เทคโนโลยีด้านการเกษตร » การปลูกยางพารา บํารุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา

การปลูกยางพารา บํารุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา

23 ตุลาคม 2023
1186   0

การปลูกยางพารา บํารุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา

การปลูกยางพารา

ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นสินค้าเกษตรที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศ ซึ่งเดิมส่วนใหญ่นิยมปลูกในภาคใต้ และภาคตะวันออกบางจังหวัดเรียกว่าพื้นที่ปลูกยางเดิม ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางใหม่ไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งยางพาราเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี แม้ในสภาพพื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีการปลูกพืชไร่อายุสั้นมานาน รวมถึงมีปริมาณน้ำฝนน้อย เช่น ในภาคอีสาน



สายพันธุ์ยางพารา

ปัจจัยที่พิจารณาในการเลือกพันธ์ยาง

  • ความต้องการของเกษตรกร ที่จะเลือกพันธุ์ยางปลูกว่าต้องการผลผลิตน้ำยางหรือเนื้อไม้
  • การระบาดของโรค ให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงปลูกพันธุ์ยางที่อ่อนแอต่อโรคระบาดในเขตพื้นที่ที่ปลูก
  • พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ความลึกของหน้าดินตื้น ระดับน้ำใต้ดินสูง ให้พิจารณาตามช้อจำกัดของพันธุ์ที่ระบุไว้แต่ละพันธุ์
  • ความแรงลม พื้นที่ปลูกที่มีลมแรงควรหลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์ที่ไม่ต้านทานลม

พันธุ์ยางแนะนำ

พันธุ์ยางชั้น 1 ที่แนะนำในเขตปลูกยางใหม่ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร มีดังนี้

  • กลุ่ม 1 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลัก การเลือกปลูกพันธุ์ยางกลุ่มนี้ ควรมุ่งเน้นผลผลิตน้ำยาง ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 404, สถาบันวิจัยยาง 251 สถาบันวิจัยยาง 226, BPM24, RRIM 600
  • กลุ่ม 2 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ เป็นพันธุ์ที่ให้ทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ โดยให้ผลผลิตน้ำยางสูงและมีการเจริญเติบโตดี ลักษณะลำตันตรง และให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูง ได้แก่ พันธุ์ RRII 118, PB 235
  • กลุ่ม 3 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลผลิตเนื้อไม้สูงเป็นหลัก มีการเจริญเติบโตดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูงมาก ผลผลิตน้ำยางจะอยู่ในระดับต่ำกว่าพันธุ์ยางในกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 เหมาะสำหรับเป็นพันธุ์ที่จะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการผลิตเนื้อไม้ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา 50,AVROS 2037, BPM 1

การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง

ทำการไถพลิก และไถพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมทั้งเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับปลูกสร้างสวนยางสำหรับพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า 15 องศา จะต้องมีการวางแนวปลูกตามขั้นบันได

การวางแนวปลูก

  • การกำหนดระยะปลูก การกำหนดระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควรเป็น 2.5 x 7 เมตร หรือ 3 x 7 เมตรโดยมีต้นยาง 91 ตันไร่ หรือ 76 ตันไร่ ตามลำดับ สำหรับระยะปลูกยางในพื้นที่ลาดเทควรเป็น 3 x 8 เมตร
  • การกำหนดแถวหลัก การกำหนดระยะปลูกของต้นยางควรวางแถวหลักตามแนวทิศตะวันออก หรือ ตะวันตก ควรวางแถวหลักให้ขวางทางการไหลของน้ำเพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน
  • การขุดหลุม เมื่อปักไม้ชะมบตามระยะปลูกแล้ว ทำการขุดหลุมด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบโดยตลอด หลุมที่ขุดต้องมีขนาด 50 x 50 x 50 เชนติเมตร ควรใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) อัตรา 170-200 กรัม รองกันหลุมและปุ๋ยอินทรีย์ 3 – 5 กิโลกรัม/หลุม ใส่ไว้ด้านบน

วิธีปลูก

การปลูกยาง ควรเลือกยางชำถุง 1-2 ฉัตร แก่เต็มที่ และควรใช้มีดเฉือนกันถุงออกประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมแล้วกรีดด้านข้างของถุงให้ขาดออกจากกัน แต่ยังไม่ดึงถุงออก กลบดินจนเกือบเต็มหลุมแล้วจึงดึงถุงพลาสติกออกระวังอย่าให้ดินในถุงพลาสติกแตก กลบดินจนเสมอปากหลุมและอัดดินให้แน่น โดยให้ดินบริเวณโคนตันยางสูงกว่าเล็กน้อยเพื่อไม่ให้น้ำขังในหลุมปลูก

ฤดูปลูก

ปลูกในช่วงตันฤดูฝน ระหว่างเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคมโดยทันแผ่นตาไปทางทิศตะวันตก ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่เหนือระดับผิวดินเล็กน้อย และควรปลูกซ่อมก่อนหมดฤดูฝนอย่างน้อย 2 เดือน และไม่ควรปลูกช่อมเมื้อต้นยางอายุ 2 ปีขึ้นไป แต่ถ้าจะปลูกซ่อมควรใช้ต้นยางที่มีอายุใกล้เคียงกัน

การปลูกยางพารา



การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย

  • ระยะก่อนเปิดกรีด เนื่องจากดินปลูกยางพาราของประเทศส่วนใหญ่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเขตปลูกยางใหม่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยยางได้แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินช่วยอุ้มความชื้น ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-12 สำหรับดินร่วนเหนียวสูตร 20-10-17 สำหรับดินร่วนทรายอัตราและเวลาใส่ปุ๋ยตามอายุของต้นยาง
  • ระยะหลังเปิดกรีด เมื่อต้นยางเปิดกรีดได้แล้ว ยังมีความจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยต่อไปทุกปี เพื่อให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ โดยการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 30-5-14 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงตันฤดูฝนและปลายฤดูฝน ใส่ปุ๋ยบริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยางที่มีรากดูดอาหารหนาแน่นแล้วคราดกลบ และควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 2-3 กก./ต้น/ปี ร่วมกับปุ้ยเคมีอัตรา แนะนำ

การตัดแต่งกิ่งยางอ่อน

ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในช่วงต้นฤดูแล้ง ควรตัดกิ่งแขนงให้ชิดลำต้นในระดับต่ำกว่า 2 เมตร เริ่มตั้งแต่ยางอายุ 1 ปี ไม่โน้มต้นยางลงมาตัดแต่ง เพราะจะทำให้เปลือกแตกน้ำยางไหลหรือหักได้ ใช้ปูนขาว หรือปูนแดง หรือสีทาบริเวณแผลที่ตัด

โรคยางพารา

ช่วงยางแตกใบอ่อน พบโรคราแป้ง (oidium) มาก ใบอ่อนจะบิดงอ มีสีดำแล้วร่วง ใบเพสลาดจะมีแผลขอบเขตไม่แน่นอน บริเวณแผลจะมีขุยของเส้นใยสีขาวเทาบนด้านล่างของแผ่นใบ ใบแก่แผลจะมีรอยสีเหลืองชีด เฉพาะบริเวณที่เชื้อราเข้าทำลาย ดอกยางจะมีปุยเชื้อราสีขาวปกคลุม ก่อนที่จะดำแล้วร่วง ป้องกันรักษาโดยการปลูกพันธุ์ต้านทานโรค และปล่อยให้ใบร่วง ซึ่งต้นยางจะแตกใบใหม่ออกมาแล้วทำการใส่ปุ๋ยบำรุง หรือใช้สารป้องกันกำจัดโรค

ช่วงฤดูฝน พบโรคราสีชมพูมาก ซึ่งในระยะแรก เปลือกบริเวณคาคบจะปริแตกมีน้ำยางไหล และมีเส้นใยเชื้อราสีขาวคล้ายใยแมงมุมบนรอยแผล ระยะต่อมาถ้ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสม เส้นใยของเชื้อราจะรวมกันตามผิวเปลือกมองเห็นเป็นสีชมพู เมื่อน้ำยางแห้งจะมีราดำเกิดขึ้นเห็นเป็นทางสีดำ ใต้บริเวณแผลจะมีการแตกกิ่งใหม่ขึ้น ใบยางจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และเกิดอาการตายหรือหักโค่นบริเวณที่เป็นโรค ป้องกันรักษาได้โดยการปลูกพันธุ์ต้านทานโรค ดูแลรักษาสวนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ปลูกพืชอาศัยเป็นพืชร่วมยาง เช่น ขนุน และใช้สารป้องกันกำจัดโรค

การเสริมรายได้ในสวนยาง

การเสริมรายได้สามารถดำเนินการได้โดยปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์ระหว่างแถวยางตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงโค่นยาง โดยพิจารณา ตลาด แรงงาน เงินทุน ขนาดพื้นที่ สวนยาง สภาพแวดล้อม และ ลักษณะนิสัยของเกษตรกร การเสริมรายได้ในสวนยางมีหลายประเภท

1. การปลูกพืชเสริมรายได้ในช่วงยางอายุไม่เกิน 3 ปี

  • พืชลัมลุก เช่น สับปะรด ข้าวไร่ ข้าวโพดหวาน กล้วย หญ้ารูซี่โคไร เป็นต้น ควร ปลูกห่างจากแถวยางไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร
  • กล้วยและมะละกอแนะนำให้ปลูก 1 – 2 แถว และห่างจากแถวยางประมาณ 2.5 เมตร ใส่ปุยบำรุงตามชนิดพืชที่ปลูก
  • ควรปลูกพืชล้มลุกในระบบหมุนเวียน
  • พืชที่ไม่แนะนำ ได้แก่ มันลำปะหลัง อ้อย ละหุ่ง ยกเว้นพื้นที่ที่ต้องการปลูก ให้ปลูกห่างจากแถวยางไม่ต่ำกว่า 2 เมตร

2. การปลูกพืชเสริมรายได้ที่ทนต่อสภาพร่มเงาสวนยาง

  • พืซลัมลุกที่แนะนำได้แก่ ไม้ดอกสกุลหน้าวัว ไม้ดอกสกุลเฮลิโกเนีย ไม้วงศ์ชิง ชิง ข่า ขมิ้น ผักพื้นบ้าน ควรปลูกห่างจากแถวยางประมาณ 1.5 เมตร
  • ผักเหลียงหรือผักเหมี้ยง แนะนำให้ปลูกห่างจากแถวยางประมาณ 2.5 เมตร
  • พืชสกุลระกำ เช่น ระกำ สละเนินวง สละหม้อ และหวายตะค้าทองแนะนำให้ปลูกกึ่งกลางแถวยาง ระยะระหว่างตัน ประมาณ 5 – 6 เมตร
  • กระวาน แนะนำให้ปลูก 1-2 แถว ระยะระหว่างตัน ประมาณ 3 เมตร
  • ไม้ป่าที่แนะนำให้ปลูก ได้แก่ สะเดาเทียว ทัง พะยอมสะเดา ยมหอม เคี่ยม มะฮอกกานี ตะเคียนทอง ยางนา ยมหิน ทุเรียนป่า แดง ประดู่ ควรปลูกกึ่งกลางระหว่างแถวยางระหว่างตันประมาณ 8 เมตรหรือปลูกในหลุมว่างในสวนยางในช่วงยาง อายุ 1-3 ปี

3. การเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง

  • สัตว์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ แกะ โค สัตว์ปีก และผึ้ง
  • ควรปล่อยแกะและโคเข้าไปในสวนยางเมื่อยางอายุ 1 ปี และ 3 ปีขึ้นไป ตามลำดับ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนากูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตู้ ปณ. 21 บ้านนานกเค้า ตำบลหัวยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทรศัพท์ 04274 7458-9www.royal.rid.go.th/phuphan




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ