้ยงแพะและแนวทางการป้องกันโรค

โรคพยาธิ

โรคพยาธิในแพะ จะทำให้แพะไม่เจริญอาหาร น้ำหนักลดสุขภาพของแพะไม่สมบูรณ์และ โรคพยาธิบางชนิดอาจทำให้แพะท้องร่วงได้ พยาธิที่พบในตัวแพะส่วนใหญ่จะเป็นพยาธิตัวกลม,พยาธิเส้นด้าย,พยาธิตัวตึด,พยาธิใบไม้ในตับและเชื้อบิด

สำหรับผู้ที่เลี้ยงแพะไม่ว่าจะมือใหม่ หรือ มือเก่านั้น ควรจะต้องถ่ายพยาธิแพะทุกๆ 3 เดือน โดยใช้ยาถ่ายพยาธิที่จำหน่ายทั่วไป ตามร้านค้า ทั้งแบบกรอก (กำจัดพยาธิภายนอก) และแบบฉีด (กำจัดพยาธิภายในผิวหนัง)

โรคแท้งติดต่อ 

ซึ่งในแพะมักเกิดจากเชื้อ Brucella melitensis คนก็สามารถติดโรคนี้ได้จากการบริโภคน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม เช่น ครีม เนย ที่ได้จากแพะที่เป็นโรคและไม่ได้ผ่านขบวนการฆ่าเชื้อโรคก่อน
อาการ
   
แพะเกิดการแท้งลูกหรือคลอดลูกที่ไม่ค่อยจะแข็งแรงออกมาและมักจะมีน้ำเมือกไหลมาจากช่องคลอดนานเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ เดินกะโผลกกะเผลก เต้านมอักเสบ น้ำหนักลด ขนแห้งและเป็นหมัน
การติดต่อ   โดยการสืบพันธุ์ การเลียอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวอื่น  การกินอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนอยู่ เชื้อนี้จะมีในนน้ำเมือกสัตว์ปัสสาวะ และซากลูกสัตว์ที่แท้งออกมา

โรคมงคล่อเทียม หรือโรคเมลิออยโดซีส

ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะพบโรคนี้ในประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้นสามารถติดคนและสัตว์ได้
อาการ   ปวดหัว เบื่ออาหาร ปวดตามตัว และมีอาการทางระบบหายใจรวมทั้งมีไข้ ไอ บางครั้งมีเลือดปน เจ็บหน้าอก มีแผลหลุมในช่องจมูกมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและอาจตายได้หากไม่ได้รับการรักษา
การติดต่อ   จากการสัมผัสเชื้อโดยตรง การหายใจ หรือการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ และสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดหรือของเหลวจากร่างกาย ของคน หรือสัตว์ที่ติดเชื้อ

ช่องทางการจำหน่ายแพะ

การซื้อ-ขาย แพะ ในปัจจุบัน

  • จำหน่ายขนาดอายุ3 เดือน ขึ้นไป หรือ น้ำหนัก 20 กก. ขึ้นไป
  • เพศผู้ คิดราคาตามน้ำหนักตัว กิโลกรัมละ 50-60 บาท
  • เพศเมีย คิดราคาตามน้ำหนักตัว กิโลกรัมละ 100-120 บาท
  • เพศเมียคัดทิ้ง คิดราคาตามน้ำหนักตัว กิโลกรัมละ 50-60 บาท
  • จำหน่ายในรูปแพะสด
  • จำหน่ายในรูปพร้อมรับประทาน



บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ