บทความเกษตร » การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ

การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ

30 พฤศจิกายน 2022
1155   0

การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ

การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ

หมูหลุมคืออะไร ต่างจากการเลี้ยงหมูปกติอย่างไร? บทความนี้เราจะมาเผย การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ ที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน ว่าทำไมแต่ละแห่งบอกว่า จัดการง่าย ไม่เหม็น ทำอย่างไร ต้องขุดหลุม หรือมีคอก ฯลฯ อ่านบทความนี้จบ ไปหาหมูมาเลี้ยงได้เลย เป็นรายได้เสริมได้เลย รวยแน่นอนครับ..




อาชีพหลัก ของประชากรในประเทศไทยคือการทำเกษตรกรรมและลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงหมู ก็เป็นอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรนิยมทำกันมาก ปัจจุบันการเลี้ยงหมู มีต้นทุนสูง และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มูลของหมูส่งกลิ่นเหม็นรบกวนก่อนข้างมาก จากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกษตรกรรมธรรมชาติของประเทศเกาหลี ทำให้เกษตรกร ไทยมีทางเลือกในการเลี้ยงหมู โดยมีต้นทุนต่ำ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากมูลของหมูได้อีก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจาก ต้นทุนในการเลี้ยงต่ำ เพราะใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น พืชผักหลายชนิดที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นการลดค่ขนส่ง ทางเลือกดังกล่าวคือ การเลี้ยงหมูหลุมแบบธรรมชาติ

การสร้างโรงเรือน (คอกหมูหลุม)

1) พื้นที่ใช้ในการสร้างโรงเรือน ควรเป็นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก และทิศตะวันตก วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ควรเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น โครงหลังคาทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าคา หรือหญ้าแฝก ใบจาก

2) พื้นที่สร้างคอกคำนวณจาก หมู 1 ตัว ต่อพื้นที่ 1.2 ตร.ม

  • คอกขนาด 2 x 3 เมตร เลี้ยงหมูได้ 5 ตัว
  • คอกขนาด 3 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 10 ตัว

3) ขุดหลุมลึก 70 – 90 ชม. ก่อกำแพงล้อมรอบภายในทั้ง 4 ด้าน ด้วยอิฐหรือไม้ไผ่ เพื่อป้องกันดินพังลงหลุม

4) ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงในหลุม ประกอบด้วย

  • แกลบหรือขี้เลื่อย 100 ส่วน
  • ดินส่วนที่ขุดออกหรือปุยคอก (ขี้วัวแห้ง) 10 ส่วน
  • เกลือ 0.3 – 0.5 ส่วน
  • รำละเอียด 1 ส่วน
  • น้ำหมักชีวภาพ หรือ พ.ด.2

แบ่งความลึกของบ่อเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความลึกประมาณ 25 – 30 เซนติเมตร โดยแต่ละชั้นมีขั้นตอน ดังนี้

  •  ใส่แกลบหรือขี้เลื่อยลงให้มีความสูงประมาณ 25 – 30 ชม.
  • ใส่ดินที่ขุดออกหรือปุ๋ยคอกตามสัดส่วนที่กำหนดแล้ว โรยด้วยรำละเอียดและเกลือ
  • รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ หรือ พ.ด.2 ขึ้นพอหมาดๆเมื่อทำครบ 3 ชั้นแล้ว ให้ใช้แกลบหรือขี้เลื่อยโรยปิดหน้าหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำหมูเข้าเลี้ยง

พันธุ์หมู

ควรใช้หมูลูกผสม 3 สายเลือด จะโตเร็วหรือหมูพันธุ์พื้นเมืองก็ได้แต่อาจโตช้ากว่าเล็กน้อย โดยเริ่มนำเข้าเลี้ยงเมื่อหมูมีอายุ 1 เดือนครึ่ง (6 สัปดาห์) น้ำหนัก 15 – 20 กก.




การจัดการเลี้ยงดูหมูหลุม

  • หลังจากนำหมูเข้าเลี้ยงในช่วงเดือนแรก ให้ใช้อาหารเม็ดของหมูอ่อนหลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นรำ ปลายข้าวและผสมพืชหมัก เศษผัก หรือผักต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น เช่น หยวกกล้วยหมัก ใบปอสา ผักโขม ผักบุ้ง เป็นต้น
  • ควรมีน้ำหมักสมุนไพรหรือน้ำหมักผลไม้ อัตรา 2 ช้อนต่อน้ำ 10 ลิตร ให้กินตลอดเวลา
  • ใช้น้ำหมักชีวภาพ หรือ อี.เอ็ม. รดพื้นคอกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อลดกลิ่น
  • หากแกลบหรือขี้เลื่อยภายในหลุมยุบ ก็ให้นำแกลบใหม่เติมเข้าไปจนเสมอปากหลุม

การให้อาหาร

ช่วงหมูเล็ก (หลังจากหย่านมจนถึงน้ำหนัก 30 กก.) ใช้อาหารเม็ดของหมูอ่อน หรืออาจจะผสมอาหารหมูเล็กประกอบด้วยรำอ่อน ปลายข้าว กากถั่วเหลืองและปลาปน หรือใช้น้ำปลาหมักหรือน้ำหอยเชอรี่หมักแทนปลาป่นโดยผสมกับอาหารข้นให้หมูกินเมื่อน้ำหนักมากกว่า 30 กก. ให้รำปลายข้าว ผสมกับพืชหมัก จะทำให้หมูเจริญเติบโตได้ดี

การทำอาหารหมักสำหรับหมูหลุม

วัสดุอุปกรณ์

  • ถังหรือถุงดำสำหรับใส่อาหารหมัก
  • ผลไม้หรือพืชผักสีเขียวทุกชนิด
  • น้ำตาลทรายแดง
  • เกลือเม็ด
  • พลาสติกหรือถุงอาหารสัตว์เก่า

อัตราส่วนการใช้

เศษผลไม้หรือพืชผักสีเขียว 100 กิโลกรัม ต่อน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 4 กิโลกรัม ต่อเกลือเม็ด 1 กิโลกรัม

ขั้นตอนและวิธีการทำ

หั่นผลไม้หรือเศษพืชผักออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด2-4 เซนติเมตร นำผลไม้หรือเศษพืชที่หั่นเรียบร้อยใส่ในถังหรือถุงดำแล้ว ใช้มือกดหรือใช้เท้าเหยียบให้แน่นและเรียบ โรยน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาลให้ทั่วและโรยเกลือเม็ดทับหน้าให้ทั่ว ปิดปากถังด้วยพลาสติกหรือถุงอาหารสัตว์เก่า และปิดด้วยฝาถังอีกครั้ง หมักทิ้งไว้ 8-12 วัน หากจำเป็นเร่งด่วนหมัก 4-5 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

หมายเหตุ ถ้าหมักอาหารจำนวน 100 กิโลกรัม และสามารถแบ่งการหมักออกเป็น 4 ชั้น ๆ ละ 25 กิโลกรัม โดยใช้อัตราส่วน ขั้นตอน และวิธีการทำดังที่กล่าวข้างต้น จะทำให้การหมักอาหารมีคุณภาพดียิ่งขึ้น

ข้อบ่งใช้ ใช้ตามอัตราส่วนที่ต้องการ เช่น อาหารหมัก80 กิโลกรัม ต่ออาหารสำเร็จ 20 กิโลกรัม หรือ อาหารหมัก70 กิโลกรัม ต่ออาหารสำเร็จ 30 กิโลกรัม เป็นต้น

อาหารสุกร (เพิ่มเติม)

  • อาหารสุกรธรรมชาติที่ชาวบ้านเลี้ยงในอดีต ใช้วิธีหั่นหยวกกล้วย เก็บผักหญ้าเศษอาหาร
  • จากการศึกษาการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรจีน เขาจะใช้เศษพืชผัก ยอดมันสำปะหลังสับเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทราย หรือกากน้ำตาล หมักในถุงดำขนาดใหญ่ อัตราหมัก 100 : 4 ทิ้งไว้ 4 – 5 วัน ก็นำไปเลี้ยงสุกร โดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุน โดยไม่ใช้อาหารสำเร็จรูปเลย
  • ผลการวิจัยของ ดร.สุริยา สานรักกิจ แห่งฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิจัยพบว่า เศยผักมี ปลอดสายพิษ 100 กก. หมักน้ำตาลทราบ หรือกากน้ำตาล 4 กก. และผสมเกลือ 1 กก. หมักในถุงดำไล่อากาสออก มัดปากถุงทิ้งไว้ 7 วัน จะได้ผักที่มีคุณภาพดี
  • อาจารย์ โช ฮาน คิว เจ้าตำราบอกว่า อาหารสุกรประมาณ 1 ใน 3 หรือประมาณ 30 % ควรเป็นพืชสีเขียว ดิน IM0 สามารถนำมาคลุกกับรำ และปลายข้าวนำไปผสมอาหารจากตลาดได้ครึ่งต่อครึ่ง อาจหมักกับหยวกกล้วย ที่สับเป็นชิ้นเล็กๆได้
  • การใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ตากแห้งบดเป็นผงรวมกัน เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้น ไพล ฝรั่งขึ้นก ลูกใต้ใบ ใช้ผักบด 1 กก. ผสมอาหารแห้งทุก 100 กก.

สอบถามรายละเอียดได้ที่
กองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ กรมปศุสัตว์โทร. 0 2653 4444 ต่อ 3373 โทรสาร 0 2653 4930 E-mail : drasa3@dld.go.th www.royal.did.go.th




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ