เทคโนโลยีด้านการเกษตร » วิธีการปลูกมะเขือยาว และการดูแลรักษาโรคต่างๆ

วิธีการปลูกมะเขือยาว และการดูแลรักษาโรคต่างๆ

17 ธันวาคม 2022
1668   0

วิธีการปลูกมะเขือยาว และการดูแลรักษาโรคต่างๆ

วิธีการปลูกมะเขือยาว

วิธีการปลูกมะเขือยาว


มะเขือยาว หรือ มะเขือม่วง เป็นพืชข้ามปี สามารถเจริญ เติบโตในดิน ทุกสภาพ ดินมีความเป็น กรดเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ปลูกได้ ตลอดปี และทั่วทุกภาค ของประเทศไทย มะเขือยาว เป็นพืชที่เรา ใช้ส่วนผล ในการบริโภค ใช้เป็นผักสด หรือประกอบ อาหารได้หลายชนิด และปัจจุบันสามารถส่งออกได้




ระยะปลูกมะเขือยาว

  • ระยะปลูกระหว่างต้น 70-80 เซนติเมตร
  • ระยะปลูกระหว่างแถว 90-100 เซนติเมตร

ขั้นตอนการเตรียมดิน

ไถดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วันย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวในอัตรา 100-300 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ้ยคอกคลุกเคล้าในแปลง ยกแปลงสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร เสร็จรดน้ำและคลุมด้วยพลาสติก เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืชก่อนปลูก 2 อาทิตย์

การเตรียมกล้า

ใส่ดินผสมลงในถาดกล้า (ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน) รดน้ำและหยอดเมล็ดลงในถาดหลุมๆละ 1 เมล็ด รดน้ำเช้าและเย็น

วิธีการปลูกมะเขือยาว

การปลูกมะเขือยาว

สำหรับขั้นตอนการปลูกนั้นนำกล้ามะเขือที่มีอายุ 35 วัน หรือที่มีใบจริง 3-4 ใบ มาปลูกตามหลุมที่กำหนด กลบดินและรดน้ำ

การให้น้ำ

ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ หลังย้ายกล้าทุกเช้า-เย็น เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง

การใส่ปุ๋ย

มะเขือยาวเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยมากดังนั้นหลักคือการรักษาระดับความสมดุลของสารอาหารตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโตยาวปุ๋ยคอกอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอกสัตว์ปีก ขี้โคขุน ขี้หมูเนื้อ ขี้ไก่เนื้อ ใช้โรยบริเวณรอบๆโคนต้นทุกๆ3เดือนในอัตรา1กระป๋องต่อต้น (ปริมาตร5ลิตร)หรือ200-300 กก./ไร่ ใช้ปุ๋ยเคมีในอัตรา1ช้อนโต๊ะต่อต้นสูตรปุ๋ยสำหรับมะเขือยาว N: P: K ส่วนผสมเช่น 5: 7: 40 ใช้ครั้งแรกเมื่อต้นมะเขือยาวสูง 30 ซม.และที่สองหลังจากชุดแรกของให้ผลแล้วในช่วง 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาพการเจริญเติบโตและปริมาณของผลมะเขือยาว




การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

  • วัชพืช กำจัดวัชพืชทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ย หรือเมื่อวัชพืชเกิดขึ้น
  • โรคผลเน่าแห้งสีดำหรือปลายผลดำ ป้องกันกำจัดโดยใส่ปูนขาวรองกันหลุม 1-2 ช้อนแกง/หลุม
  • โรคใบแห้ง โรคใบจุด โรคราแป้ง ป้องกันโดยรดด้วยน้ำสกัดชีวภาพสูตรสมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อรา ในอัตรา 30-40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน

โรคและแมลงศัตรูมะเขือยาว

โรคต้นและใบไหม้แห้ง (blight)
โรคต้นและใบไหม้แห้ง

โรคต้นและใบไหม้แห้งที่เกิดจากเชื้อ Phomopsis vexans เป็นโรคสำคัญที่ระบาดแพร่หลายและสร้างความเสียหายให้กับมะเขือยาวมากโรคหนึ่ง โดยจะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น อาการโคนเน่าคอดิน (damping-off) ของต้นกล้า อาการลำต้นเน่าหรือแผลสะเก็ด (stem canker) อาการใบไหม้แห้ง (leaf blight และอาการผลเน่า (fruit rot)

อาการโรค

โรคจะเกิดขึ้นกับต้นมะเขือยาวได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ในระยะที่ยังเป็นต้นกล้าหรือต้นอ่อนจะก่อให้เกิดอาการแผลสีนํ้าตาลหรือดำขึ้นที่บริเวณลำต้น ทำให้ต้นล้มใบเหี่ยวและแห้งตายทั้งต้นคล้าย damping-off สำหรับต้นโตอาการแผลจะเกิดที่โคนลักษณะเน่าแห้ง สีนํ้าตาลหรือเทา ทำให้ลำต้นลีบหรือคอดลงบางครั้งอาจเกิดอาการเปลือกแตกลอกลักษณะเป็นแผลสะเก็ดแคงเกอร์ หากแผลเกิดขึ้นจนรอบต้นจะทำให้ต้นและใบเหี่ยวแห้งทั้งต้น พร้อมกับจะสังเกตเห็นจุดสีดำเล็กๆ ซึ่งเป็นที่เกิดของสปอร์หรือโคนิเดีย(fruiting body) เป็นจำนวนมากเกิดทั่วไปตามบริเวณแผลดังกล่าว

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเชื้อปะปน หากไม่แน่ใจก่อนปลูกให้นำมาแช่ในนํ้าอุ่น 49 – 50 องศาเซลเซียส นาน 30 ที แล้วนำมาจุ่มลงในนํ้าละลายจุนสี (CuSO4) อีกทีหนึ่ง จากนั้นจึงค่อยนำไปปลูก
  2. เมื่อต้นกล้างอกพ้นพื้นดินถ้าเมล็ดมีเชื้อปะปนมาหรือในดินมีเชื้ออยู่อาจจะเกิดการติดเชื้อขึ้น เพื่อให้ปลอดจากโรคให้ฉีดพ่นต้นกล้าด้วยสารเคมีไธแรมหรือแคปแตน 50-60 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ทุกๆ 5-7 วัน และหลังจากย้ายกล้าไปปลูกในแปลงใหญ่แล้วหากเกิดโรคระบาดขึ้นให้พ่นด้วยสารเคมีมาเน็บ หรือแมนเซทดี ทุก 5-7 วัน จนกว่าจะพ้นระยะระบาดของโรค
  3. หลีกเลี่ยงการปลูกมะเขือซํ้าลงไปในแปลงหรือดินปลูกที่เคยมีโรคระบาดอย่างน้อย 3 ปี โดยนำพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่มะเขือยาวมาปลูกสลับ และเก็บทำลายเศษซากพืชที่พบว่าเป็นโรคและต้นมะเขือที่งอกหลังเก็บเกี่ยวแล้วให้หมด




โรคแอนแทรคโนสหรือผลเน่า (Colleto trichum fruit rot)

เป็นโรคที่ส่วนใหญ่จะพบเป็นกับต้นมะเขือที่อ่อนแอ ไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลที่ดี โดยจะทำความเสียหายกับลูกมะเขือที่โตเต็มที่หรือปล่อยไว้จนแก่คาต้นเกิดเป็นแผลเน่าดำ ร่วงหลุดจากต้น

อาการโรค

ลูกมะเขือที่โตเต็มที่หรือปล่อยทิ้งไว้จนแก่จะเกิดอาการแผลค่อนข้างกลมสีนํ้าตาล ยุบเป็นแอ่งจมลงไปในเนื้อ แผลที่เกิดอาจจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ หรือโตถึงครึ่งนิ้ว และถ้าเป็นมากจนแผลที่เกิดขึ้นมาชนต่อเชื่อมกันแผลก็อาจจะใหญ่กว่านั้น เมื่ออากาศชื้นจะพบว่ามีผงสปอร์หรือโคนิเดียของราเป็นสีชมพูเห็นได้ชัดเจน ลูกมะเขือที่ถูกเชื้อเข้าทำลายรุนแรงจะหลุดล่วงลงดิน เหลือส่วนที่เป็นก้านติดอยู่กันต้น ต่อมาอาจมีพวกเชื้อเน่าเละเข้าทำลายต่อทำให้เน่าทั้งลูก หรือไม่ก็เน่าแห้งเป็นสีดำ นอกจากบนลูกแล้ว เชื้อ C. melongenae อาจเข้าทำลายใบมะเขือทำให้เกิดอาการแผลจุดสีเหลืองหรือนํ้าตาลขึ้น แต่แผลที่ใบส่วนใหญ่จะไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นและผลผลิต นอกจากในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจริงๆ เท่านั้น

การป้องกันกำจัด

การป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสหรือผลเน่าของมะเขือ ทั้งวิธีปฏิบัติต่างๆ และการใช้สารเคมีสามารถทำได้โดยวิธีเดียวและชนิดเดียวกันกับโรคต้นและใบไหม้แห้งของมะเขือที่เกิดจากเชื้อ Phomopsis vexans

แมลงหวี่ขาว

แมลงหวี่ขาวในปุจจุบันนับว่าทวีความสำคัญต่อการปลูกมะเขือมากขึ้น มะเขือทุกชนิดได้รับความเสียหายโดยตรงจากแมลงหวี่ขาวมากขึ้น และที่สำคัญกว่านั้นแมลงหวี่ขาวยังเป็นพาหะนำโรคใบด่างเหลืองซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือสั้นลง และมีผลต่อคุณภาพของผลมะเขือด้วยแมลงหวี่ขาวระบาดได้ตลอดทั้งปี และจะรุนแรงมากในช่วงฤดูแล้งและร้อน ในปัจจุบันแมลงหวี่ขาวมีการต้านทานสารเคมีมากขึ้น โดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มใหม่ๆล่าสุด ต้องมีการใช้สารเคมีมากขึ้นเกือบเท่าตัว

การป้องกันกำจัด

  1. ตรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ พลิกดูบริเวณใต้ใบมะเขือ หากพบตัวเต็มวัยของแมลงหวี่ขาวเริ่มเข้ามาวางไข่ ให้เตรียมการใช้สารเคมี
  2. สารเคมีที่แนะนำได้แก่ แอสเซ้นด์ สตาร์เกิล โดยให้ใช้อัตราเป็นสองเท่าที่แนะนำในเพลี้ยไฟ และให้ใช้ร่วมกับไวต์ออย ในอัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หากมีการระบาดให้ฉีดพ่นทุก 5 วัน 2-3 ครั้ง

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่มีความสำคัญมากที่สุดชนิดหนึ่ง การระบาดของเพลี้ยไฟจะทำให้มะเขือหยุดการเจริญเติบโต ใบแข็งกระด้าง บิดเบี้ยวเสียหาย เพลี้ยไฟส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณยอดอ่อน ด้านใต้ใบ เมื่อมีการทำลาย จะเห็นด้านใต้ใบเป็นสีน้ำตาลแดง หากทำลายที่ผล ทำให้ผลเป็นจุดกระด้างเสียคุณภาพ

การป้องกันกำจัด

  • ตรวจดูด้านใต้ใบมะเขือบริเวณยอดอยู่เสมอ หากพบการทำลายให้วางแผนกำจัดทันที
  • สารเคมีที่แนะนำให้ใช้ได้แก่ สารอิมิดาโครพริด และ สารฟิโปรนิล

วิธีการปลูกมะเขือยาว

การเก็บเกี่ยว

มะเขือยาวสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดเวลาก่อนที่จะให้มีขนาดเต็มที่ โดยปกติมะเขือยาวจะให้ผลภายใน 60-70 ทยอยตัดทุก 2-3 วันครั้ง ในการตัดมะเขือยาวควรใช้กรรไกรที่สะอาดเนื่องจากขั้วอาจติดเชื้อโรคพืชได้ ตัดที่ขั้วโดยทยอยเก็บผลอ่อนที่โตได้ขนาดระยะส่งตลาด นำมาบรรจุใส่ถุง หรือเข่งรอส่งตลาด

ที่มา : wikipedia.org, www.sarakaset.com




บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ