เลี้ยงปลาไหลนา เป็นอาชีพเสริมดูแลง่ายขายได้ราคาดี
เลี้ยงปลาไหลนา
ปัจจุบันมีการ เลี้ยงปลาไหลนา กันอย่างแพร่หลายและมีการเลี้ยงกันหลายรูปแบบ เช่นการเลี้ยง ปลาไหลนาในบ่อปูนซีเมนต์ การเลี้ยงปลาไหลนาในคอนโด การเลี้ยงปลาไหลนาในล้อยาง รถจักรยานยนต์และการเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อพลาสติกโดยแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันซึ่งแหล่งลูก พันธุ์ที่นํามาใช้เลี้ยงส่วนใหญ่จะรวบรวมได้จากธรรมชาติ
ลักษณะทั่วไปของปลาไหลนา
ปลาไหลนามีชื่อสามัญว่า Swamp eelจัดเป็นปลาน้ําจืดชนิดหนึ่งที่ชอบอาศัยอยู่ในคูคลองหนอง บึงต่างๆชนิดของปลาไหลนาที่พบ ในประเทศไทย คือ Monopterusalbus, Zuiew (1973) มีรูปร่างลักษณะลําตัวกลมยาวคล้ายกับงูเป็นปลาไม่มีเกล็ด ตามีขนาดเล็ก คอป่องออก มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในคอหอยเป็นเส้นเลือดฝอย ซึ่งช่วยให้หายใจได้โดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไปไม่มีครีบใด ๆ ยกเว้นบริเวณปลายหาง จะมีลักษณะแบนยาวคล้ายใบพาย เมื่อยังเล็กมีครีบอก แต่โตขึ้นจะหายไป(วิกิพีเดีย, 2561)
การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่อาศัย
ในธรรมชาติของปลาไหลนาเป็นสัตว์ที่ชอบอาศัยตามพื้นดินโคลนที่มีซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสมอยู่ หรือบริเวณที่ปกคลุมด้วยวัชพืช เช่น หญ้าน้ําหรือบัวชนิดต่างๆ ปลาไหลนาสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยเป็นปลาประจําถิ่น (native species) ที่พบได้ในเขตร้อน (tropical area) (วิกิพีเดีย, 2561) ปลาไหลนาสามารถอาศัยอยู่ในสภาพพื้นที่แห้งแล้งไม่มีน้ําได้นานในฤดูร้อนธรรมชาติของปลาไหลนา จะขุดรูอาศัยลึก ประมาณ 1-1.5 เมตรและจะออกหาอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝนถัดไป (สุวรรณดีและคณะ, 2536)
สภาพปลาไหลนาในปัจจุบนและความต้องการปลาไหลนา
ปลาไหลนาในธรรมชาติเริ่มมีผลกระทบเนื่องจากความเจริญทางวัตถุที่คืบคลานเข้าสู่แหล่งน้ํา ทําให้สภาพคูคลอง หนอง บึง ปริมาณพื้นที่และปริมาณน้ําลดน้อยลง ทําให้ปลาไหลนาสูญหายไป จํานวนมาก อีกทั้งปัจจุบันมีการใช้สารเคมีที่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นทําให้ประชากร ของปลาไหลนาลดน้อยลง ในขณะที่ความต้องการปลาไหลยังมีความต้องการสูง ทั้งร้านอาหารและภัตตาคารโดยสามารถนํามาปรุงอาหารได้หลายอย่าง ปลาไหลนาที่มีชีวิต ราคาประมาณ 60- 300 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดและฤดูกาลและยังมีผู้แสวงบุญมักนําปลาไหลไปปล่อยตามวัดหรือ แหล่งน้ําธรรมชาติต่างๆเพื่อที่จะสะเดาะเคราะห์อีกด้วย (ชมรมเพื่อนเกษตร,ม.ป.ป.)
การกินอาหารปลาไหล
ปลาไหลนาขนาด 2.5 – 3.0 เซนติเมตรกินสิ่งมีชีวิตเล็กๆ คือไรแดงวันละ 2 ครั้งขนาดความ ยาว 5 เซนติเมตร เริ่มฝึกให้กนอาหารผงสสำเร็จรูปร่วมกับหนอนแดงจนอายุได้ 6 สัปดาห์ปลาจะมี ขนาด 8 – 10 เซนติเมตร เริ่มให้ปลาสดบด วันละ 2 ครั้ง และสามารถนําไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ตอไป ่ (ประพัฒน์,2561)
การอนุบาลลูกปลา อายุ 7-10 วัน
นำลูกปลาวัยอ่อนอายุ 7-10 วัน ที่ฟักออกเป็นตัวไปอนุบาลในกะละมังพลาสติกทรงกลม ปล่อยลูกปลาอัตราความหนาแน่น 350 ตัว ต่อตารางเมตร ใส่น้ำลึก 15 เซนติเมตร ใส่ต้นผักจอกเพื่อให้ลูกปลาเกาะ ควรมีการถ่ายเทน้ำ 2-3 วัน ต่อครั้ง อาหารใช้ไรแดง ให้กินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อมีอายุได้ 6 สัปดาห์ จะมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ก็จะกินเนื้อปลาบดได้ พร้อมฝึกให้กินอาหารสมทบ โดยฝึกให้กินอาหารกึ่งเปียกสำเร็จรูป โดยปั้นเป็นก้อนๆ ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ควรมีการคัดขนาดเพื่อช่วยลดการกินกันเองด้วย
การอนุบาลลูกปลา ขนาด 5-10 เซนติเมตร
เมื่ออนุบาลปลาจนได้ขนาด 5 เซนติเมตร ปลาจะมีขนาดปากที่กว้างขึ้น ลดไรแดง และให้อาหารสมทบวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น โดยปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกสัปดาห์เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกปลา นอกจากนี้ อาจผสมน้ำมันปลาหมึกเพื่อช่วยดึงดูดลูกปลาให้กินอาหารได้ดีขึ้น และควรมีวัสดุหลบซ่อนโดยใช้ท่อเอสล่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6/8 นิ้ว ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 20 เซนติเมตร บ่อละ 3-5 ท่อน ลูกปลาค่อนข้างตกใจได้ง่ายถ้ามีเสียงดัง ใช้เวลา 6 สัปดาห์ ก็จะได้ปลาขนาด 10 เซนติเมตร ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1-2 กรัม สามารถแยกลงบ่อเลี้ยงต่อไป
ขั้นตอนการเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อปูนซีเมนต์
-
การเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อปูนซีเมนต์สี่เหลี่ยม
การเตรียมอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาไหลนา ได้แก่ สร้างบ่อปูนซีเมนต์ขนาดตามต้องการและความเหมาะสมของพื้นที่ สูงประมาณ 70 เซนติเมตร ภายในบ่อฉาบปูนให้เรียบ และ มีท่อน้ําฝาปิดเจาะรูขนาดเล็กให้น้ําไหลออกได้รอบด้าน ใน ระดับ 50 เซนติเมตร บริเวณส่วนบนมีตาข่ายปิดเพื่อป้องกันปลาไหลหนีออกไป
สําหรับบ่อที่สร้างขึ้น ใหม่ควรนําต้นกล้วยหั่นเป็นท่อนใส่ลงในบ่อแช่ไว้ประมาณ 3-4 วันจากนั้นก็ใส่ดินเหนียวรองก้นบ่อ 1 ชั้น นําหนังวัวหรือหนังควายสดใส่เป็นชั้นที่ 2 นําฟางข้าวมาวางทับเป็นชั้นที่ 3 แล้วชั้นที่ 4 เป็นชั้นบนสุดนําดินมากลบให้เรียบ จากนั้นก็นําผักตบชวามาใส่ในบ่อ เลี้ยงปลาไหลนาและเตรียมกระบอกไม้ไผ่ที่เจาะรูมาวางไว้เพื่อให้ปลาไหลได้ทําเป็นที่อยู่อาศัย จากนั้นก็นําลูกปลาไหลนาขนาดเท่าๆกันมาใส่ ตารางเมตร ละ 50 ตัว พื้นที่บ่อขนาด 4×4 เมตร จะใส่ลูกปลาไหลนาประมาณ 800 ตัว ต่อ 1 บ่อ
ที่มา : บ่าวอีสาน เมืองน้ำดำ
ที่สําคัญน้ําที่จะนํามาใส่ในบ่อไม่ควรใช้น้ําประปาซึ่งมีกลิ่นคลอรีนอาจจะทําให้ปลาไหลตายได้จากนั้นก็ จัดหาอาหารให้ปลาไหลโดยธรรมชาติปลาไหลชอบกินทั้งพืชและสัตว์ ปลาไหลชอบกินอาหารที่มีกลิ่น คาวแรง เช่นไส้เดือน หากเป็นหอย ปลา ปูให้สับเป็นชิ้นเล็กใส่ภาชนะไว้ริมบ่อประมาณ 2 วัน ปลา ไหลก็จะกินอาหารจนหมดและให้อาหารเม็ดบ้างเพราะจะทําให้ปลาไหลเจริญเติบโตเร็วขึ้นโดยจะ เลี้ยงประมาณ 8-12 เดือน จะได้ปลาไหลขนาด 4-5 ตัว/กิโลกรัมโดยราคาตามท้องตลาดจะอยู่ที่ ประมาณกิโลกรัมละ 150 บาท (อนันต์,2561)
-
การเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อปูนซีเมนต์กลม
ในการเตรียมบ่อเพาะขยายพันธุ์ปลาไหล จะใช้วงบ่อซีเมนต์กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร จํานวน 2 วงบ่อ โดยวางวงบ่อซ้อนกัน บริเวณพื้นบ่อจะต่อท่อระบายน้ํา สําหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ําหลังจากนั้น บริเวณพื้นบ่อจะเทปูนปิดเนื่องจากปูนจะมีความเป็นกรด จะ ส่งผลต่อผิวหนังของปลาไหลจะทําให้เกิดแผลได้ก่อนปล่อยพันธุ์ ปลาไหลนาจะต้องล้างบ่อเพื่อลดความ เป็นกรดของปูนให้หมดก่อน โดยเปิดน้ําให้เต็มบ่อและสับต้นกล้วยเป็นชิ้นๆ ใส่ลงไป หมักแช่ทิ้งไว้นาน ประมาณ 7-14 วัน ถ่ายเทน้ําออกให้หมด ต้นกล้วยจะดูดซับความเค็มของปูนจนหมด
การใส่วัสดุลงในบ่อ โดยพื้นล่างของบ่อควรปูด้วยฟางข้าวให้ สูงประมาณ 30 เซนติเมตร (ฟางข้าวจะต้องแช่น้ําทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน) ฟางข้าวจะเป็นอาหารให้ ปลาไหลได้กินเมื่อฟางข้าวนั้นเริ่มผุเปื่อย ในขณะเดียวกันฟางข้าวที่ใส่ลงไปจะทําให้เกิดไรแดงและหนอนแดง ซึ่งเป็นอาหารของปลาไหล ชั้นต่อมาให้ใส่ดินเหนียวที่มีเนื้อละเอียด เนื่องจากถ้าเป็นดินที่ไม่มีความละเอียดพอมีเม็ดหินหรือทรายปนอยู่จะทําให้ปลาไหลเป็นแผลได้เทคนิคในการใส่ดินลงในวงบ่อซีเมนต์จะต้องใส่ให้มีความลาดเอียงจากต่ําสุดไล่ระดับไปจนถึงสูงสุดส่วนของดินที่ต่ําที่สุดมีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ส่วนสูงที่สุดประมาณ 30 เซนติเมตรซึ่งเป็นส่วนดินที่โผล่พ้นน้ําเพื่อให้ปลาไหลขึ้นมา หายใจและกินอาหารในเวลากลางคืนใส่น้ําลงไปให้ระดับน้ําสูงกว่าส่วนของดินที่ต่ําที่สุด ประมาณ 10 เซนติเมตร ใส่ผักตบชวาและแหนลงไปในวงบ่อซีเมนต์ เพื่อเป็นที่หลบอาศัยของลูกปลาไหลที่จะเกิดมา
สําหรับเสียบอาหารให้ปลาไหลกิน เช่น โครงกระดูกไก่ เศษเนื้อฯลฯ อิฐบล็อกจะทําให้อาหารไม่ลอยโผล่ขึ้นมาเหนือน้ําจะเน่าเปื่อยอยู่ใต้น้ําและไม่ส่งกลิ่นเหม็นเมื่อเตรียมบ่อเพาะขยายพันธุ์ปลาไหลนาเสร็จทุกขั้นตอนแล้วควรจะ ทิ้งบ่อเพื่อปรับสภาพอย่างน้อย 1 เดือนจึงจะปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงในบ่อเพาะได้ (อนันต์,2561)
-
การเลี้ยงปลาไหลนาในบ่อปูนซีเมนต์โดยใช้ท่อ PVC เป็นที่อยู่อาศัย
ในการเตรียมบ่อจะใช้บ่อซีเมนต์ขนาด 3×3 เมตร สูง 1.2 เมตรใส่น้ําในบ่อซีเมนต์ให้เต็มบ่อ แล้วนําต้นกล้วยมาตัดเป็นท่อน ๆจากนั้นก็นําไปแช่ในบ่อไว้ 15 วัน ทําเช่นเดิมอีกหนึ่งครั้งเพื่อเป็นการลดความเป็น กรด – ด่าง ของบ่อซีเมนต์ ( บ่อใหม่ ) นําต้นกล้วยออกทิ้งแล้วถ่ายน้ําออก จากนั้นก็ตากบ่อไว้ 7 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรคเมื่อตากบ่อครบ 7 วันแล้ว ก็นําน้ํามาใส่บ่อให้สูงประมาณ 4-5 นิ้ว นําท่อ PVC ที่เตรียมไว้ มาใส่ในบ่อ เพื่อให้เป็นที่อาศัยของปลาไหลโดยที่ไม่ต้องใส่โคลนลงในบ่อ
จากนั้นนําปลาไหลนาที่จับมาจากธรรมชาติปล่อยลงในบ่อแต่ต้องมีขนาดที่ใกล้เคียงกันอาหารที่ใช้เลี้ยงนั้นจะให้ปลา สับวันละ 1 มื้อ ในตอนเช้า จะถ่ายน้ําเดือนละ 2 ครั้ง หรือเมื่อน้ําเริ่มเสียต้องมีการแยกปลาไหลที่ตัว เล็กออกเลี้ยงไว้ต่างหากเพราะปลาจะกินกันเองเมื่อปลาไหลนาโตและได้ขนาดแล้วจะจําหน่ายที่บ้าน โดยจําหน่ายในราคากิโลกรัมละ 80 บาทข้อดีของการเลี้ยงแบบวิธีนี้คือ เป็นอาชีพเสริมที่ดีอีกอาชีพ หนึ่งเพราะมีต้นทุนต่ําขั้นตอนการเลี้ยงไม่ยุ่งยากเมื่อคัดปลาที่ไม่ได้ขนาดออกแล้วสามารถนํามาเป็น อาหารให้กับปลาไหลได้เพื่อลดการสูญพันธุ์ของปลาไหลนาตามธรรมชาติ(ภาสกร,2554)
โรคที่อาจเกิดกับปลาไหลนาและการป้องกัน
ปลาไหลที่เลี้ยงในบ่อมีปริมาณค่อนข้างหนาแน่น มีการให้อาหาร ถ้าจัดการไม่ดี คุณภาพของน้ำและดินอาจจะเน่าเสีย ปลาที่เลี้ยงอาจติดเชื้อแบคทีเรีย รา ได้ โรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเป็นแผลตามตัวที่มักพบในปลาขนาดใหญ่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas และ Pseudomonas punctata ปลาที่เป็นโรคจะมีผิวหนังบวมแดง บางตัวผิวหนังจะเปื่อยเป็นแผลลึกลงไปจนเห็นกล้ามเนื้อ
- โรคท้องบวม ส่วนใหญ่จะพบในปลาไหลขนาด 10-15 เซนติเมตร ปลาที่เป็นโรค ผิวหนังเป็นรอยช้ำตกเลือดสาเหตุจากสภาพแวดล้อมในบ่อปลาไม่ดี ทำให้ปลาอ่อนแอ
- โรคพยาธิ ที่เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวในระบบทางเดินอาหาร ปลาที่มีพยาธิในระบบทางเดินอาหารจะไม่กินอาหาร ซูบผอม
- การป้องกัน : ใช้ยาถ่ายพยาธิชนิดเมโทรนิดาโซล (Metronidasole) ขนาด 250 มิลลิกรัม จำนวน 10-15 เม็ด ผสมอาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกัน 3 วัน
ช่องทางตลาดในการขายปลาไหลนา
ปัจจุบัน ปลาไหลนา เป็นที่นิยมของคนพื้นบ้าน ในตลาดสดท้องถิ่น จะพบว่ามีแม่ค้านำปลาไหลมาวางขายทั้งในรูปปลาไหลนาที่มีชีวิต (ภาพที่ 6 หรือจัดทำความสะอาดให้ (ภาพที่ 7) พร้อมที่นำไปปรุงอาหาร แล้วแต่รสนิยมและความสะดวกของผู้บริโภค ในราคาระหว่าง 70-100 บาท ต่อกิโลกรัม นอกจากคนท้องถิ่นแล้ว ภัตตาคารและร้านอาหารต่างๆ ก็นิยมซื้อไปปรุงอาหารสำหรับลูกค้าขาประจำ ที่ชอบบริโภคปลาไหล
ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาไหลนา
- การรวบรวมพันธุ์ปลาจากธรรมชาติเข้ามาเลี้ยง ควรระมัดระวังในเรื่องการลำเลียง ไม่ควรให้หนาแน่นมากเกินไป ปลาจะบอบช้ำได้
- ปลาที่เลี้ยงควรเป็นปลาขนาดเดียวกัน เพื่อลดปัญหาการกินกัน โดยเฉพาะปลาอายุต่ำกว่า 2 เดือน
- อาหารสดที่นำมาเลี้ยงปลา ควรล้างน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วนำมาแช่ด่างทับทิมเข้มข้น 0.05-1.0 เปอร์เซ็นต์ นานประมาณ 10 นาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปเลี้ยงปลา
- พื้นบ่ออนุบาลควรฉาบผิวให้เรียบ ป้องกันปลาเป็นแผลถลอกได้
- ปลาไหลเป็นปลาที่ตกใจง่าย ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงควรใส่ฟางข้าวแห้งเพื่อให้ปลาใช้หลบซ่อน และลดความเครียดได้เมื่อมีคนเดินผ่าน หรือทำให้ตกใจ ปลาถ้าตกใจจะไม่กินอาหาร
- บ่อควรมีร่มเงาบังแสงแดดบ้าง
เอกสารอ้างอิง
- ชมรมเพื่อนเกษตร. มปป. การเลี้ยงปลาไหลครบวงจร.วารสารเพื่อนเกษตรฉบับพิเศษ.74 หน้า.
- ประพัฒน์ ปานนิล. 2561. สิ่งประดิษฐ์การเลี้ยงปลาไหลนาแบบขังเดี่ยว.
- ภาสกร ธรามานิตย์. 2554. การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาไหลนาที่เลี้ยงด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ.
- ปัญหาพิเศษปริญญาตรีมหาวิทยาลัยพะเยา.
- วิกิพีเดีย. 2561. ปลาไหล. วิกิพีเดีย สาราณุกรมเสรี ปลาไหล,
- วิทยา มะสะ. 2554. เอกสารประกอบการอบรมการเลี้ยงปลาไหลนาโครงการคลินิกเทคโนโลยี 2554. 16 หน้า.
- สุวรรณดีขวัญเมือง, บุษราคัมหมื่นสา,จีรนันท์อัจนากิตติและสุชาติรัตนเรืองสี. 2536. การศึกษา
เบื้องต้นทางชีววิทยาบางประการและการทดลองเพาะพันธุ์ปลาไหลนา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 54/2536. กองประมงน้ําจืด, กรมประมง. 37 หน้า. - อนันต์ มิตรช่วยรอด. 2561. การเลี้ยงปลาไหลในล้อยางแนวทางใหม่ในการเลี้ยง.
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ