บทความเกษตร » เลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์ แบบระเอียดสำหรับมือใหม่

เลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์ แบบระเอียดสำหรับมือใหม่

5 กรกฎาคม 2022
1145   0

เลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์ แบบระเอียดสำหรับมือใหม่

เลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์

เลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์





การเลี้ยงหอยขมถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในครอบครัว  และเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากมาย ในวันนี้เราจะขอนำเสนอ เลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์ มาฝากกัน สำหรับใครที่สน ใจและกำลังมองหาวิธีการสร้างรายได้ให้กับ ครอบครั ว ก็ลองศึกษาแล้วทำตามได้เลย

เลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์

แม้ว่าในปัจจุบันเราสามารถหาหอยขมได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติได้อยู่ แต่ในบางพื้นก็เริ่มหายากและไม่พอต่อการบริโภคแล้ว ถึงเป็นเหตุผลให้มีการเพาะเลี้ยงหอยขมเพื่อการจัดจำหน่ายกันมากขึ้นโดยการเลี้ยงหอยขมนั้นเลี้ยงง่ายและสร้างรายได้ดีทีเดียว

ลักษณะทั่วไปของหอยขม

หอยขม เป็นหอยฝาเดียว อาศัยในน้ำจืด จะมีขนาดเล็ก มีเปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม เปลือกหนาและแข็งมาก บริเวณผิวชั้นนอกของหอยขมเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกจะเป็นแผ่นกลม ตีนใหญ่ จะงอยปากจะสั้นทู่ ตาของหอยขมมีสีดำอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างโคนหนวด ในส่วนของหอยขมตัวผู้นั้นมีหนวดเส้นข้างขวาพองโตกว่าเส้นข้างซ้าย เป็นลักษณะพิเศษของหอยขมเลยก็ว่าได้ หอยขมจะมีอวัยวะเพศที่พิเศษ

หอยขม

เนื่องจากมีอวัยวะเพศทั้งผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน หอยขมจะเป็นหอยที่ออกลูกเป็นตัว และผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเอง ในระบบการย่อยอาหารหรือทางเดินอาหารของหอยขมแบ่งเป็น 3 ส่วน หลอดอาหารส่วนต้น หลอดอาหารส่วนกลาง และหลอดอาหารส่วนท้าย ซึ่งทางเดินอาหารจะบิดขดเป็นเกลียว บริเวณของหลอดอาหารส่วนต้นนั้น จะเริ่มต้นตั้งแต่จะงอยปาก ช่องปาด และหลอดกระเพาะอาหาร โดยที่จะงอยปากจะมีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่มีหูรูด ส่วนบริเวณช่องปากนั้นตะมีฟันเป็นแผ่นๆคล้ายกระดูกอ่อน เป็นซี่เล็กๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นฟันในการบดเคี้ยวอาหาร ต่อไปก่อนถึงหลอดกระเพาะอาหารจะมีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อคล้ายลิ้นที่ทำหน้าที่กั้น และกวาดอาหารให้ออกหรือเข้าภายในประเพาะอาหาร ส่วนหลอดกระเพราะอาหารเป็นสำหรับเป็นที่พักของอาหารที่ผ่านการบดเคี้ยวมาแล้ว มีลักษณะคล้ายกระเปราะ ส่วนถัดไปจะเป็นลำไส้ ซึ่งจัดเป็นทวารหนัก ซึ่งจะมีขนาดใหญ่มีมากกว่าส่วนอื่นๆ อวัยวะส่วนที่สำคัญเช่นกันคือ หัวใจของหอยขมจะอยู่บริเวณข้างถุงปอด และไต โดยหัวใจจะมีเส้นเลือดใหญ่ และเส้นเลือดฝอยที่คอยส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ระบบหายใจของหอยขมจะมี 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเป็นแผงเหงือกที่มีลักษณะคล้ายใบไม้ขนาดเล็กอยู่บริเวณช่องรอบหัวใจ ส่วนอวัยวะอีกอันที่ใช้หายใจ คือ เยื่อบางๆบริเวณแมนเติลที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมาย และมีถุงเล็กๆที่ทำหน้าที่แทนปอดได้ ส่วนของระบบประสาทของหอยขม จะประกอบด้วยเส้นประสาทจำนวนทั้งหมด 6 คู่ ที่แตกแขนงไปทั่วส่วนต่างๆของร่างกายหอยขม ซึ่งอวัยวะที่มีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ ได้แก่ แผ่นเท้า หนวด จะงอยปาก และลูกตา




ขั้นตอนในการเตรียมบ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงหอยขม

การเตรียมบ่อในการเลี้ยงหอยขม สำหรับบ่อปูนกลมการเตรียมบ่อใหม่ ก็จะทำการฆ่าเชื้อและกลิ่นของปูน เหมือนกันกับการเตรียมบ่อ เลี้ยงกุ้งฝอย

  • เลือกวงบ่อซีเมนต์ ตามขนาดที่ต้องการหรือให้เหมาะสมกับพื้นที่เลี้ยง เพื่อความสะดวกสบายในการบริหารจัดการ  เมื่อเลือกขนาดบ่อซีเมนต์สำหรับใช้เลี้ยงหอยขมได้แล้ว ทำการปรับพื้นที่ให้เหมาะสมและวางแนวของบ่อซีเมนต์ ตามเหมาะสม ตามด้วยทำการเทพื้นปูนต์ก้นบ่อให้เรียบร้อย ควรมีการวางระบบระบายน้ำออกด้วยเพื่อสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่
    เลี้ยงหอยขมบ่อซีเมนต์
  • กรณีที่เป็นบ่อใหม่ ให้ใส่น้ำให้เต็มบ่อปูนแล้วตัดต้นกล้วย ใส่ลงไปแช่ในบ่อผ่าเป็นซึกกลางแล้วตัดเป็นท่อนๆ แช่ไว้ในบ่อประมาณ 15-25 วันเป็นอย่างน้อย เพื่อลดค่าความเป็นด่างของปูนต์ที่เราเทพื้น
  • เมื่อแช่ต้นกล้วยในบ่อครบกำหนดแล้ว ให้ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำที่เราแช่ต้นกล้วยจากออกจากบ่อปูนให้หมด ล้างทำความสะอาดให้ดี แล้ว ใส่น้ำลงไปให้เต็มบ่อปูน  พักน้ำไว้ 1 วัน น้ำที่ใช้ถ้าเป็นน้ำปะปาก็จะมีดีกว่าน้ำบาดาล แต่ว่าก็จะมีข้อเสียคือมีคลอรีนเพราะฉนั้นจึงจำเป็นต้องแช่บ่อเพื่อให้คลอรีนเจือจางก่อน
  • ต่อมาก็ให้เราหาพืชน้ำในท้องท้องถิ่นของเรามาลงบ่อเพื่อประหยัดต้นทุน แต่ก่อนที่เราจะนำพืชน้ำต่างที่หามาลงในบ่อควรล้างให้สะอาดก่อนนำมาใส่ในบ่อ เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ที่ติดมากับพืชที่จะนำมาใส่
    เลี้ยงหอยขม
  • เพียงเท่านี้ก็เราก็เสร็จเรียบร้อยสำหรับขั้นตอนในการเตรียมบ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์แล้วครับ ขั้นนอนต่อมา ก็เป็นการหาหอยขมมาปล่อยในบ่อได้เลย  สำหรับหอยขมที่จะนำมาลงเลี้ยงนั้น หาได้ง่ายๆ ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป หรือเลือกซื้อตามตลาดที่แม่ค้าพ่อค้านำมาขาย ซึ่งจะทดลองเลี้ยงจากการซื้อมา 1-2 กิโลกรัม ก่อนก็ได้ แล้วค่อยขยายไปบ่ออื่นๆ ต่อไป

“การเลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์ นั้นไม่ต้องใส่ดินลงในบ่อเหมือนการเลี้ยงทั่วไป เพื่อให้นำใส่ตลอด”

อัตราการปล่อยหอยขม

ปล่อยหอยขมลงในบ่อกลม  ประมาณ 60-100  ตัว ต่อบ่อ  เลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ตัวใหญ่ๆ ไว้ก็จะเป็นการดี หาได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือซื้อได้ตามชาวบ้านที่หามาขายตามตลาดเราก็คัดเอา  ตัวสวยๆ



อาหารสำหรับเลี้ยงหอยขมระบบน้ำใส

สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยง หอยขม นั้นเนื่องจากการเลี้ยงเป็นระบบน้ำใส การให้อาหารจึงเน้นไปทางอาหารเม็ดเป็นหลังเพราะจะทำใหระบบน้ำในการเลี้ยงใสอยู่ตลอดเวลา ในที่เราใช้ อาหารกุ้ง เป็นหลัก ซึ่งในอาหารกุ้งนั้น จะมีโปรตีนถึง 40% จะทำให้หอยขมที่เราเลี้ยงนั้นเจริญเติบโตได้ไว และตัวอ้วนน่ารับประทาน หรือ ข้าวสวยก็ได้ (ซื้อมา 10 บาท) ตำให้ละเอียด ปั้นเป็นลูกเล็กขนาดเท่าหัวแม่มือ ในการให้อาหารนั้นควรจะให้พอดีกับหอยในบ่อ ไม่ควรให้มากเกินไป เพราะจะทำให้ระบบน้ำเน่าเสียได้ ที่สำคัยควรมีการเปลี่ยนน้ำ เมื่อเห็นว่ามีมูลหอยขม ที่ก้นบ่อมากเกินไป ระยะเวลาในการให้อาหารหอยขมนั้น วันล่ะครั้งก้เพียงพอแล้วครับ จะเช้าหรือเย็นก็ได้เอาที่เราสะดวกเลยครับ

ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 2 เดือน ได้เริ่มจับขาย แต่ต้องทยอยจับ เพราะหอยขมโตไม่เท่ากัน และมีหลายขนาด ควรเลือกหอยที่โตเต็มที่ก่อน ส่วนตัวเล็กยังคงต้องเลี้ยงต่ออีกระยะหนึ่งจึงจะจับขายได้ ครั้งหนึ่งจะจับขายประมาณ 30-50 กิโลกรัม ราคาขายจะอยู่ที่ 50-60 บาท นับได้ว่าเป็นรายได้ดีเลยทีเดียว

เลี้ยงหอยขมระบบน้ำใสในวงบ่อซีเมนต์

สำหรับหอยขมแลัวไม่ได้นิยมนำเอามาทำแต่อาหารอย่างเดียว สำหรับใครที่อยากเลี้ยงไว้เพื่อไปจำหน่ายให้คนที่เขาชอบสะเดาะเคราะห์ก็มีมากมายตามวัดทั่วไปได้บุญด้วยเป็นอาชีพด้วย  และก็ยังเลี้ยงไม่ยากแถมสร้างรายได้ดีเลยทีเดียว  และถ้าใครชอบทานหอยขมก็มากมายเมนูที่จะคิดสรรกันมาทำ ไม่ว่าจะเป็นตำหอยขม,ยำหอยขม,ซั้วหอยขม,ก้อยสุกหอยขม,ลาบหอยขม,แกงอ่อมหอยขม,แกงคั่วหอยขม,หอยขมผัดฉ่า,หอยขมผัดพริกแกง เมนูเด็ดๆทั้งนั้น ไม่ลองไม่รู้แต่ที่แน่ๆครับ




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ