แนวทางการเลี้ยงโคเนื้อ เพื่อผลิตลูกจำหน่าย
การเลี้ยงโคเนื้อ เพื่อผลิตลูกจำหน่าย การเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพที่เกษตรกรมีความคุ้นเคย มีความรู้และประสบการณ์ในการเลี้ยงมาเป็น เวลานาน การเลี้ยงสามารถดำเนินการได้ในทุกภูมิภาคของประเทศ และเนื่องจากความต้องการในการ บริโภคเนื้อโคมีมากในขณะที่ผู้เลี้ยงน้อย ตลาดจึงมีความต้องการสูง ทำให้อาชีพการเลี้ยงโคเนื้อไม่มีปัญหา ทางด้านราคาและการจำหน่ายเหมือนสินค้าเกษตรอื่นๆ นอกจากนี้แล้วโคเนื้อยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มจาก เศษวัสดุเหลือใช้ และผลพลอยได้ในทางด้านการเกษตรที่มีอยู่มากในท้องถิ่นต่างๆ ให้มากขึ้นได้
เงื่อนไขความสำเร็จ
- มีสถานที่เพียงพอในการจัดทำคอก หรือโรงเรือนสำหรับการเลี้ยงดูและแปลงพืชอาหารสัตว์ ที่ตั้งของโรงเรือนหรือคอกเลี้ยงต้องอยู่ในพื้นที่ดอน ไม่มีน้ำท่วมขัง
- ต้องมีแหล่งทุ่งหญ้าธรรมชาติสำหรับปล่อยเลี้ยงโค หรือสามารถจัดหาหญ้าหรืออาหารหยาบ อื่นๆ ให้กินได้เพียงพอตลอดทั้งปี
- ต้องมีพ่อพันธุ์สำหรับคุมฝูง หรืออยู่ใกล้หน่วยที่ให้บริการผสมเทียม
- ต้องอยู่ใกล้ตลาดรับซื้อ-ขายโค หรือมีตลาดรองรับที่ชัดเจน
เทคโนโลยีและกระบวนการผลิต
- พันธุ์โค
เกษตรกรสามารถเลือกพันธุ์โคได้หลายพันธุ์ เช่น โคพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละ พื้นที่ อาทิ โคขุน (ภาคใต้) โคขาวลำพูน (ภาคเหนือ) โคลาน (ภาคกลาง) และโคอีสาน เป็นต้น หรือโคเนื้อ ลูกผสมที่เกิดจากโคพื้นเมืองกับโคพันธุ์บราห์มัน หรือพันธุ์ชาร์โรเลล์ เป็นต้น โดยคุณสมบัติของโคแต่ละพันธุ์ ก็จะแตกต่างกันไป เช่น โคพื้นเมืองจะมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง ผสมติดง่ายให้ลูกเร็ว ลูกดกและเลี้ยงง่าย แต่จะมีการเจริญเติบโตช้า ตัวเล็ก ให้ผลผลิตเนื้อน้อยกว่าโคลูกผสม ซึ่งมีโครงร่างใหญ่
- การจัดการเลี้ยงดู
เกษตรกรควรเริ่มต้นจากการเลี้ยงโคสาวหรือโคสาวอุ้มท้องหรือโคลูกติด จำนวนที่เลี้ยงจะขึ้นอยู่ กับต้นทุนที่เกษตรกรมีแต่เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนและแรงงานที่ใช้ในการเลี้ยง เกษตรกรควรเลี้ยงตั้งแต่ 5 ตัวขึ้นไปต่อครอบครัว การเลี้ยงจะใช้วิธีกึ่งขังกึ่งปล่อย โดยจะปล่อยโคออกหากินพืชหญ้าในแหล่งธรรมชาติ ทุ่งหญ้าสาธารณะหรือทุ่งหญ้าที่ปลูกสร้างขึ้น แล้วนำเข้าขังคอกในช่วงตอนเย็นโดยจะมีโรงเรือนหรือไม่มีก็ได้ แต่ต้องมีเพิงพักที่สามารถป้องกันแดดและฝนได้หลังคาทำด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเช่น หลังคาหญ้าจาก หรือแฝก พื้นจะเป็นพื้นดินอัดแน่น หรือพื้นซีเมนต์ก็ได้แต่ต้องมีความสะดวกในการทำความสะอาด และสามารถขนย้ายมูลโคออกได้สะดวก ในคอกพักหรือโรงเรือนควรมีรางน้ำ และรางอาหารให้เพียงพอ 79 กับจำนวนโคที่เลี้ยง ต้องมีน้ำสะอาดและแร่ธาตุก้อนให้โคกินตลอดเวลา ในช่วงที่พืชอาหารหยาบขาดแคลน ควรมีการเสริมพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีหรืออาหารข้นให้กินเพิ่มเติม โดยเฉพาะในระยะการเลี้ยงที่สำคัญ เช่น ช่วงแม่โคอุ้มท้อง หลังคลอดและช่วงลูกโคให้เกษตรกรพิจารณาจากลักษณะรูปร่าง และความสมบูรณ์ ของโคเป็นหลัก ถ้าโคผอมก็ควรเสริมอาหารเพิ่มเติม แม่โคจะเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 1.5 ปี ในโค พื้นเมืองและ 2 ปี ในโคลูกผสม ถ้าเกษตรกรต้องการใช้พ่อพันธุ์คุมฝูง พ่อพันธุ์ 1 ตัวที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป จะ คุมฝูงแม่พันธุ์ได้ 25-30 ตัว แต่ถ้าพ่อพันธุ์อายุน้อยจะคุมฝูงได้น้อยลง ถ้าเกษตรกรใช้ในการผสมเทียม จะ ต้องคอยสังเกตการณ์เป็นสัดของแม่โค ซึ่งจะมีวงรอบการเป็นสัดประมาณ 21 วัน ควรผสมให้ได้ตามวงรอบ แม่โคตั้งท้องนานประมาณ 280-290 วัน ในช่วงคลอดผู้เลี้ยงควรเข้าช่วยเหลือในการคลอด และให้ลูกโคกิน นมน้ำเหลืองจากแม่โคโดยเร็วที่สุด ลูกโคจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 6-7 เดือน โคทุกตัวควรได้รับการดูแล สุขภาพ ควรถ่ายพยาธิเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง และต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคคอ บวม โรคปากและเท้าเปื่อย ตามโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอการจำหน่ายโคเนื้อจะสามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่ลูก โคหย่านมเป็นต้นไป แม่โคพื้นเมืองจะสามารถให้ลูกโคปีละ 1 ตัว เป็นอย่างน้อย แต่ถ้าเป็นโคลูกผสมจะ สามารถให้ลูกได้ 1-2 ตัวต่อปี เป็นอย่างน้อย
ต้นทุนและผลตอบแทน
- ต้นทุน ในการเลี้ยงโคเนื้อ 1 ตัว ช่วงระยะเวลาการเลี้ยงดู 5 ปี เกษตรกรจะมีค่าใช้จ่าย คือ ค่าพันธุ์โคสาว หรือโคสาวอุ้มท้อง ค่าอาหารเสริมและแร่ธาตุ ค่าเวชภัณฑ์ ยาบำรุงยาถ่ายพยาธิ ค่าพืชพันธุ์อาหารสัตว์ค่าปรับปรุงซ่อมแซมคอก โรงเรือน รางน้ำ รางหญ้า และอื่นๆ รวมเฉลี่ย ประมาณ 30,000-32,000 บาทต่อตัว
- ผลตอบแทน เกษตรกรจะมีรายได้จากการขายลูกโคหย่านมในช่วงเวลา 5 ปี แม่โค 1 ตัว จะให้ลูกประมาณ 3-4 ตัว จำหน่ายได้ในราคาตัวละประมาณ 8,000-10,000 บาท มีผลตอบแทนประมาณ 32,000-40,000 บาท และจะมีรายได้เพิ่มเติมจากการจำหน่ายมูลโคแห้งประมาณ 6,000 บาทต่อตัว โดยจะเริ่มคุ้มทุนในปีที่ 2 หรือ 3 อย่างไรก็ตาม ต้นทุนและผลตอบแทนดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งที่เลี้ยงและสภาวะ การตลาดรวมทั้งขนาดการผลิต
สำหรับ แนวทางการเลี้ยงโคเนื้อ เพื่อผลิตลูกจำหน่าย นั้น อาจจะต้องใช้ระยะเวลาและเงินทุนที่ข่อนข้างสูง สำหรับเกษตรกรที่งบน้อยอาจจะค่อยเลี้ยงที่ล่ะ 1-2 ตัว แล้วค่อยขยายพันธุ์เอาก็ได้ครับ
แหล่งที่มา : กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทรศัพท์ : 0-2629-8972 โทรสาร : 0-2281-6599
E-mail : ats@opsmoac.go.th www.ops.moac.go.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ